โฆษกรัฐบาลชูผลงานรัฐบาล แก้ปัญหาที่ดินทำกินประชาชนจริงจังต่อเนื่อง ขับเคลื่อนจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนเป็นรูปธรรมหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว รวม 271 พื้นที่ 65 จังหวัด
วันที่ 11 มี.ค. 66 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินหน้าแก้ปัญหาที่ดินทำกินให้กับประชาชนจริงจังต่อเนื่องส่งผลให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในหลายพื้นที่ของประเทศไทย สามารถบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ไม่มีที่ทำกินของตนเองได้จำนวนมาก ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำตามนโยบายรัฐบาลเพื่อทำให้ประชาชนมีความสุข อยู่รอดปลอดภัย พอเพียงและยั่งยืน
ล่าสุดมีภาพรวมผลการดำเนินงานการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2566 พื้นที่เป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 1,582 พื้นที่ 71 จังหวัด เนื้อที่ประมาณ 5,888,734-3-80.31 ไร่ จำนวนราษฎรที่จะได้รับการจัดที่ดินประมาณ 500,000 ราย ใน 9 ประเภทที่ดิน ดังนี้
1) ป่าสงวนแห่งชาติ มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 688 พื้นที่ เนื้อที่ 4,070,183-0-16.11 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว 684 พื้นที่ เนื้อที่ 3,830,570-0-22.74 ไร่ ออกหนังสืออนุญาตแล้ว 332 พื้นที่ เนื้อที่ 1,900,954-3-31.66 ไร่ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว 124 พื้นที่
(2) ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 1 พื้นที่เนื้อที่ 1,456-0-20 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว และอยู่ระหว่างการจัดทำกระบวนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน
(3) ป่าไม้ถาวร มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 2 พื้นที่ เนื้อที่ 114,757-0-00 ไร่ อยู่ระหว่างการเห็นชอบขอบเขต และการขอความเห็นชอบการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน และจัดทำกระบวนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนเสนอคณะอนุกรรมการจัดที่ดิน
(4) ป่าชายเลน มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 618 พื้นที่ เนื้อที่ 26,408-0-94.31 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว 525 พื้นที่ เนื้อที่ 17,656-1-42.84 ไร่ ออกหนังสืออนุญาตแล้ว 71 พื้นที่ เนื้อที่ 15,050-3-16.20 ไร่ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว 82 พื้นที่
(5) ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 80 พื้นที่ เนื้อที่ 85,522-0-16 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว 57 พื้นที่ เนื้อที่ 48,583-0-61 ไร่ ออกหนังสืออนุญาตแล้ว 23 พื้นที่ เนื้อที่ 21,545-1-34 ไร่ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว 29 พื้นที่
(6) ที่ดินสาธารณประโยชน์ มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 137 พื้นที่ เนื้อที่ 55,426-2-07.66 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว 69 พื้นที่ เนื้อที่ 29,506-0-56.6 ไร่ ออกหนังสืออนุญาตแล้ว 11 พื้นที่ เนื้อที่ 4,716-0-05 ไร่ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว 17 พื้นที่
(7) ที่ดินราชพัสดุ มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 11 พื้นที่ เนื้อที่ 6,904-0-2.90 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว 7 พื้นที่ เนื้อที่ 6,865-0-78 ไร่ ออกหนังสืออนุญาตแล้ว 3 พื้นที่ เนื้อที่ 4,716-0-05 ไร่ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว 3 พื้นที่
(8) นิคมสหกรณ์ (13 นิคม 14 ป่าสงวน) มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 15 พื้นที่ เนื้อที่ 1,520,300-3-20 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว 3 พื้นที่ เนื้อที่ 369,304-3-02 ไร่ และอยู่ระหว่างการจัดทำกระบวนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน
(9) ที่ดินสงวนเพื่อกิจการนิคมสร้างตนเอง มีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 30 พื้นที่ เนื้อที่ 7,777-1-03 ไร่ ได้รับการเห็นชอบขอบเขตแล้ว 26 พื้นที่ เนื้อที่ 5,329-3-35.24 ไร่ ออกหนังสืออนุญาตแล้ว 22 พื้นที่ เนื้อที่ 4,768-1-61 ไร่ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว 16 พื้นที่
ทั้งนี้ ในพื้นที่เป้าหมายดังกล่าวได้ดำเนินการจัดคนเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินแล้ว จำนวน 78,540 ราย 97,165 แปลง เนื้อที่ 533,813 ไร่ ใน 355 พื้นที่ และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแล้ว จำนวนรวม 271 พื้นที่ 65 จังหวัดภายใต้กรอบการดำเนินงาน 6 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านการพัฒนาที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นฐานข้อมูล Zoning (2) ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน (3) ด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดทำเมนูอาชีพเชิงบูรณาการ (4) ด้านการส่งเสริมการรวมกลุ่ม (5) ด้านการสนับสนุนเข้าถึงแหล่งทุน และ (6) ด้านการส่งเสริมและจัดทำบัญชีครัวเรือน
“นอกจากนั้น รัฐบาลเตรียมเดินหน้าการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิรูประเทศด้านสังคม กิจกรรมปฏิรูปประเทศที่ 5 (Big Rock) การสร้างมูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรและคนยากจนที่ได้รับการจัดสรรที่ดินจากรัฐ สามารถนำเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินหรือหนังสือ/เอกสารให้ใช้ที่ดินที่ได้รับจากรัฐไปใช้เป็นหลักประกันการเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับการประกอบอาชีพ โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้ดำเนินโครงการจัดทำแนวทางการสร้างมูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แล้วเสร็จ โดยดำเนินการตามแนวทาง 3 ด้าน ประกอบด้วย การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบ การกำหนดแนวทางการประเมินมูลค่าที่ดินและทรัพย์สินที่รัฐจัดให้กับประชาชน และการจัดให้มีระบบหรือสถาบันที่ให้สินเชื่อระยะกลางและระยะยาวและระบบประกันความเสี่ยงในการอำนวยสินเชื่อ และจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป” นายอนุชา กล่าว