ของขวัญปีใหม่66 ดีเดย์โครงการสินเชื่อพิเศษ 5,000 ล้านเพื่อชาวประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้นทุนในการทำประมงสูงขึ้น ในขณะนี้มีเรือประมงพื้นบ้าน จำนวน 50,000 กว่าลำ ที่จดทะเบียนเรือเรียบร้อยแล้ว และกำลังดำเนินการขอรับใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้านเป็นครั้งแรกของประเทศไทยและเรือประมงพาณิชย์ที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ จำนวน 9,593 ลำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้เร่งผลักดันโครงการสินเชื่อพิเศษเพื่อเสริมสภาพคล่องฯ.โดยเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และมีมติเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมาอนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง เฟส 2 ภายในกรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์และประมงนอกน่านน้ำให้มีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับนำไปเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครให้ชาวประมง เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2565 – 31 ตุลาคม 2566 ณ สำนักงานประมงจัดหวัดชายทะเลทั้ง 22 จังหวัด และสำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ

%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%95 scaled
ดีเดย์ โครงการสินเชื่อพิเศษเพื่อชาวประมง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการสินเชื่อพิเศษเพื่อเสริมสภาพคล่อง เฟส 2 ชาวประมงสามารถกู้เงินทุนได้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี จากอัตราร้อยละ 7 ต่อปี และรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 ต่อปี มีกำหนดชำระคืนเงินกู้ ไม่เกิน 7 ปี นับตั้งแต่วันที่กู้โดยรูปแบบของสินเชื่อฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) สินเชื่อเงินกู้ระยะสั้น เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ เช่น ค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน ค่าน้ำมัน ค่าน้ำแข็ง ฯลฯ 2) สินเชื่อเงินกู้ระยะยาว เพื่อเป็นเงินทุนในการไปปรับปรุงเรือ ปรับเปลี่ยนเครื่องมือและอุปกรณ์ทำการประมง ซึ่งธนาคารของรัฐที่เข้าร่วมโครงการฯ ภายในกรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท มีรายละเอียด ดังนี้  

1.วงเงินสินเชื่อของธนาคารออมสิน จำนวน 2,000 ล้านบาท สำหรับเรือประมงขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป วงเงินสินเชื่อสูงสุด รายละไม่เกิน 10 ล้านบาท

2.วงเงินสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรฯ (ธกส.) จำนวน 3,000 ล้านบาท สำหรับเรือประมงขนาดต่ำกว่า 60 ตันกรอส วงเงินสินเชื่อสูงสุดสุด รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท ทั้งนี้ โครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพฯ เฟส 2 เป็นผลพวงของความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ ครั้งแรก เมื่อปี 2563 – 2564 โดยกรมประมงและคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยเป็นประธาน ภายใต้นโยบายช่วยเหลือชาวประมงที่ได้รับผลกระทบจากโควิด19ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งมีชาวประมงให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการฯ มากถึงจำนวน 5,596 ราย ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวประมงให้สามารถกู้เงินนำไปเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพจึงขยายโครงการจากเฟสหนึ่งเป็นเฟส 2

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสืบเนื่องจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 มีมติอนุมัติ โครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง เฟส 2 ภายในกรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการประมงพาณิชย์และพื้นบ้าน โดยชาวประมงสามารถกู้เงินทุนได้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้ร้อยละ 3 ต่อปี และผู้ประกอบการประมงต้องจ่ายเองร้อยละ 4 ต่อปี กำหนดชำระคืนเงินกู้ ไม่เกิน 7 ปี นับตั้งแต่วันที่กู้

โดยรูปแบบของสินเชื่อฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) สินเชื่อเงินกู้ระยะสั้น เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ เช่น ค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน ค่าน้ำมัน ค่าน้ำแข็ง ฯลฯ 2) สินเชื่อเงินกู้ระยะยาว เพื่อเป็นเงินทุนในการไปปรับปรุงเรือ ปรับเปลี่ยนเครื่องมือและอุปกรณ์ทำการประมง ซึ่งธนาคารของรัฐที่เข้าร่วมโครงการฯ ภายในกรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท มีรายละเอียด ดังนี้

-วงเงินสินเชื่อของธนาคารออมสิน จำนวน 2,000 ล้านบาท สำหรับเรือประมงขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป วงเงินสินเชื่อสูงสุดสุด รายละไม่เกิน 10 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 3,000 ล้านบาท สำหรับ เรือประมงขนาดต่ำกว่า 60 ตันกรอส วงเงินสินเชื่อสูงสุดสุด รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท

-วงเงินสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 3,000 ล้านบาท สำหรับ เรือประมงขนาดต่ำกว่า 60 ตันกรอส วงเงินสินเชื่อสูงสุดสุด รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท

สำหรับผู้ประกอบการประมงที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ ในเฟสที่ 2 จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1.เป็นบุคคลธรรมดา อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ สัญชาติไทย หรือ เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย

2.เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ หรือ สิทธิครอบครองในเรือประมงที่มีทะเบียนเรือไทย

3.เป็นผู้ประกอบการประมงที่มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

4.กรณีเป็นผู้ประกอบการประมงพาณิชย์ต้องมีใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์

5.ไม่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามในการได้รับใบอนุญาตทำการประมง ตามมาตรา 39 แห่งพระราชการกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และไม่เป็นผู้ที่ที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยการประมง

หลักประกันเงินกู้ ให้ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ดังนี้

1.ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่มีหนังสือแสดงเอกสารสิทธิสามารถจดทะเบียนจำนองได้หรืออาคารชุด

2.เรือประมงที่มีการจดทะเบียนเรือไทยถูกต้องตามกฎหมาย

3.บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

4.ใช้บุคคลค้ำประกัน

5.หลักประกันอื่น ๆ ตามที่ธนาคารกำหนด