ส่องสหกรณ์ชาวสวนบ้านตําบลโคกเคียน จังหวัดนราธิวาสแก้สารพัดปัญหาผ่าน”โคกเคียนโมเดล”

104515
สหกรณ์ชาวสวนบ้านตําบลโคกเคียน
%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3 1
นายณัฐกิตติ์ ปิ่นทอง ประธานสหกรณ์ชาวสวนบ้านตําบลโคกเคียน

“ระเบิดจากข้างใน”หัวใจของการพัฒนาตามที่ในหลวงรัชกาลที่9 ได้พระราชดำรัสไว้กลายเป็นจุดเด่นของสหกรณ์ชาวสวนบ้านตําบลโคกเคียน จํากัด จังหวัดนราธิวาส ภายใต้การนำของ นายณัฐกิตติ์ ปิ่นทอง ประธานสหกรณ์ฯที่น้อมรับ แนวพระราชดำรัสมาปรับใช้ในหมู่มวลสมาชิก จนประสบความสำเร็จในหลายโครงการผ่าน”โคกเคียนโมเดล” ซึ่งเป็นโมเดลต้นแบบให้กับจังหวัดนราธิวาสนำไปขยายผลในหลายพื้นที่

S 4644884
สหกรณ์ชาวสวนบ้านตําบลโคกเคียน

“สมาชิกส่วนใหญ่ทำสวนยางเป็นหลักและสวนปาล์ม ”โคกเคียน โมเดล”เกิดเมื่อปี 2562 ตอนนั้นเกิดปัญหาโรคใบร่วงยางพาราระบาดอย่างรุนแรง เราก็ใช้กระบวนการสหกรณ์ระดมร่วมคิดว่าเราจะแก้ปัญหาโรคนี้อย่างไร จึงตั้งคณะทำงานขึ้นมาแล้วประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องด้านยางพาราเพื่อมาร่วมทำกิจกรรมตรงนี้ เป็นการระเบิดจากข้างในสู่ข้างนอกเหมือนที่ ในหลวง ร.9 ท่านพระราชทานแนวทางไว้เลย”ประธานสหกรณ์ฯเผย

104513
สหกรณ์ชาวสวนบ้านตําบลโคกเคียน

นายณัฐกิตติ์ อธิบายต่อว่า จากนั้นเริ่มคิดและกำหนดรูปแบบในการดูแลรักษาแปลงยางพาราหลังจากสมาชิก ไม่ยินยอมทำตามคำแนะนำภาครัฐให้ต้องใช้สารเคมีฉีดพ่น โดยมองว่าจะเป็นอันตรายต่อตัวเกษตรกร จึงมาสรุปที่ว่าทดลองใช้สารชีวภาพ ผลิตเชื้อไตรโคม่าหว่านในแปลง และใส่ปุ๋ยให้ตรงตามค่าวิเคราะห์ดิน จัดการแลปงให้เตียนโล่ง นอกจากนี้ยังติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิความชื้นเพื่อตรวจสภาพอากาศก่อนใส่ปุ๋ยยางทุกครั้ง

104516
สหกรณ์ชาวสวนบ้านตําบลโคกเคียน

“เราก็มาตั้งสมมติฐานที่ว่าความชื้นมีผลต่อโรคใบร่วงหรือไม่ ความชื้นในอากาศ ความชื้นในดิน เพราะว่าใบยางร่วมพอตกลงดินที่มีความชื้นมันจะเกิดเชื้อราลากลามไปที่ต้นยางส่งผลให้ยืนต้นตายและเป็นใบร่วง พอพิสูจน์ว่าทำตามกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้สามารถลดต้นทุนเกษตรกรและสามารถป้องกันโรคใบร่วงได้ ถึงแม้ว่าเกิดโรคดังกล่าวแต่ก็ได้รับความเสียหายไม่มาก ต้นยางยังให้สามารถกรีดให้ผลผลิตได้ อย่างปี 2563-64 โรคใบร่วงระบาดรุนแรงมาก พอปี 2565 เหลือแค่ไม่กี่จุด”

104514
สหกรณ์ชาวสวนบ้านตําบลโคกเคียน

ประธานสหกรณ์ฯคนเดิมระบุอีกว่าการแก้ปัญหาโรคใบร่วงดังกล่าว นอกจากการดูแลจัดการแปลงแล้ว การใช้นวัตกรรมเครื่องวัดอุณหภูมิความชื้นในสวนยางที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นของลูกหลานสมาชิกที่เก่งด้านไอทีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในสวนยางพาราก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้แก้ปัญหาโรคใบร่วงยางพาราได้สำเร็จ ปัจจุบันทางสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร สงขลานำไปต่อยอดงานวิจัยเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เขายอมรับว่า ปัญหาของสหกรณ์โคกเคียนขณะนี้คือเรื่องแรงงาน เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยทำให้ขาดแคลนแรงงานฝีมือ ซึ่งที่ผ่านมาทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดนราธิวาสก็ได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาและร่วมเปิดหลักสูตรการกรีดยางให้กับลูกหลานสมาชิกเพื่อทดแทนแรงงานที่ขาดหายไป ขณะเดียวกันทางสหกรณ์ฯได้นำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับน้ำยางและใช้ระบบจีพีเอสตรวจจับแปลงปลูกอีกด้วย และเป็นสหกรณ์แห่งแรกที่การนำเทคโนโลยีนี้ มาใช้เพื่อก้าวไปสู่มาตรฐานสากล

“สหกรณ์เราได้เน้นย้ำเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับว่าสวนยางเกษตรกรมีการปลูกรุกล้ำเขตป่าสงวนหรือไม่ ซึ่งโคกเคียน โมเดลเราใช้ระบบจีพีเอสตรวจจับแปลงยางสมาชิกทุกแปลงเพื่อตรวจสอบย้อนกลับ ในวันที่ท่านอธิบดีมาเราจะนำเสนอกระบวนตรวจสอบย้อนกลับและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการซื้อขายยางพาราด้วย สมาชิกมาขายปุ๊บ เราสแกนคิวอาร์โค้ต รู้ได้ทันทีว่าน้ำยางนี้มาจากแปลงไหน พูดง่าย ๆ ว่าสหกรณ์โคกเคียนเป็นแห่งแรกที่นำระบบตัวนี้มาใช้กระบวนการตรวจสอบย้อยกลับเพื่อเข้าสู่กระบวนการซื้อขายตามมาตรฐานสากล”ประธานสหกรณ์ชาวสวนบ้านตําบลโคกเคียน จํากัด กล่าวย้ำ

อย่างไรก็ตาม สหกรณ์ชาวสวนบ้านตําบลโคกเคียน จํากัด ปัจจุบันตั้งอยู่ ม.8 ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส จัดตั้งขึ้นในปี 2560 เดิมมีสมาชิกจํานวน30 ราย พื้นที่ 162.5 ไร่ ปัจจุบันเพิ่มสมาชิกเป็น129 ราย พื้นที่ 367.5 ไร่ เป็นการต่อยอดมาจากวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรชาวสวนตําบลโคกเคียน ซึ่งมีกิจกรรมรวบรวมและเพื่อขายน้ำยางพารา เพื่อแก้ปัญหาของเกษตรกรผู้มีอาชีพทําสวนยางในพื้นที่ ร่วมกันแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตยางพาราตกต่ำและการถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง รวมทั้งสมาชิกจะได้รับเงินปันผลและเฉลี่ยคืนเมื่อสิ้นปี อันจะเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกร สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจภายในชุมชนมีการหมุนเวียน เกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืน