ตามที่มีรายงานข่าวการเกิด Histoplasmosis ของคณะกลุ่มศึกษาธรรมชาติ ในพื้นที่ อ.ทุ่งสงจ.นครศรีธรรมราช จากการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราฮิสโตพลาสมา แคปซูลาตุม(Histoplasma capsulatum) ที่ลอยขึ้นมาในอากาศจากมูลค้างคาวที่ตกลงบนพื้นดินเข้าไปในปอด ในวันที่ 5 ตุลาคม2564
น.สพ.ภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 นครศรีธรรมราช กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกับทีมอาจารย์และนักวิทยาศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งมูลค้างคาวและดินภายในโพรงต้นไม้ และสวอปผนังโพรงต้นไม้ดังกล่าว เพื่อตรวจหาเชื้อโรคต่างๆทางห้องปฎิบัติการ และวางแผนที่จะทำการสำรวจและเฝ้าระวังโรคเชิงรุกในพื้นที่
พร้อมกันนี้ ทางเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงได้ทำการตีแนวเส้นล้อมจำกัดพื้นที่รัศมี10 เมตร เพื่อป้องกันคนเข้าใกล้ต้นไม้หรือเข้าไปในโพรงต้นไม้ที่มีค้างคาวอาศัยอยู่ และเตรียมกำหนดเป็นพื้นที่พิเศษ ในการให้ความรู้ และป้องกันไม่ให้ค้างคาว เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือเคลื่อนย้ายถิ่น
จากการสำรวจต้นไม้ พบว่าเป็นช้าม่วง ขนาดใหญ่ อายุกว่าร้อยปี ด้านนอกมีโพรงขนาดคนเข้าไปได้ ข้างในเป็นเป็นโพรงขนาดใหญ่ คนเข้าไปได้ประมาณ 7 คน และมีค้างคาวอาศัยอยู่ เช่น ค้างคาวแวมไพร์แปลงเล็ก โดยสภาพแวดล้อมในโพรงต้นไม้ เหมาะแก่การอาศัยของค้างคาว และการเจริญเติบโตของเชื้อโรคโดยเฉพาะเชื้อราชนิดต่างๆ ซึ่งอุณหภูมิ ความชื้น มีช่องทางเข้าออกทางเดียว ลมไม่พัดผ่านโอกาสที่จะพบความเข้าข้นของเชื้อราในอากาศจะสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ เหมาะสมเป็นอย่างมากกับการเจริญเติบโตของเชื้อ
เมื่อคนเข้าไปในช่วงกลางวัน ซึ่งค้างคาวกำลังนอนพักนั้น การส่งเสียงดัง การถ่ายภาพ แสงแฟลช การส่องไฟ จะทำให้ค้างคาวตกใจ เครียด อึ ฉี่ และส่งเสียงร้อง ทำให้เชื้อโรคต่างๆฟุ้งกระจายในโพรงได้หากคนเข้าไป แล้วไม่ใส่หน้ากาก ก็อาจสูดเอาเชื้อโรคดังกล่าวเข้าไปได้ หรือถึงแม้ว่าใส่ ก็อาจทำให้ร่างกายปนเปื้อนจากสารคัดหลั่งจากค้างคาว อาจเกิดโรคขึ้นมาได้
โดยทางทีมคณะทำงาน กรมอุทยานฯ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย โรงพยาบาลทุ่งสง และหน่วยงานสาธารณสุขเขต และจังหวัดนครศรีธรรมราช หน่วยงานปกครองท้องถิ่นต่างๆร่วมบูรณาการภายใต้กรอบ”สุขภาพหนึ่งเดียว” เข้าพูดคุย และแนะนำแนวทางปฎิบัติให้แก่ชาวบ้านบริเวณพื้นที่ ถึงข้อควรระวังและหากเคยเข้าไปในโพรงต้นไม้ต้นนี้ โดยไม่ใส่หน้ากากอนามัย ควรไปพบแพทย์ เพื่อเอ็กซเรย์ปอด และแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยว่า มีประวัติการคนที่อายุน้อยสุขภาพแข็งแรง ถึงติดเชื้อรา ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ หายเองได้ ไม่ต้องรักษา คนที่อายุมากมีโรคประจำตัว ต้องรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อรา
โดยกรมอุทยานฯ จะจัดทำคู่มือความรู้ “การอยู่ร่วมกันกับค้างคาวอย่างปลอดภัย”แจกจ่ายให้กับประชาชน เพื่อตื่นรู้ และระมัดระวังในการดำเนินชีวิต