กรมส่งเสริมการเกษตรเดินหน้าเยียวยาเกษตรกร-ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในภาคอีสานอย่างต่อเนื่อง

​นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากการเกษตรกรในหลายพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน ผลผลิตทางการเกษตรเกิดความเสียหายจากผลกระทบของพายุที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้มีฝนตกหนักและเกิดอุทกภัยทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ดร.เฉลิมชัยศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แสดงความห่วงใยต่อพี่น้องผู้ได้รับผลกระทบ ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์บูรณาการความร่วมมือกัน เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกษตรกรได้รับความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด 

โดยที่ผ่านมานั้นกรมส่งเสริมการเกษตรได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรลงพื้นที่สำรวจความเสียหายภายหลังน้ำลดทันที และประสานงานให้การช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่องล่าสุดคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมการเกษตรได้ลงพื้นที่ที่ประสบภัยเพื่อมอบเมล็ดพันธุ์พืช ต้นพันธุ์พืช และชีวภัณฑ์ แก่เกษตรกรผู้ประสบภัยเพื่อเป็นปัจจัยการผลิตเบื้องต้นในการฟื้นฟูอาชีพและยังเป็นการส่งมอบกำลังใจแก่เกษตรกร รวมไปถึงได้มอบถุงยังชีพแก่เจ้าหน้าที่ผู้ประสบภัยที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ในจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี ซึ่งเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบเป็นลำดับต้น ๆในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

79A04FEB 4A54 40FB 8917 E3E500BF1455

​“กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดเตรียมเมล็ดพันธุ์และพันธุ์พืชเพื่อสนับสนุนการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ในจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี โดยได้รับการสนับสนุนดังกล่าวจากศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 3 จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย เมล็ดพันธุ์พริก มะเขือกระเจี๊ยบเขียว รวม 60,000 ซอง ต้นกล้าพืชผักพริก มะเขือ กะเพรา รวม 150 ถาด (15,600 ต้น) ต้นพันธุ์ไม้ผล (กล้วยหอมทอง กล้วยน้ำว้า) รวม 100 ต้น นำไปมอบให้เกษตรกรผู้ประสบภัยในจังหวัดชัยภูมิ จากศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 7 จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วยเมล็ดพันธุ์ ต้นพ้นธุ์กล้วย และไม้ผล จัดเป็นชุดชุดละ 2 ถุง รวม 430 ชุด นำไปมอบให้เกษตรกรผู้ประสบภัยในจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด จากศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วยเมล็ดพันธุ์ผักจัดชุด 5 ชนิด และต้นพันธุ์กล้วยน้ำว้า 1 ต้น รวม 150 ชุด นำไปมอบให้เกษตรกรผู้ประสบภัยในจังหวัดอุบลราชธานี 

423CE080 F173 433A A9DD 065373F39938

ส่วนในเรื่องการเยียวยาเกษตรกรจะเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 โดยมีอัตราการช่วยเหลือดังนี้ ข้าว1,340 บาทต่อไร่ พืชไร่และพืชผัก 1,980 บาทต่อไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่นๆ 4,048 บาทต่อไร่ และไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ ทั้งนี้ เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนเกิดภัย มีพื้นที่เสียหายจริง และอยู่ในพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือฯ” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

750E0D09 B980 4146 9F5B 5E69839B49B8

​สำหรับรายงานความเสียหายเบื้องต้นด้านพืชจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ามีจังหวัดที่เกิดอุทกภัยทั้งสิ้น 16 จังหวัด 221 อำเภอ 1,614 ตำบล 13,841 หมู่บ้าน เกษตรกร 499,245 ครัวเรือน พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 4,332,333 ไร่ คิดเป็น 22.52 ของพื้นที่การเกษตร (ใน 16 จังหวัด) จำแนกเป็น ข้าว 3,256,226 ไร่ พืชไร่-พืชผัก 1,058,003 ไร่ พืชสวน-ไม้ผล 18,104 ไร่ 

ส่วนในภาพรวมรายงานความเสียหายเบื้องต้นพื้นที่เกษตรทั่วประเทศได้รับผลกระทบ 59 จังหวัดเกษตรกร 647,829 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 5,499,049.25 ไร่ ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว จำนวน 56 จังหวัด ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยจำนวน 2 จังหวัดได้แก่ ชลบุรีและสมุทรสาคร (ข้อมูล ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565)