โรคใบร่วงชนิดใหม่ของยางพาราระบาดหนัก พื้นที่ระบาด 17 จังหวัดจำนวน 396,812ไร่

เตือนพี่น้องเกษตรชาวสวนยาง ขณะนี้บางพื้นที่ มีฝนตก ซึ่งโรคที่จะตามมาะส่งผลเสียต่อยางพาราหลักๆ ได้แก่ โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพารา ซึ่งเกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. หรือ เชื้อรา Colletotrichum

S 12566544

โดยอาการของโรค ระยะแรกใบจะเป็นรอยสีเหลืองกลม ต่อมาจะเป็นลักษณะช้ำดำกลมขนาดใหญ่ และเนื้อเยื่อเปลี่ยนเป็นแห้งสีน้ำตาลซีด แผลเรียบโครงสร้างเนื้อเยื่อใบที่เป็นแผลแห้งยังคงสมบูรณ์ รอบแผลไม่มีสีเหลืองล้อมรอบ ใบเหลือง ในสภาพที่เหมาะสมใบร่วงอย่างรวดเร็ว

สำหรับใบยางที่ร่วงแห้งอยู่บนพื้นดิน จะเห็นลักษณะแผลกลมซีดขาวขนาดใหญ่ โรคนี้เข้าทำลายใบแก่ทุกช่วงอายุยาง หากเป็นต้นยางเล็กที่เป็นรุนแรงอาจทำให้ต้นยางตายอย่างรวดเร็ว

S 12566546

ปัจจุบันมีรายงานพบการระบาดโรคใบร่วงชนิดใหม่ของยางพาราระบาดหนัก พื้นที่ระบาด 17 จังหวัด (ยะลา นราธิวาส ปัตตานี สงขลา น่าน สุโขทัย อุดรธานี สตูล หนองคาย เชียงราย บึงกาฬ พังงา ระยอง เลย ระนอง สุราษฎร์ธานี พะเยา นครพนม และ กาญจนบุรี) จำนวน 396,812ไร่ การระบาดลดลง 274,917ไร่

S 12566547

อย่างไรก็ตาม หากพบโรคให้รีบดำเนินการป้องกันกำจัด ดังนี้ กรณีต้นยางเล็กให้รีบกำจัดใบที่เป็นโรค โดยการเก็บใส่ถุง นำไปเผาในถังปิด และฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรากลุ่ม ไตรอะโซลส์ (triazoles) เช่น โพรพิโคนาโซล + ไดฟิโนโคนาโซล โพรพิโนโคนาโซล เฮกซะโคนาโซล หรือ คาร์เบนดาซิม อย่างน้อยทุก 15 – 30 วัน

S 12566548

กรณีแปลงยางต้นใหญ่ให้ใช้สารดังกล่าว ฉีดพ่นด้วยเครื่องฉีดพ่นแรงดันสูง โดรน หรือแอร์บล๊าส ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝน อย่างน้อยทุก 1 – 1.5 เดือน หมั่นกำจัดวัชพืชในสวนยางให้เตียนโล่งอยู่เสมอเพื่อลดแหล่งแพร่ขยายเชื้อ พร้อมใส่ปุ๋ยบำรุงสวนยางสม่ำเสมอเพื่อให้ต้นยางเจริญแข็งแรง

หากเกษตรกรชาวสวนยางต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมให้ติดต่อ กยท. ในพื้นที่ เพื่อเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการโรคต่อไป

S 12566549

# รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร 18 เม.ย. 2568 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์