“ประวิตร”สั่งกรมชลฯเร่งหาแนวทางเพิ่มปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน ยโสธร

วันที่ 2 ก.พ.66 ที่อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน จังหวัดยโสธร พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ และ ความก้าวหน้าตาม 10 มาตรการรับมือฤดูแล้ง ปี 2565/66 โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ดร. ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นายจักริน ประเสริฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่7 และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน

328684447 510220494575776 7077790932025343918 n
กรมชลฯเร่งเพิ่มปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน
328789037 1511732206015611 3730589220035006549 n
เร่งเพิ่มปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน ยโสธร

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อปี 2536 มีความจุเก็บกักประมาณ 21 ล้าน ลบ.ม. เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม ให้กับพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ต.ห้องแซง ต.กุดเชียงหมี และ ต.สามัคคี พื้นที่รับประโยชน์กว่า 14,544 ไร่ และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ สร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่งด้วย

328925807 972692417450398 5952831839386859781 n
เร่งเพิ่มปริมาณน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน ยโสธร

ทั้งนี้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการดำเนินการตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้งฯอย่างเคร่งครัด พร้อมมอบหมายให้กรมชลประทาน และ จ.ยโสธร พิจารณาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน ให้สามารถรองรับความต้องการใช้น้ำในอนาคตได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำอื่นๆ เช่น แก้มลิงบ่อโจ้โก้ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำให้ครอบคลุมปัญหาน้ำทุกมิติ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

กรมชลฯ ชูอ่างเก็บน้ำห้วยติ๊กชูอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ลดแล้งชาวภูสิงห์ เมืองศรีสะเกษ

ส่วนอีกความเคลื่อนไหวหนึ่ง กรมชลประทาน ชูอ่างเก็บน้ำห้วยติ๊กชูอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดศรีสะเกษ แก้ปัญหาภัยแล้งให้กับราษฎรชาวภูสิงห์ ตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ให้พี่น้องชาวอำเภอภูสิงห์ มีน้ำใช้เพียงพอตลอดทั้งปี

328677687 1564554580682787 7297610810346662360 n

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้ดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยติ๊กชูอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แล้วเสร็จเมื่อปี 2542 สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 26.20 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 1 ในโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรที่อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2537 เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำสนับสนุนการใช้น้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตรให้แก่ราษฎร ในพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ต.ห้วยติ๊กชู ต.โคกตาล ต.ละลม และต.ตะเคียน รวมไปถึงพื้นที่ของศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมพื้นที่รับประโยชน์กว่า 12,500 ไร่ นอกจากนี้ ยังจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ สร้างอาชีพประมง เสริมรายได้พิเศษให้ราษฎรได้อีกทางหนึ่งด้วย

ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศระหว่างวันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้าแต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่ในช่วงวันที่ 2 – 8 ก.พ. 66 มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ประกอบกับ มีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนเคลื่อนผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ในช่วงวันที่ 2 – 5 ก.พ. 66 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางและลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณเกาะบอร์เนียว จะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลซียและภาคใต้ตอนล่างลงสู่ทะเลอันดามัน ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขณะที่ในช่วงวันที่ 6 – 8 ก.พ. 66 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนลดลง

ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ในช่วงวันที่ 2 – 5 ก.พ. 66