“ประวิตร” หารือประมงพื้นบ้านถึงแนวทางการทำประมงย้ำคุมเข้มบังคับใช้กฎหมายประมงในกรอบสากล พร้อมกับอนุมัติงบเกือบ 2,000 ล้าน ซื้อเรือประมงออกนอกระบบ

วันที่ 27 ม.ค. 2566 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ณ มูลนิธิป่ารอยต่อฯ ผ่านระบบ VTC เพื่อกำหนดแนวทางการทำประมงพื้นบ้านและการนำเรือประมงออกนอกระบบ โดยที่ประชุมรับทราบความเห็นของคณะกรรมาธิการยุโรป(DG-MARE)ถึงความพยายามของไทย ต่อพัฒนาการติดตามเฝ้าระวังและควบคุมการทำประมงภาพรวมโดยขอให้เพิ่มการตรวจสอบดำเนินคดีอย่างเต็มประสิทธิภาพตามขั้นตอนกฎหมายกับเรือที่มีข้อมูลจากศูนย์ FMC เรือเข้าออกท่าที่ผิดกฎหมาย เพื่อป้องกันมิให้ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำผิดกฎหมาย เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารหรือส่งออกต่างประเทศ และรับทราบการขยายเวลายกเว้นบังคับใช้กฎหมาย MMPA ของสหรัฐฯ ออกไปอีก 1 ปี จนถึง 31 ธันวาคม 2566

IMG 64244 20230127114410000000
ประชุมคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ

พร้อมทั้งรับทราบความก้าวหน้า นโยบายและแผนบริหารจัดการประมง และแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายในทะเลสาบสงขลาปี 2566 – 2570 รวมทั้งผลการประเมินประเทศไทย ต่อสถานการณ์การขจัดแรงงานเด็กในรูปแบบเลวร้ายที่สุดของสหรัฐฯ ปี 2564 โดยเสนอให้ความสำคัญกับการควบคุมบังคับใช้อายุขั้นต่ำของการจ้างแรงงานให้ครอบคลุมการจ้างแรงงานนอกระบบ การกำหนดอาชีพและกิจกรรมเสี่ยงที่อันตรายต่อเด็กให้ครอบคลุมมากขึ้น และการเพิ่มจำนวนและประสิทธิภาพผู้ตรวจแรงงานนอกระบบในพื้นที่ห่างไกล
 

capture 20230127 172453%E0%B8%96%E0%B8%96%E0%B8%96%E0%B8%96
ประชุมคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ

ต่อจากนั้นได้ร่วมพิจารณาแนวทางการออกใบอนุญาตทำประมงพื้นบ้าน  ที่ให้ความสำคัญกับเกณฑ์การออกใบอนุญาต พื้นที่ทำการประมง กลุ่มสัตว์น้ำ เครื่องมือประมง และขาดเรือประมง โดย พล.อ.ประวิตร’ ได้มอบให้ พล.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร​. ไปหารือกับประมงพื้นบ้านเพื่อความรอบคอบก่อน  พร้อมกันนี้ ได้พิจารณาและเห็นชอบโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบ สำหรับกลุ่มเรือที่ประสงค์จะออกนอกระบบเพิ่มเติม จำนวน 1,007 ลำ วงเงินช่วยเหลือเยียวยา 1,806.3349 ล้านบาท และเรือประมงออกนอกระบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นกรณีเร่งด่วน โดยมีกลุ่มเรือที่ประเมินสภาพแล้ว 96 ลำ วงเงิน163.3634 ล้านบาท
 

ตอนท้ายรองนายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำว่า กรมประมงต้องเข้มแข็งบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังมากขึ้น และจำเป็นต้องโปร่งใส ไม่มีทุจริตเอื้อประโยชน์กับกลุ่มใดทั้งสิ้น โดยให้นำข้อเสนอขององค์กรระหว่างประเทศไปปรับแก้ไขให้มีผลเป็นรูปธรรมเป็นที่ยอมรับของสากลและขอให้กรมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมขับเคลื่อนนโยบายประมง ที่ยืนบนหลักกฎหมาย โดยคำนึงความอยู่รอดของชาวประมงพื้นบ้านและผลประโยชน์ของทรัพยากรทางทะเลที่ยั่งยืนร่วมกันเป็นสำคัญ

ประมง ยิ้ม “บิ๊กป้อม” อนุมัติงบเกือบ 2,000 ล้านบาท ซื้อเรือประมงออกนอกระบบ

ด้านนายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ต้องขอบคุณ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่พิจารณาและเห็นชอบโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบ สำหรับกลุ่มเรือที่ประสงค์จะออกนอกระบบเพิ่มเติมจำนวน 1,007 ลำ วงเงินช่วยเหลือเยียวยา 1,806.3349 ล้านบาท และเรือประมงออกนอกระบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นกรณีเร่งด่วน โดยมีกลุ่มเรือที่ประเมินสภาพแล้ว 96 ลำ วงเงิน163.3634 ล้านบาท ระหว่างการประชุมคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ณ มูลนิธิป่ารอยต่อฯ ผ่านระบบ VTC วันนี้( 27 ม.ค.66)

นายมงคล บอกว่า สิ่งที่ชาวประมงรอคอยมานาน นั่นคือ การที่รัฐจัดระเบียบเรือประมง ทำให้เรือประมงที่ถูกสั่งห้ามทำการประมงต้องจอดลอยลำอยู่ตามท่าเทียบเรือ บางส่วนชำรุดไปตามกาลเวลาจะทำอะไรไม่ได้ เพราะอยู่ระหว่างรอการชดเชยจากภาครัฐ แต่วันนี้ “บิ๊กป้อม” ดำเนินการช่วยเหลือชาวประมงในครั้งนี้ ชาวประมงต้องขอบคุณเป็นอย่างมาก เพราะทุกคนรอเงินชดเชย การประชุมคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติในวันนี้ มีการแจ้งความเห็นของคณะกรรมาธิการยุโรป ( DG-MARE) ถึงความพยายามของไทย ต่อพัฒนาการติดตาม เฝ้าระวังและควบคุมการทำประมงภาพรวม โดยขอให้เพิ่มการตรวจสอบดำเนินคดีอย่างเต็มประสิทธิภาพตามขั้นตอนกฎหมายกับเรือที่มีข้อมูลจากศูนย์ FMC เรือเข้าออกท่าที่ผิดกฎหมาย เพื่อป้องกันมิให้ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำผิดกฎหมาย เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารหรือส่งออกต่างประเทศ และรับทราบการขยายเวลายกเว้นบังคับใช้กฎหมาย MMPA ของสหรัฐฯ ออกไปอีก 1 ปี จนถึง 31 ธันวาคม 2566

พร้อมทั้งรับทราบความก้าวหน้านโยบายและแผนบริหารจัดการประมงและแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายในทะเลสาบสงขลา ปี 2566 – 2570 รวมท้ังผลการประเมินประเทศไทย ต่อสถานการณ์การขจัดแรงงานเด็กในรูปแบบเลวร้ายที่สุดของสหรัฐฯ ปี 2564 โดยเสนอให้ความสำคัญกับ การควบคุมบังคับใช้อายุขั้นต่ำของการจ้างแรงงานให้ครอบคลุมการจ้างแรงงานนอกระบบ การกำหนดอาชีพและกิจกรรมเสี่ยงที่อันตรายต่อเด็กให้ครอบคลุมมากขึ้นและการเพิ่มจำนวนและประสิทธิภาพผู้ตรวจแรงงานนอกระบบในพื้นที่ห่างไกล

รวมถึงพิจารณาแนวทางการออกใบอนุญาตทำประมงพื้นบ้านที่ให้ความสำคัญกับเกณฑ์การออกใบอนุญาตพื้นที่ทำการประมง กลุ่มสัตว์น้ำ เครื่องมือประมงและขาดเรือประมงโดยพล.อ.ประวิตร ได้มอบให้ พล.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.ไปหารือกับประมงพื้นบ้านเพื่อความรอบคอบก่อน