กรมชลประทานติดตามสถานการณ์น้ำ สั่งกักเก็บน้ำสำรองไว้ใช้อุปโภค บริโภค รักษาระบบนิเวศ และไม้ยืนต้น

กรม 19
นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน

วันที่ 24 ก.ย. 66 ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน ถนนสามเสน กรุงเทพฯ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ โดยมี ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา นายเอนก ก้านสังวอน ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ VDO conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และสำนักเครื่องจักรกล เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ

น้ำ
กรมชลประทานติดตามสถานการณ์น้ำ

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 49,108 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 64 ของความจุอ่างฯรวมกัน เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 12,417 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯ รวมกัน

382583817 709875981187009 2989734491412785455 n

ทั้งนี้ อธิบดีกรมชลประทาน ได้เน้นย้ำให้ทุกโครงการชลประทาน พิจารณาผลกระทบจากการระบายน้ำท้ายอ่างเก็บน้ำ หรือเขื่อนระบายน้ำ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง

ส่วนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ให้ดำเนินการอย่างประณีตโดยกักเก็บน้ำในพื้นที่ชลประทานให้มากที่สุด ใช้เขื่อนกักเก็บน้ำ และระบบชลประทานเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำ ผันน้ำเข้าระบบชลประทานเข้าไปกักเก็บในแหล่งกักเก็บน้ำและพื้นที่ชลประทาน โดยไม่กระทบต่อพื้นที่ และยังสามารถรองรับน้ำฝนที่อาจตกลงมาเพิ่มในระยะหลังจากนี้

“กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำอย่างประณีต ทั้ง 2 มิติ บางพื้นที่ฝนลดลง บางพื้นที่ฝนเพิ่มขึ้น ในพื้นที่ที่กำลังจะหมดฝนจะกักเก็บน้ำโดยไม่ให้มีผลกระทบกับตัวเขื่อน และมีน้ำไว้ใช้ช่วงหน้าแล้งให้มากที่สุด รวมไปถึงเน้นย้ำการประชาสัมพันธ์ ชี้ให้เห็น บอกข้อมูลแบบชัดเจน ตรงไปตรงมา”อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว