กรมประมงโชว์ผลงานวิจัยใหม่ล่าสุด 132 เรื่อง ในการประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2566 ภายใต้หัวข้อ “วิจัยยกระดับภาคการประมงพื้นบ้านสู่ความยั่งยืน” 

กรมประมงจัดการประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2566 ภายใต้หัวข้อ “วิจัยยกระดับภาคการประมงพื้นบ้านสู่ความยั่งยืน” เปิดคลังโชว์สุดยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม องค์ความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์ ในรูปแบบออนไลน์ รวม 132 เรื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับการผลิตสินค้าประมงมุ่งสู่ตลาดโลก สอดคล้องกับวิสัยทัศน์กรมประมง ที่มุ่งเน้นการยกระดับการประมงไทยให้แข่งขันได้ โดยใช้ทรัพยากรอย่างสมดุล และพัฒนาภาคการประมงของประเทศให้เกิดความยั่งยืน กิจกรรมนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 – 19 กรกฎาคม 2566
         

%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%87 3 scaled
การประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2566

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ปัจจุบันประมงพื้นบ้านและผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรายย่อยมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องมากมาย โดยกรมประมงมีนโยบายและแนวทางการพัฒนาประมงพื้นบ้านของไทย ให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากร โดยมุ่งหวังให้การใช้ทรัพยากรประมงเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประมงพื้นบ้านในระดับต่าง ๆ ทั้งยังให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์ผลงานด้านวิชาการ นวัตกรรมทางเทคโนโลยี การส่งเสริมและการพัฒนาอุตสาหกรรม การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในภาคการประมงพื้นบ้าน
         

%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%87 4
การประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2566

สำหรับการประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2566 กรมประมงได้จัดประชุมในรูปแบบออนไลน์ภายใต้หัวข้อ “วิจัยยกระดับภาคการประมงพื้นบ้านสู่ความยั่งยืน” ภายในงานแบ่งผลงานวิจัยออกเป็น 9 สาขา ประกอบด้วย สาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด สาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง สาขาการประมงทะเล สาขาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมประมง สาขาพันธุกรรมสัตว์น้ำ สาขาโรคสัตว์น้ำ สาขาอาหารสัตว์น้ำ สาขาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ และสาขาเศรษฐกิจ สังคม และต่างประเทศ ผลงานวิจัยทั้งหมดรวม 132 เรื่อง แบ่งเป็นการนำเสนอภาคบรรยาย จำนวน 90 เรื่อง ภาคโปสเตอร์ จำนวน 42 เรื่อง โดยมีหัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจมากมาย เช่น แนวทางการลดต้นทุนการเลี้ยงปลาตะเพียนขาวร่วมกับปลาเกล็ดเงินในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ความก้าวหน้าของการปรับปรุงพันธุ์กุ้งแชบ๊วยและการเลี้ยงทดสอบในความเค็มปกติและความเค็มต่ำ สถานการณ์และการบริหารจัดการทรัพยากรปลาทูในน่านน้ำไทยเพื่อฟื้นฟูและรักษาระดับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในสิ่งแวดล้อมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ในการขนส่งปูม้ามีชีวิตแบบไม่ใช้น้ำ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า เป็นต้น

%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%87 1
นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง

 

นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง วิจัยยกระดับภาคการประมงพื้นบ้านสู่ความยั่งยืน โดยนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง และ ปูม้า : ความยั่งยืนของทรัพยากรและทางรอดของชาวประมงบริเวณเกาะเสร็จ และอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยนางเพราลัย นุชหมอน รักษาการในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการประมง ที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและนำความรู้ไปพัฒนาภาคการประมงของประเทศให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริงต่อไป
         

%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%87 2
นางเพราลัย นุชหมอน รักษาการในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการประมง

อธิบดีกรมประมง กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับการประชุมวิชาการประมงปีนี้ กรมประมงได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาเผยแพร่ผลงานวิจัยให้มีรูปแบบที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยได้ถ่ายทอดสดผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings และ YouTube Channel สถานีประมงต้นแบบ ซึ่งจากรายงานพบว่าการจัดการประชุมวิชาการประจำปี 2566 ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ให้ความสนใจ อาทิ บุคคลากรกรมประมง คณาจารย์ นักวิจัยอิสระ เกษตรกรชาวประมง ผู้ประกอบการภาคประมง นักศึกษา และประชาชน ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชุมอย่างเป็นทางการกว่า 700 คน

%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%87 5
การประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2566
02 Banner%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2 scaled

ชมคลิปการประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2566 ที่นี่