ราชกิจจานุเบกษาประกาศพระราชกฤษฎีกา ’ยุบสภาผู้แทนราษฎร’แล้ว จากนี้รอ กกต.ประกาศวันเลือกตั้ง ซึ่งจะชัดเจนภายใน 5 วัน

เว็บไซต์ราชกิจการนุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา ‘ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2566’ มีเนื้อหาระบุว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ด้วยนายกรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลฯ ว่า ตามที่ผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ พ.ศ.2562 

และบัดนี้ปิดสมัยประชุมสามัญประจำปีที่สี่ อันเป็นปีสุดท้ายขอเอาบุญภาผู้แทนราษฎรแล้ว สมควรยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

อันเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจทางการเมือง ให้แก่ประชาชนโดยเร็วเพื่อให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เนินไปอย่างต่อเนื่อง

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 102) และมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ 4 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกายุบหาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566”

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นตับไป
มาตรา 3 ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป
มาตรา 4 ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
มาตรา 5 ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้ง รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้ 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการหารือกับนายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ว่า ได้แจ้งให้ทราบว่า กกต. จะออกประกาศภายใน 5 วัน นับตั้งแต่วันยุบสภาฯ ซึ่งจะมีรายละเอียดประกอบไปด้วยจะเลือกตั้งวันไหน สถานที่รับสมัคร ทั้ง ส.ส. แบบเขต และแบบบัญชีรายชื่อ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฏีกาอื่นใดอีก ซึ่งเป็นประกาศเท่านั้น เพราะพระราชกฤษฏีกา เป็นประกาศให้มีการเลือกตั้ง คาดว่าไม่เกินวันศุกร์นี้ จะมีการออกประกาศดังกล่าว 

โดย กกต.จะเป็นผู้กำหนดวันเลือกตั้ง วัน เวลา สถานที่ในการสมัคร ส่วนค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ได้ประชุมร่วมกับพรรคการเมืองแล้วมีข้อตกลงว่า สำหรับ ส.ส. บัญชีรายชื่อค่าใช้จ่ายรวมกันทั้งหมดไม่เกิน44 ล้านบาท และ ส.ส. เขตแต่ละคน ต้องไม่เกินคนละ 1,900,000 บาท 

ส่วนวิธีปฎิบัติตัวของข้าราชการจากนี้ไป ก็เป็นไปอย่างที่รู้กันตามมาตรา 78 กฎหมายเลือกตั้ง การวางตัวของข้าราชการไว้ 2 อย่าง คือ 1.ในกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน  2.ในกฎหมายเลือกตั้ง บางอย่างแม้ไม่ผิดกฏหมายเลือกตั้งแต่ผิดกฎหมายข้าราชการพลเรือน เช่น สมมติข้าราชการการเมืองไปช่วยหาเสียงเลือกตั้ง ไม่ผิดกฎหมายเลือกตั้ง แต่ผิดกฎหมายข้าราชการพลเรือน ซึ่งถือมีความผิดทางวินัยก็เท่านั้น รวมถึงในเวลานอกราชการด้วย จะผิดวินัย จึงอย่าไปร้องเรียนกับ กกต.เพราะไม่สามารถรับร้องเรียนในข้อนี้ได้ 

ส่วนคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ส. ที่ไปสมัครหลังวันที่ 5 เมษายน ต้องมีคุณสมบัติสังกัดพรรคการเมือง 30 วันก่อนหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า 30 วัน นับตั้งแต่วันเลือกตั้งถอยกลับมา เพราะฉะนั้นตอนไปสมัคร ส.ส.อาจยังไม่ครบก็ได้ แต่ถึงวันเลือกตั้งต้องครบ 

ขณะที่กรณีที่พรรคการเมืองไปร้องเรียนศาลปกครอง เรื่องการแบ่งเขตหากมีการไต่สวนฉุกเฉินเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า แล้วแต่ศาลปกครอง จะสั่งอย่างไร หากศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวก็มีผล แต่หากไม่สั่งก็ไม่มีผลกระทบอะไร ถึงศาลจะมีคำสั่ง ก็เดินหน้าตามกรอบของ กกต.ได้เพื่อส่วนรวม 

2D08A99F 6589 4A7A 98B6 637EC732D1F3