พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ไปยังพลับพลาที่ประทับ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
โดยในปี พ.ศ. 2565 นี้ เมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกที่นำเข้าในพระราชพิธี มีทั้งหมด 6 สายพันธุ์ น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 1,728 กิโลกรัม ประกอบด้วย
1) ขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวเจ้าที่ทนแล้งได้ดีพอสมควร เมล็ดข้าวสารใส แกร่ง คุณภาพการสีดี คุณภาพการหุงต้มดี อ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอม ทนต่อสภาพดินเปรี้ยว และดินเค็ม จำนวน 245 กิโลกรัม 2) ปทุมธานี 1 เป็นข้าวเจ้าผลผลิตสูง คุณภาพเมล็ดคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง จำนวน 399 กิโลกรัม
3) กข 43 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทาน ดี ข้าวสุกนุ่ม มีกลิ่นหอมอ่อน ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จำนวน 125 กิโลกรัม
4) กข 6เป็นข้าวเหนียวให้ผลผลิตสูง และทนแล้งดีกว่าพันธุ์เหนียวสันป่าตอง คุณภาพการหุงต้มดี มีกลิ่นหอม คุณภาพการสีดี ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล จำนวน 70 กิโลกรัม
5) กข 87 เป็นพันธุ์ข้าวประเภทพื้นนุ่ม ลักษณะเด่นพิเศษ ข้าวสุกนุ่ม ค่อนข้างเหนียว คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีมาก เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทานภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 300 กิโลกรัม และ
6) กข 85 เป็นข้าวเจ้าพื้นแข็ง เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ทั้งนาปี และนาปรัง ทนต่อสภาพอากาศเย็น คุณภาพการสีดีมาก ท้องไข่น้อย ให้ผลผลิตสูงถึง 862 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวน 589 กิโลกรัม
โดยพันธุ์ข้าวส่วนหนึ่งใช้หว่านในระหว่างพิธี และจัดเป็น “พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน” บรรจุใส่ซองขนาดเล็กเพื่อจัดส่งให้จังหวัดต่าง ๆ สำหรับใช้แจกจ่ายแก่เกษตรกรรับไปเป็นมิ่งขวัญและสิริมงคลในการประกอบอาชีพตามพระราชประสงค์ และเมล็ดพันธุ์ที่เหลือทั้งหมด กรมการข้าวขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำไปปลูกไว้ทำพันธุ์ในฤดูกาลปี พ.ศ.2565 เพื่อเป็นต้นตระกูลของพืชพันธุ์ดีเผยแพร่สู่เกษตรกรต่อไป
และในโอกาสเดียวกันนี้ เกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2565รวม 34 ราย ได้รับพระราชทานโล่เกียรติคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
เกษตรกรและบุคคลทางการเกษตรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2565 จำนวน 16 ราย ได้แก่
1) อาชีพทำนา ได้แก่ นายพัด ไชยวงค์ จ.เชียงใหม่
2) อาชีพทำสวน ได้แก่ นายวีรวัฒน์ จีรวงส์ จ.ชุมพร
3) อาชีพทำไร่ ได้แก่ นายรุ่งเรือง ไล้รักษา จ.ประจวบคีรีขันธ์
4) อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นางจิระวรรณ ยืนนาน จ.ชุมพร
5) อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นางนิกร แก้ววิสัย จ.อุดรธานี
6) อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายเกรียงศักดิ์ เสรีรัตน์ยืนยง จ.ยะลา
7) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นายประวัติ พิริยศาสน์ จ.ปราจีนบุรี
8) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายอรรถพงษ์ บุญเลิศฟ้า จ.นครปฐม
9) อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นายวัลลภ วุ่นสุด จ.นครปฐม
10) อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นายสมพร โล่ห์จินดา จ.เชียงราย
11) สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ นายอดุลย์ วิเชียรชัย จ.ปทุมธานี
12) สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นายบรรจง แสนยะมูล จ.มหาสารคาม
13) สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ได้แก่ นายสานนท์ พรัดเมืองจ.สุราษฎร์ธานี
14) สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ นางสุจารี ธนสิริธนากร จ.กาฬสินธุ์
15) ที่ปรึกษายุวชนเกษตรกร ได้แก่ นางสาวประทุมรัตน์ จงคูณกลาง จ.นครราชสีมา
16) สมาชิกกลุ่มยุวชนเกษตรกร ได้แก่ นางสาวศิริมน พันธุ์พิริยะ จ.ตราด
สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2565 จำนวน 11 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำสวนยางค้อม จ.นครศรีธรรมราช
2) กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะแกะ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์
3) กลุ่มเกษตรกรทำประมง หรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำประมงพัฒนาเกษตรพอเพียง 49 จ.สมุทรสาคร
4) กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนปลาส้มบ้านคำกลาง จ.อุบลราชธานี
5) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งโฮ้งหมู่ 5 จ.แพร่
6) กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนบ้านบุเขว้า จ.นครราชสีมา
7) กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตะเคียนงาม จ.กำแพงเพชร
8) สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำระบบท่อส่งน้ำบ้านชำตาเรือง
จ.จันทบุรี
9) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภท ข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลบัวงาม
จ.อุบลราชธานี
10) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภท ข้าวอื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนองค์กรเกษตรอินทรีย์
สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
11) วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ จ.ลำพูน
สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2565 จำนวน 4 สหกรณ์ ได้แก่
1) สหกรณ์การเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรกุดข้าวปุ้น จำกัด จ.อุบลราชธานี
2) สหกรณ์โคนม ได้แก่ สหกรณ์โคนมลำพูน จำกัด จ.ลำพูน
3) สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลชัยภูมิ จำกัด จ.ชัยภูมิ
4) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเลิงฮังสามัคคี จำกัด จ.สกลนคร
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี พ.ศ. 2565 จำนวน 3 สาขา ได้แก่
1) สาขาปราชญ์เกษตรผู้ทรงภูมิปัญญาและมีคุณูปการต่อภาคการเกษตรไทย ได้แก่
นายเอนก สีเขียวสด จ.อ่างทอง
2) สาขาปราชญ์เศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นายสงวน มงคลศรีพันเลิศ จ.กระบี่
3) สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายสุพจน์ สิงห์โตศรี จ.ราชบุรี