ชลประทานเร่งสร้าง ประตูระบายน้ำห้วยสำราญ บรรเทาน้ำท่วม – ภัยแล้งเมืองศรีสะเกษ 

กรมชลประทาน เดินหน้าก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยสำราญ(ระยะ 2) เพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำทั้งฤดูน้ำหลากและฤดูแล้ง บรรเทาปัญหาอุทกภัยและขาดแคลนน้ำในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ 

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้ดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยสำราญ(ระยะ 2) ในพื้นที่ตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ หลังดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยสำราญ(ระยะ 1) เสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อปี 2559 เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำในลำห้วยสำราญทั้งในช่วงฤดูน้ำหลากและฤดูแล้ง เพื่อป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนจากแม่น้ำมูลเอ่อล้น รวมทั้งปริมาณน้ำในลำห้วยสำราญบริเวณอำเภอเมืองศรีสะเกษด้วย 

1418F8A3 D2BB 404F 9E59 21C365AA194C

นอกจากนี้ หากโครงการแล้วเสร็จ จะสามารถช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ตำบลโพธิ์ และบริเวณใกล้เคียงได้ประมาณ 3,000 ไร่ที่สำคัญจะเป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคของราษฎรประมาณ 800 ครัวเรือน รวมไปถึงการปศุสัตว์บริเวณดังกล่าวด้วย 

2B6859C7 297C 44EB 9FEE EFC9D5122D03 scaled

ปัจจุบันโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยสำราญ(ระยะ 2) มีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 38 ของแผนงาน คาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผนในปี 2568 และถึงแม้ว่าจะยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จแต่สามารถใช้ในการบริหารจัดการน้ำในช่วงดูฝนนี้ โดยสามารถระบายน้ำได้ประมาณ 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีสำหรับลำห้วยสำราญจะรับน้ำจากลำห้วยติ๊กชู ห้วยศาลา ห้วยคล้า และไหลลงสู่แม่น้ำมูลตามลำดับ หากโครงการแล้วเสร็จทั้งหมด จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำในลำห้วยสำราญได้อย่างเต็มศักยภาพทั้งในช่วงฤดูน้ำหลากและฤดูแล้ง ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในลุ่มน้ำห้วยสำราญได้เป็นอย่างมาก