กรมวิชาการเกษตร นําร่อง โครงการลดปัญหา PM 2.5 ภาคเกษตร

%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1 22
กรมวิชาการเกษตร นําร่อง โครงการลดปัญหา PM 2.5 ภาคเกษตร

กรมวิชาการเกษตร นําร่อง โครงการลดปัญหา PM 2.5 ภาคเกษตรตามนโยบาย นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งเป้าสู่การปฏิบัติ จับมือ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เกษตรกร และภาคเอกชน พร้อมภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน นําร่องทันที

525646
กรมวิชาการเกษตร นําร่อง โครงการลดปัญหา PM 2.5 ภาคเกษตร

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากการที่นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ได้ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2566 และได้หารือถึงแนวทางการลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ซึ่งกรมวิชาการเกษตร ได้นำนโยบาย นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนโยบาย ร้อยเอกธรรมมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งขับเคลื่อนโครงการลดฝุ่น PM 2.5 ภาคการเกษตรแบบมุ่งเป้า โดย กรมวิชาการเกษตร ได้ร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่ กรมควบคุมมลพิษ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) (สวพส.) สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สวก. และสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) เกษตรกร และภาคเอกชน พร้อมภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน นําร่อง“งานวิจัยนวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 สําหรับภาคเกษตรอย่างยั่งยืน ภายใต้มาตรฐานการผลิตพืช แบบมุ่งเป้า และบูรณาการเพื่อพร้อมรับมือสถานการณ์”

C84C507A 7C17 4EB6 A8B4 889EEF0780AF
กรมวิชาการเกษตร นําร่อง โครงการลดปัญหา PM 2.5 ภาคเกษตร

วันที่ 26 กันยายน 2566 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ประชุมร่วมกับ นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่า ราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายปิ่นศักดิ์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นางสาวเพชรดา อยู่สุข รอง ผู้อํานวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) นางสาวกุลวรา โชติพันธุ์โสภณ รองผู้อํานวยการ สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหาร สัตว์ไทย นักวิจัยจากกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับหน่วยงานภาคี หน่วยงานภาคเอกชน ประกอบด้วย สมาคมผู้ผลิต อาหารสัตว์ไทย และรองกรรมการผู้จัดการธุรกิจฟาร์มโปรครบวงจรบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิวส์ จํากัด ประชุมหารือการดําเนินการโครงการส่งเสริมการจัดการเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 สําหรับภาคเกษตรอย่างยั่งยืน ภายใต้มาตรฐานการผลิตพืช ณ ห้องประชุม สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่

5D9E71B6 7D49 4717 9CC6 719EA7ADACD3
กรมวิชาการเกษตร นําร่อง โครงการลดปัญหา PM 2.5 ภาคเกษตร

การประชุมครั้งนี้เป็นการกำหนดพื้นที่เป้าหมายนำร่อง และวิธีการการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 สําหรับภาคเกษตรอย่างยั่งยืน ภายใต้มาตรฐานการผลิตพืชแบบมุ่งเป้า โดยกรมวิชาการเกษตรจะได้บูรณาการการทำงานในพื้นที่นำร่องกับหลายหน่วยงาน อาทิ กรมพัฒนาที่ดิน สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) รวมถึง กลุ่มเกษตรกร เป็นต้น โดยเบื้องต้น กำหนดโครงการย่อย และวิธีการดำเนินการ ร่วมกัน ดังนี้

8EA364E4 787E 4558 95F3 56E791CF3366
กรมวิชาการเกษตร นําร่อง โครงการลดปัญหา PM 2.5 ภาคเกษตร

1.โครงการศึกษาเชิงนโยบายเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ในภาคเกษตร ประกอบไปด้วย

กิจกรรมที่ 1.1 ศึกษาการปลูกพืชที่มีศักยภาพทดแทนพืชอายุสั้น เช่น ข้าวโพด อ้อย ที่มีการเผาในเขตภาคเหนือตอนบน เพื่อลดปัญหาการเผาในพื้นที่ปลูกอ้อย และข้าวโพด

0041090D 1C18 4FD4 9C99 257BBF60FB00
กรมวิชาการเกษตร นําร่อง โครงการลดปัญหา PM 2.5 ภาคเกษตร

กิจกรรมที่ 1.2 ศึกษาการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดแทนพื้นที่นาปรังหรือพื้นที่นอกเขตชลประทานเพื่อลดการเผาในพื้นที่ปลูกข้าวโดยเฉพาะนาปรัง

2.โครงการส่งเสริมการจัดการเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 สําหรับภาคเกษตรอย่างยั่งยืนภายใต้ มาตรฐานการผลิตพืช ประกอบไปด้วย

C6272353 FBEF 446D BBC6 A0967853C2C9
กรมวิชาการเกษตร นําร่อง โครงการลดปัญหา PM 2.5 ภาคเกษตร

กิจกรรมที่ 2.1 การพัฒนามาตรฐาน GAP PM 2.5 Free กรมวิชาการเกษตรในฐานะหน่วยรับรอง (Certification Body, CB) มีการตรวจรับรองแปลง GAP ให้กับพืชอาหาร (ผัก และผลไม้) ข้าวโพดเมล็ดแห้ง และ อ้อยโรงงาน ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.ที่เกี่ยวข้อง โดยเกษตรกรไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

กิจกรรมที่ 2.2 การพัฒนาแปลงต้นแบบการผลิตพืชแบบไม่เผาตามมาตรฐาน GAP PM2.5 free ใน อําเภอแม่แจ่ม และ ดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ไม่ได้รับการรับรอง GAP

กิจกรรมที่ 2.3 การยืนยันการผลิตพืชแบบไม่เผาด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์ภายใต้มาตรฐานการผลิตพืช ในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ไม่ได้รับการรับรอง GAP

กิจกรรมที่ 2.4 การจัดการซากพืชในแปลง และเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน การผลิตพืช โดยนําผลิตภัณฑ์หัวเชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ในการทําปุ๋ยหมักของสํานักวิจัยพัฒนาปัจจัย การผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เพื่อเร่งกระบวนการย่อยสลายตอซังข้าวโพดในแปลง ซึ่งสามารถเร่ง การย่อยสลายตอซังข้าวโพดในระดับที่ไม่กระทบต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวโพดที่จะปลูกในฤดูถัดไป และมีแนวโน้มให้ผลผลิตข้าวโพดเพิ่มขึ้น ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า สวพส. ได้คัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย จํานวน 10 หมู่บ้าน 7 ตําบล อําเภอแม่แจ่ม เกษตรกร 2,048 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กว่า 20,000 ไร่ โดย บริษัทเอกชนจะรับซื้อผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด และกรมวิชาการเกษตรจะถ่ายทอดองค์ ความรู้ด้านการผลิตพืชและให้การตรวจรับรอง GAP PM 2.5 Free ซึ่งเกษตรกรต้องไม่มีการเผาต้นข้าวโพด ก่อน และหลังการเก็บเกี่ยว ในการนี้ กรมวิชาการเกษตรจะนำโครงการดังกล่าง ไปสู่การปฏิบัติทันทีเพื่อให้เป็นส่วน หนึ่งของผลงานโบว์แดง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามนโยบายของ รมว เกษตรฯ

นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตร ยังได้สนับสนุนกล้าไม้ ต้นนางพญาเสือโคร่ง ปีงบประมาณ 2566-67 จํานวน 100,000 ต้น ให้แก่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนชุมชนปลูกต้นไม้ เพิ่มพื้นที่ป่า รักษาทรัพยากรธรรมชาติ ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 และสร้างสีสันที่สวยงามดึงดูดนักท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนตามนโยบายท่องเที่ยวเชิงเกษตร อีกด้วย