(มีคลิป)เกษตรฯยินดีพร้อมเดินหน้าหนุนต่อเนื่องหลังFAOประกาศให้“ระบบการเลี้ยงควายปลักพื้นที่ทะเลน้อย”เป็นมรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของไทย

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความสำเร็จของการขอขึ้นทะเบียน “การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง” ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากกรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Advisory Group: SAG) ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยได้ประกาศเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (Global Important Agricultural Heritage Systems หรือ GIAHS) ของ FAO และนับเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทยแล้ว 

79489090 10A4 42A5 8A31 AF200AE9A07B

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและอัตลักษณ์ของพื้นที่ รวมถึงวิถีการทำการเกษตรแบบดั้งเดิมของเกษตรกรท้องถิ่นที่มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นเป็นระยะเวลากว่า 250 ปี ของ “การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง” ตลอดจนต้องการยกระดับการปกป้อง อนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของเกษตรกรในพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว สอดคล้องกับนโยบาย BCG และ SDGs จึงได้ดำเนินการยื่นเอกสารข้อเสนอ “การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง” เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (Global Important Agricultural Heritage Systems หรือ GIAHS) ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เมื่อเดือนตุลาคม 2564 

6AA58C8C 2FD1 46BC 92DE AA6C9D3F00A5

โดยการพิจารณามีหลักเกณฑ์ของพื้นที่ GIAHS ทั้งหมด 5 ข้อ ได้แก่ 1) ความมั่นคงอาหาร/ชีวิตความเป็นอยู่ดี 2) ความหลากหลายทางชีวภาพเกษตร 3) ระบบความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีมาแต่ดั้งเดิม 4) วัฒนธรรม ระบบคุณค่า และองค์กรทางสังคม และ 5) ลักษณะภูมิทัศน์/และภูมิทัศน์ทางทะเล ซึ่งต้องเข้าหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อ ทั้งนี้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ในการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Advisory Group: SAG) ของ FAO ได้ประกาศให้ “การเลี้ยงควายปลักในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง” เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (GIAHS) แห่งแรกของประเทศไทย

57BF878E C811 47C0 830E 8C808F2B64C5
DA6A1273 09EB 4BD3 A127 2ACC667F08DD
CC30FFEE 5243 4604 B4E9 A917D96F7777
B961F80C D06E 4534 A7F4 52ACFD52A665

 “การขึ้นทะเบียนมรดกทางการเกษตรโลกในครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของชุมชนในพื้นที่ ที่ต้องการอนุรักษ์แนวทางการทำการเกษตรที่มีแต่ดั้งเดิมเพื่อส่งต่อทรัพยากรทางการเกษตรให้แก่คนรุ่นถัดไป โดยมีเป้าหมายหลักคือการรักษาระบบนิเวศเชิงเกษตรให้ยั่งยืน ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้คนในชุมชน นอกจากนี้ GIAHS ยังเน้นให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ GIAHS เกษตรกร ชุมชนและผู้มีส่วนได้เสียจะได้ประโยชน์ร่วมกัน โดยชุมชนในพื้นที่จะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นการขึ้นทะเบียนในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยจะไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ และยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน ทำให้เศรษฐกิจชุมชนเติบโต และเพิ่มการจ้างงานในพื้นที่” รมว.กษ. กล่าว