เมนูอาหารจาก ‘แมงดา’ อาจเป็นเมนูโปรดของหลายคน แต่สัตว์ทะเลชนิดนี้หากไม่ระวัง ก็อาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต วันนี้เราจะพามาทำความรู้จัก ‘แมงดาทะเล’ สัตว์ทะเลที่หลายคนติดใจในรสชาติ และหากอยากกินอย่างปลอดภัย ควรเลือกกินชนิดไหนดี…
แมงดาจาน รับประทานได้
– มีลำตัวขนาดใหญ่กว่าแมงดาถ้วย
– พื้นผิวด้านบนเรียบมีสีน้ำตาลอมเขียว
– มีทางเหลี่ยม มีสัน และหนามเรียงกัน เป็นแถวคล้ายฟันเลื่อย
วิธีสังเกตุ : โคนหางถึงกลางหางมีลักษณะ เป็นสามเหลี่ยม
แมงดาถ้วย มีพิษ ห้ามรับประทาน
– ลำตัวโค้งกลม
– มีทางกลม
– ผิวด้านบนมีขนสั้น สีน้ำตาลอมแดงต่อจาก
– ส่วนท้องมีทางค่อนข้าง กลมไม่มีสันและไม่มีหนาม
วิธีสังเกตุ : โคนหางถึงกลางหางมีลักษณะ กลมเหมือนแท่งดินสอ
จากข้อมูลทางวิชาการพนว่า สารพิษที่พบอยู่ในเนื้อและไข่ของ แมงดาถ้วย คือ สารเทโทรโดท็อกซิน(tetrodotoxin) และชาซิท็อกซิน (saxitoxin) ซึ่งเป็นสารพิษชนิดเดียวกับที่พบในปลาปักเป้า เป็นสารที่ส่งพลต่อระบบควมคุมการหายใจถึงขั้นเสียชีวิต
พิษของแมงดา ก่อให้เกิดอาการทางระบบประสาท คือ
1. ชารอบปาก ลิ้น
2. มึนงง เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
3. กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการชาที่ปลายมือ ปลายเท้า แขน ขา
4. ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจพูดลำบาก ตามัวเห็นภาพไม่ชัด เหงื่อออกมาก น้ำลายฟูมปาก
5. หายใจไม่ออก เนื่องจากกล้ามเนื้อหายใจไม่ทำงาน ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้
ทั้งนี้ อาการเป็นพิษมักจะเกิดขึ้นหลังรับประทานแมงดาทะเลประมาณ 10-45 นาที หรืออาจนานถึง 3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดพิษและแหล่งที่อยู่ของแมงดาทะเล รวมไปถึงฤดูกาลจับสัตว์ทะเล จำนวนแมงดาที่รับประทานเข้าไป และปริมาณของสารพิษที่ได้รับ
คำแนะนำจากกรมประมง
เพื่อความปลอดภัย หากต้องการรับประทานขอให้เลือก แมงดาจาน ตามลักษณะที่ได้ระบุไว้เท่านั้น และ งดซื้อ งดรับประทาน แมงดาทะเลในรูปแบบที่แบ่งชายเฉพาะไข่โดยไม่เห็นตัวและหางของแมงดาทะเล โดยเด็ดขาด
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ทำให้ผู้ป่วยหายใจคล่องที่สุดและรับนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด หากผู้ป่วยหยุดหายใจให้ทำการผายปอดจนกว่าจะถึงโรงพยาบาล ห้ามให้ผู้ป่วยทานน้ำหรือยา เพราะอาจสำลักได้
กรณีที่ท่านไม่สามารถแยกความแตกต่างแมงดาทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ได้ สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานประมงจังหวัดใกล้บ้านท่านหรือกรมประมง โทร. 02 562 0600