ประตูระบายน้ำบ้านแม่ปูคา บรรเทาปัญหาน้ำท่วม แหล่งน้ำแห่งใหม่ของชาวสันกำแพง เพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตร

กรมชลประทาน ใช้ประตูระบายน้ำบ้านแม่ปูคาพร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จัดการน้ำหลากลดปัญหาน้ำท่วม และเป็นแหล่งน้ำแห่งใหม่ให้พี่น้องชาวสันกำแพงมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตรของราษฎร

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้ดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านแม่ปูคาพร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้ส่งมอบให้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา นำไปวางแผนในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน และเก็บกักน้ำไว้ให้พี่น้องประชาชนชาวสันกำแพงได้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง

326096377 603828411752234 3097333203540450584 n
ประตูระบายน้ำบ้านแม่ปูคา

ด้านนายอัธยา อรรณพเพ็ชร ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการประตูระบายน้ำบ้านแม่ปูคา พร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ปูคาเหนือ หมู่ 5 ตำบลแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งแรกในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ลักษณะของโครงการเป็นอาคารประตูระบายน้ำชนิดบานตรง ขนาดบานประตู กว้าง 5 เมตร สูง 4 เมตร จำนวน 2 ช่อง พร้อมระบบส่งน้ำเป็นรางรินคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด กว้าง 2 เมตร สูง 1 เมตร ความยาว 292 เมตร มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งน้ำสนับสนุนการใช้น้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตรของราษฎรบ้านแม่ปูคาเหนือ จำนวน 275 ไร่ รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำของลำน้ำแม่ปูคาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยขยายพื้นที่รับประโยชน์ได้อีกประมาณ 2,000 ไร่ ช่วยบรรเทาการเกิดอุทกภัยในเขตพื้นที่บ้านแม่ปูคาเหนือและหมู่บ้านใกล้เคียง ส่งผลให้ราษฎรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการฯ มีผลผลิตและรายได้ต่อปีเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

325940663 700652981753186 3804987528038303891 n.jpg?stp=cp6 dst jpg s600x600& nc cat=106&ccb=1 7& nc sid=8bfeb9& nc ohc=spWgh4nI8IYAX9KLmhE&tn=zGA6dgm8c0y3bhjB& nc ht=scontent.fbkk8 2

326527428 690247959306710 9055880439383668764 n.jpg?stp=dst jpg s600x600& nc cat=109&ccb=1 7& nc sid=8bfeb9& nc ohc=1MXkXxcKWMMAX9hgugX& nc ht=scontent.fbkk9 2

326914626 584176083557986 1069864975039545277 n.jpg?stp=dst jpg s600x600& nc cat=107&ccb=1 7& nc sid=8bfeb9& nc ohc=jaHuX4BbV04AX9dv7t1& nc ht=scontent.fbkk12 5

ด้านกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช. )รายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 28 มกราคม 2566 ดังนี้

สภาพอากาศ

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมถึงประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 3 – 5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคตะวันออกและภาคกลางอุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2 – 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร

แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 38,161 ล้าน ลบ.ม. (66%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 30,758 ล้าน ลบ.ม. (64%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 4,257 ล้าน ลบ.ม. (84%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,146 ล้าน ลบ.ม. (62%)

-พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 11,806 ล้าน ลบ.ม. (65%)

ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)

– อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 30,529 ล้าน ลบ.ม. (64%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 7,593 ล้าน ลบ.ม. (35%)

-พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 3,081ล้าน ลบ.ม. (36%)