กรมประมง เร่งเพาะพันธุ์ “ปลากุเรา” ปล่อยคืนแม่น้ำตากใบ หนุนส่งเสริมการผลิตสินค้า GI เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุบชีวิตชุมชุมชายแดนใต้

กรมประมง เร่งขับเคลื่อนโครงการ “เพาะปลากุเราปล่อยลงแม่น้ำตากใบ” หลังพบปริมาณผลผลิตในธรรมชาติลดลง สวนทางกับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น  หนุนฟื้นฟูแหล่งวัตถุดิบรองรับการผลิตและแปรรูป “ปลากุเราเค็ม” ซึ่งเป็นสินค้า GI  เฉพาะถิ่นของอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส  เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ชุมชน ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า) ที่ได้มุ่งสร้างรายได้ในภาคการเกษตร โดยใช้หลักการตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ 

       

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%9B1
นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง

นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า “ปลากุเรา” จัดเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Polynemidae พบการแพร่กระจายในเขตอินโดแปซิฟิกตั้งแต่อ่าวเปอร์เซียถึงออสเตรเลีย ไต้หวันและทางตอนใต้ญี่ปุ่น โดยมีรายงานพบ 8 สกุลรวม 41 ชนิด สําหรับในประเทศไทยพบ 2 สกุล 17 ชนิด ซึ่งชนิดที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ Eleutheronema tetradactylum และ Polydactylus macrochir พบการทำการประมงทั่วไปในพื้นที่จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และพบมากที่จังหวัดนราธิวาส โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งอำเภอตากใบและแม่น้ำตากใบ ซึ่งเป็นสายพันธุ์กุเราหนวดสี่เส้น (Eleutheronema tetradactylum) โดยชาวประมงจะใช้อวนลอยในการจับและนำมาแปรรูปเป็น “ปลากุเราเค็ม” ที่มีชื่อเสียงในด้านรสชาติว่าเหนือกว่าปลาเค็มทั่วไป จนได้รับสมญาว่าเป็น “ราชาแห่งปลาเค็ม” อีกทั้งยังได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว ที่มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 1,300 –1,600 บาท ส่งจําหน่ายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ สร้างรายได้ให้แก่ชาวประมงและผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำในพื้นที่เป็นจํานวนมาก ภายใต้โครงการตากใบโมเดล

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%9B6
กรมประมง เร่งเพาะพันธุ์ “ปลากุเรา” ปล่อยคืนแม่น้ำตากใบ

“และด้วยความต้องการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรปลากุเราในแม่น้ำตากใบมีปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผลผลิตในแหล่งน้ำธรรมชาติลดน้อยลง  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงมีนโยบายให้กรมประมง โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลนราธิวาสเร่งดำเนินโครงการ “เพาะปลากุเราปล่อยลงแม่น้ำตากใบ” ในปีงบประมาณ 2567 เพื่อเพิ่มปริมาณในแหล่งน้ำธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์เพียงพอต่อความต้องการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์สำหรับเป็นวัตถุดิบป้อนสู่กระบวนการแปรรูปปลากุเราเค็ม ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค  โดยระยะแรกจะดำเนินการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งน้ำธรรมชาติ  และนำมาขุนเลี้ยงจนได้ขนาด จากนั้นจะทำการเพาะพันธุ์ด้วยวิธีธรรมชาติ เมื่อได้ไข่ปลาจะทำการเพาะฟักและอนุบาลจนได้ขนาด 1.5-2.0 เซนติเมตร จึงจะนำไปปล่อยลงสู่แม่น้ำตากใบ โดยตั้งเป้าหมายไว้100,000 ตัวต่อปี  “

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%9B4
กรมประมง เร่งเพาะพันธุ์ “ปลากุเรา” ปล่อยคืนแม่น้ำตากใบ

รองอธิบดีกรมประมง กล่าวในตอนท้ายว่า การดำเนินโครงการเพาะเลี้ยงปลากุเราและปล่อยคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นกิจกรรมที่เพิ่มผลผลิตและเมื่อปล่อยให้ลูกพันธุ์ปลากุเราเติบโต เป็นพ่อแม่พันธุ์สามารถสืบพันธุ์ วางไข่ ก็จะสามารถเพิ่มปริมาณปลากุเราขึ้นมาทดแทนได้ ซึ่งจะทำให้ชาวประมงในจังหวัดนราธิวาส สามารถจับปลากุเราจากธรรมชาติได้มากขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น ตลอดจนทำให้ผู้แปรรูปสัตว์น้ำในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสมีวัตถุดิบป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตปลากุเราเค็มอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับผู้บริโภคอีกด้วย

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%9B2
กรมประมง เร่งเพาะพันธุ์ “ปลากุเรา” ปล่อยคืนแม่น้ำตากใบ

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%9B7
กรมประมง เร่งเพาะพันธุ์ “ปลากุเรา” ปล่อยคืนแม่น้ำตากใบ
%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%9B5
กรมประมง เร่งเพาะพันธุ์ “ปลากุเรา” ปล่อยคืนแม่น้ำตากใบ

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%81%E0%B8%9B3
กรมประมง เร่งเพาะพันธุ์ “ปลากุเรา” ปล่อยคืนแม่น้ำตากใบ