ก.เกษตรฯ ผลึกกำลังติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำบริเวณเขื่อนหาดสะพานจันทร์ จ.สุโขทัย

751410

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำเพื่อวางแผนแนวทางการจัดการมวลน้ำในลุ่มน้ำยม โดยมี นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมลงพื้นที่ ณ เขื่อนหาดสะพานจันทร์ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย

751381

“จากการประเมินสถานการณ์น้ำ ณ วันนี้ขอเน้นย้ำว่ากระทรวงเกษตรฯ พร้อมเดินหน้าบูรณาการกับหน่วยงานท้องถิ่นในการบริหารจัดการมวลน้ำอย่างเป็นระบบ และวางแผนการป้องกันเฝ้าระวังเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องเกษตรกร นอกจากนี้ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำเพิ่มเติม เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือร่องมรสุมรอบใหม่ในช่วงต้นเดือนกันยายนนี้” รมว.ธรรมนัส กล่าว

751382

รมช.อรรถกร กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า) ในการติดตามสถานการณ์น้ำและสำรวจประตูระบายน้ำในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย พบว่ายังสามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการขจัดสิ่งกีดขวางในลำน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ และวางแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบโดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องเกษตรกรเป็นสำคัญที่สุด

751383

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำเหนือโดยการหน่วงน้ำไว้ที่เหนือประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ อ.สวรรคโลก และใช้คลองหกบาท คลองยมน่าน แม่น้ำยมสายเก่า และแม่น้ำน่าน ช่วยตัดยอดน้ำหลากก่อนที่จะเข้าสู่ตัวเมืองสุโขทัย พร้อมควบคุมการระบายผ่าน ปตร.บ้านหาดสะพานจันทร์ลงสู่แม่น้ำยมสายหลักให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด นอกจากนี้ได้ระดมกำลังพลนำกระสอบทรายมาเสริมแนวป้องกันริมตลิ่งแม่น้ำยม โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่อย่างเข้มข้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบเพิ่มเติม พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำอีกหลายจุดในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังตลอดเวลา รวมถึงนำเครื่องจักรเครื่องมือเข้าไปกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ตักเศษซากวัชพืชที่ลอยมากับน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำให้ดียิ่งขึ้น เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องเกษตรกรต่อไป

751391
751384
751441
751396
751408
751409
S 5193850
751407
751405
751402
751403