นักวิจัยจีนไขปริศนา กลไกการสร้าง ‘รังไหมสีเขียว’

เมื่อไม่นานนี้ ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยซีหนานของจีนซึ่งเผยแพร่ผ่านวารสารโมเลกูลาร์ ไบโอโลจีแอนด์ อีโวลูชัน (Molecular Biology and Evolution) เปิดเผยกลไกทางพันธุกรรมที่อยู่เบื้องหลังสีเขียวของรังไหม ซึ่งนับเป็นการค้นพบใหม่ด้านการแสดงสีทางชีวภาพ

ผลการศึกษาระบุว่าไหมบ้านผลิตรังหลากหลายสีและสดกว่าเมื่อเทียบกับไหมป่า อาทิ สีขาว สีเขียว และสีเหลือง-แดง ซึ่งถือเป็นตัวอย่างโดดเด่นสำหรับการสำรวจความหลากหลายทางฟีโนไทป์และการแสดงสีทางชีวภาพ

02FA91A4 AD59 4286 A27B 01C7713785C7

รังไหมสีเขียวซึ่งผลิตจากการสะสมของสารฟลาโวนอยด์ (flavonoid) หายากกว่าสีอื่นๆ และมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน รวมถึงป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตที่เหนือกว่า

อย่างไรก็ดี ถงเสี่ยวหลิง นักวิจัยห้องปฏิบัติการหลักชีววิทยาจีโนมไหม สังกัดมหาวิทยาลัยฯ ระบุว่ายังไม่มีการค้นพบฐานทางพันธุกรรมของรังไหมสีเขียวอย่างสมบูรณ์

คณะนักวิจัยทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระดับจีโนม และพบกลุ่มก้อนยีนขนส่งน้ำตาลที่กำหนดการสร้างรังไหมสีเขียว นอกจากนั้นพวกเขายังวิเคราะห์กลไกการก่อตัวของสีรังไหมที่หลากหลายโดยอิงระบบพันธุกรรมรวม (pan-genome) และวิเคราะห์วิวัฒนาการของสีรังไหมจากไหมป่าสู่ไหมบ้าน

6C4D4CB9 C038 4461 B4FA A3A19E606D89

ด้านไต้ฟางอิ๋น จากมหาวิทยาลัยฯ กล่าวว่าผลการวิจัยนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเพาะพันธุ์ไหมสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพสูง ทั้งสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการศึกษาผลกระทบของฟลาโวนอยด์ต่อสุขภาพมนุษย์อีกด้วย

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : สำนักข่าวซินหัว(Xinhua)