เตือนภัยการเกษตร สภาพอากาศร้อนจัด มีฝนและมีลมกรรโชกแรง แนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงเฝ้าระวัง โรคแอนแทรคโนส แมลงวันผลไม้และมะม่วงหล่นก่อนเก็บเกี่ยวหรือต้นโค่นล้ม

492198658 1015650457380835 1809915255437646974 n

1.โรคแอนแทรคโนส

อาการที่พบ

– ใบอ่อน

เกิดแผลสีน้ำตาล ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม ขนาดแผลไม่แน่นอน เมื่อแผลขยายติดกันจะเกิดอาการไหม้ บิดเบี้ยว

– ต้นอ่อน กิ่งอ่อน ก้านช่อดอก

พบจุดแผลหรือขีดขนาดเล็กสีน้้าตาลแดงประปราย ขยายออกตามความยาว แผลบนต้นหรือกิ่งที่อ่อนมากๆ จะลุกลามทำให้กิ่งแห้ง เน่าดำทั้งต้น บนก้านช่อดอก จุดแผลมักขยายเชื่อมติดกัน เกิดอาการ ก้านช่อดำ กลีบดอกและผลอ่อนที่ถูกทำลายจะเป็น สีดำและหลุดร่วง

490703379 1015650510714163 5652795623988683779 n

– ผลแก่และผลสุกหลังเก็บเกี่ยว

เกิดจุดแผลสีน้ำตาลถึงดำ แผลยุบตัวลึกลงไปในเนื้อผล ขนาดแผลไม่แน่นอน ลุกลามอย่างรวดเร็ว บริเวณกลางแผลอาจพบเมือกสีส้ม

แนวทางป้องกัน

1. หลังการเก็บเกี่ยว ตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มให้มีขนาดเหมาะสมกับระยะปลูก เป็นการลดความชื้นในทรงพุ่ม ท้าให้แดดส่องถึง อากาศถ่ายเทสะดวก

2. ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคและเก็บกวาดกิ่ง ใบที่ตกอยู่ใต้ต้น เก็บผลที่เป็นโรค รวมทั้งกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นไปเผาทำลาย

3. ในแหล่งปลูกที่พบการระบาดของโรคแอนแทรคโนสเป็นประจ้า พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้้า 20 ลิตร หรือ แคปแทน 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40-50 กรัมต่อน้้า 20 ลิตร สลับกับ อะซอกซีสโตรบิน 25% เอสซี อัตรา 5-10 มิลลิลิตรต่อน้้า20 ลิตร หรือ โพรคลอราซ 45% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้้า 20 ลิตร เป็นระยะๆ โดยเริ่มพ่นช่วงมะม่วงแทงยอดอ่อน เริ่มออกดอก หลังติดผลใหม่ๆ จนถึงระยะห่อผล

2.แมลงวันผลไม้

เพศเมียใช้อวัยวะวางไข่ แทงเข้าไปในผล ตัวหนอนที่ฟักจากไข่ จะอาศัย และชอนไชอยู่ภายใน ทาให้ผลเน่าเสีย และร่วงหล่น ลงพื้น ตัวหนอนจะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดินแล้วจึงออกเป็นตัวเต็มวัย แมลงวันผลไม้วางไข่ในผลไม้สุก และมีเปลือกบาง ในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยาก อาจพบอาการช้าบริเวณใต้ผิว-เปลือก เมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ผลเน่าเละ และมีน้ำไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ ผลที่ถูกทำลายนี้มักจะมีโรคและแมลงชนิดอื่นๆ เข้าทำลายซ้ำ

แนวทางป้องกัน

1. ทำความสะอาดแปลงเพาะปลูกโดยการรวบรวมทำลายผลไม้ที่เน่าเสียจากแมลงวันผลไม้เข้าทำลาย

2. ห่อผลด้วยถุงกระดาษสีน้้าตาล หรือถุงกระดาษที่ภายในเคลือบด้วยกระดาษคาร์บอน โดยเริ่มห่อเมื่อมะม่วงติดผลได้อายุประมาณ 60 วัน

3. การใช้กับดักสารล่อเมทธิล ยูจินอล เพื่อเป็นตัวชี้วัดปริมาณแมลงวันผลไม้ในแปลงปลูก โดยใช้กับดักที่ภายในแขวนก้อนสำลีชุบสารเมทธิล ยูจินอล ผสมสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 57% อีซี ในอัตรา 4:1 แขวนในทรงพุ่มที่ระดับความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร จำนวน 1 กับดักต่อพื้นที่ 1 ไร่ หมั่นสังเกตปริมาณแมลงวันผลไม้ในกับดักทุกสัปดาห์ ถ้าพบว่ามีปริมาณแมลงวันผลไม้ในกับดักมากขึ้นให้พ่นสารฆ่าแมลงเพื่อลดปริมาณในแปลงปลูก

4. ใช้สารฆ่าแมลงมาลาไทออน 57% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อ น้ำ20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% ซีเอส อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อ น้ำ20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน เมื่อพบว่ามีการระบาดมาก

5. พ่นด้วยเหยื่อพิษที่ประกอบด้วยยีสต์โปรตีน อัตรา200มิลลิลิตร ผสมกับสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 57% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรในน้ำ 5 ลิตร ทุก 7 วัน โดยพ่นแบบเป็นจุด ต้นละ 1-4 จุด ในเวลาเช้าตรู่ ควรเริ่มพ่นก่อนเริ่มท้าการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน

3.มะม่วงหล่นก่อนเก็บเกี่ยวหรือต้นโค่นล้ม

สาเหตุ มีลมกรรโชกแรงและพายุฝนฟ้าคะนอง

491405797 1015650567380824 5563476949453350875 n

แนวทางป้องกัน

1. ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง

2. ควรปลูกไม้กันลมรอบๆ สวนมะม่วง