กรมชลฯฟื้นฟูระบบชลประทานหลังน้ำลด พร้อมส่งน้ำให้เกษตรกรเพาะปลูกได้อย่างเต็มศักยภาพ

กรมชลประทาน เร่งสำรวจอาคารและระบบชลประทาน หลังสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ พร้อมซ่อมแซมอาคารและระบบชลประทานที่เสียหาย ให้สามารถใช้งานและส่งน้ำให้เกษตรกรได้เพาะปลูกหลังน้ำลด ตามนโยบายของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันระดับน้ำที่ล้นตลิ่งในหลายพื้นที่เริ่มทยอยกลับเข้าสู่ลำน้ำแล้ว ประกอบกับสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ทยอยคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ จึงได้สั่งการให้โครงการชลประทานในพื้นที่ เร่งเข้าไปสำรวจอาคารชลประทานและระบบส่งน้ำต่างๆหลังน้ำลด เพื่อปรับปรุง ซ่อมแซม ให้สามารถใช้งานและส่งน้ำให้เกษตรกรได้ทำการเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไปได้อย่างเต็มศักยภาพ ส่วนพื้นที่การเกษตรที่ยังมีน้ำท่วมขัง ได้เร่งดำเนินการสูบน้ำของจากพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยจะคงปริมาณน้ำไว้ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ตามความต้องการของเกษตรกร สำหรับไว้ใช้เพาะปลูกพืชต่อไป

313909681 507781131394965 4458256038513449315 n
ฟื้นฟูหลังน้ำลด

ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ ในช่วงวันที่ 7 – 10 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก

ส่วนในช่วงวันที่ 11 – 12 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 7 – 12 พ.ย. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ในขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในวันที่ 6 พ.ย. 65

ทั้งนี้กรมอุตุนิยมวิทยายังพยากรณ์อากาศรายภาค ดังนี้

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 6 – 10 พ.ย. 65 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 15 – 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส

ในช่วงวันที่ 11 – 12 พ.ย. 65 อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 6 – 10 พ.ย. 65 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 15 – 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส

ในช่วงวันที่ 11 – 12 พ.ย. 65 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 6 – 10 พ.ย. 65 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาคในช่วงวันที่ 6 – 7 พ.ย. 65 อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 34 องศาเซลเซียส

ในช่วงวันที่ 11 – 12 พ.ย. 65 เมฆบางส่วน กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่ตลอดช่วง

ในช่วงวันที่ 6 – 10 พ.ย. 65 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส

ในช่วงวันที่ 11 – 12 พ.ย. 65 เมฆบางส่วน กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

ในวันที่ 6 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณตอนกลางและตอนล่างของภาค

ในช่วงวันที่ 7 – 12 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 34 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

ในวันที่ 6 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ในช่วงวันที่ 7 – 12 พ.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 33 องศาเซลเซียส

กรุงเทพและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 6 – 10 พ.ย. 65 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งทางตอนล่างของภาคในช่วงวันที่ 6 – 7 พ.ย. 65

อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 34 องศาเซลเซียส

ในช่วงวันที่ 11 – 12 พ.ย. 65 เมฆบางส่วน กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง

อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 35 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.