ประเทศไทย สุดเจ๋ง คว้าคะแนนสูงสุดจากการประเมินการปฏิบัติตามมติมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย( IOTC)

ประเทศไทยโชว์ผลงานสุดเจ๋ง คว้าคะแนนประเมินการปฏิบัติตามมติมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย Indian Ocean Tuna Commission (IOTC) สูงสุดถึง 98% ซึ่งเหนือกว่ากลุ่มประเทศสมาชิกที่มีเรือในบัญชีที่ได้รับอนุญาตฯ และกลุ่มประเทศสมาชิกรัฐชายฝั่งของ IOTC โดยเชื่อมั่นว่า ไทยจะสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างสมบูรณ์ 100 % ภายในปี 2567 นี้
         

%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2202305032048435 pic
ประชุม IOTC

นางเพราลัย นุชหมอน รักษาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการประมง เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย Indian Ocean Tuna Commission (IOTC) ประจำปี ค.ศ. 2023 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 12 พฤษภาคม 2566 ณ สาธารณรัฐมอริเชียส ซึ่งในที่ประชุม The Compliance Committee (CoC) ระหว่างวันที่ 30 เมษายน ถึง 2 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการหารือร่วมกันพิจารณาเกี่ยวกับผลการปฏิบัติตามของประเทศภาคีสมาชิก IOTC ภายใต้กรอบคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission ; IOTC)

%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2202305032048436 pic 1
ไทยคว้าคะแนน 98 % จากเต็ม 100 %

โดยโอกาสนี้ ประเทศไทยได้นำเสนอผลการปฏิบัติตามมติมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการของ IOTC ซึ่งมีเรือในบัญชีที่ได้รับอนุญาตให้ทำกิจกรรมประมงในพื้นที่ IOTC จำนวนทั้งสิ้น 8 ลำ และประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมดได้จำนวน 65 ข้อ จากจำนวนข้อกำหนดทั้งสิ้น 66 ข้อ และได้จัดส่งรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดครบตามระยะเวลาที่กำหนด โดยถือเป็นคะแนนสูงสุดถึง 98% ซึ่งสูงกว่ากลุ่มประเทศสมาชิกที่มีเรือในบัญชีที่ได้รับอนุญาตฯ และกลุ่มประเทศสมาชิกรัฐชายฝั่งของ IOTC ซึ่งประกอบด้วย 29 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บังกลาเทศ จีน คอโมรอส เอริเทรีย สหภาพยุโรป ฝรั่งเศส (OT) อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน ญี่ปุ่น เคนยา เกาหลีใต้ มาดากัสการ์ มาเลเซีย มัลดีฟส์ มอริเชียส โมซัมบิก โอมาน ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เซเชลส์ โซมาเลีย ศรีลังกา แอฟริกาใต้ ซูดาน แทนซาเนีย สหราชอาณาจักร และเยเมน ส่วนข้อมติฯ ที่ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้บางส่วนมีจำนวนเพียง 1 ข้อ ได้แก่ ประเด็นการวัดขนาดความยาวปลาทูน่าและชนิดพันธุ์คล้ายปลาทูน่าบริเวณทะเลอันดามัน ให้ได้ตามเกณฑ์ 1 ตัว/ตัน/ชนิดสัตว์น้ำ 
         

รักษาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการประมง กล่าวในตอนท้ายว่า จากกรณีที่ประเทศไทยยังไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวได้ทั้งหมด เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงระบบการจัดเก็บข้อมูลภายในหน่วยงานกรมประมงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  โดยเชื่อมั่นว่าจะสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างสมบูรณ์ได้ภายในปี 2567 อย่างแน่นอน