นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) เปิดเผยว่า ตามที่สื่อออนไลน์มีความห่วงใยและแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางกับ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิได้รับการสนับสนุนการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน ด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ และอื่นๆ จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีความ
ที่มาของประกาศดังกล่าว ตามคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 เห็นชอบตามที่สำนักงาน กพร. เสนอเรื่อง มาตรการทบทวนบทบาทภารกิจของส่วนงานราชการตามมาตรา 33 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 โดยให้หน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ให้การตรวจสอบและรับรอง ถ่ายโอนภารกิจด้านการตรวจสอบรับรองมาตรฐานให้ CB เอกชน
กรมต่างๆ ภายใต้กระทรวงเกษตรฯ ได้กำหนดแผนถ่ายโอนฯ และเงื่อนไขในการยกเว้นการถ่ายโอนของตน เพื่อลดผลกระทบจากการถ่ายโอน โดยได้ยกเว้นเกษตรกรรายย่อย และกลุ่มเกษตรกร รวมถึงเกษตรกรภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยแต่ละกรมกำหนดที่ไม่เป็นทิศทางเดียวกัน
ในการประชุมคณะทำงานการถ่ายโอนภารกิจ และคณะกรรมการขับเคลื่อนการถ่ายโอนภารกิจของกระทรวงเกษตรฯ (ท่านรองปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธาน) โดยที่ประชุมมีมติ ให้ มกอช.จัดทำหลักเกณฑ์กลาง เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรประเภทใดที่จะไม่ถ่ายโอนให้หน่วยรับรองเอกชน เพื่อให้เป็นทิศทางเดียวกันทุกหน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ และขอให้เปิดรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
โดย มกอช.ได้จัดทำร่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง “กำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับการสนับสนุนการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน ด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ และอื่นๆ จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ…” ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ประกาศฉบับนี้ เป็นร่างประกาศ กษ. เรื่อง เงื่อนไขหรือคุณสมบัติของผู้ที่จะขอรับการสนับสนุนตรวจสอบรับรอง GAP ด้านพืช ประมง และปศุสัตว์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีรายละเอียดดังนี้
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร ที่จะสามารถขอรับการตรวจสอบรับรอง GAP ด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการขอรับใบรับรองฟรี เช่น เกษตรกรรายย่อย กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร หรือผู้ประกอบการเกี่ยวกับสินค้าเกษตร ตามโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกร์ให้การสนับสนุน เช่น โครงการพระราชดำริ หรือโรงการเกษตรแปลงใหญ่
- ร่างประกาศฉบับนี้ เป็นหลักเกณฑ์หรือคุณสมบัติกลางๆ เบื้องต้น โดยกรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ สามารถออกหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย เพิ่มเติมได้
- หลักเกณฑ์ฉบับนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนภารกิจให้ LAB หรือหน่วยงานใดๆ ไปทำหน้าที่ตรวจสอบรับรองแทน มกอช. จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของสื่อบางแห่ง
- ประกาศหลักเกณฑ์ฉบับนี้ อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง หากมีข้อเสนอแนะ หรือมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมสามารถปรับปรุงแก้ไขได้
ทั้งนี้สามารถแสดงความคิดเห็นกับร่างประกาศดังกล่าวได้ที่ https://www.acfs.go.th/article/listening-to-opinions/5b0ea620-6fff-4aa8-8a68-8db836a77ee7
“มกอช.มีความจำเป็นต้องออกประกาศดังกล่าวเพื่อให้สามารถสนับสนุนเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร เกษตรแปลงใหญ่ เกษตรกรในโครงการพระราชดำริ ประกาศฉบับนี้จะยังคงให้หน่วยงายราชการเข้าไปตรวจรับรองโดยที่เกษตรกรไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ และยืนยันว่าไม่ได้เกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจให้ LAB หรือหน่วยงานใดๆ ไปทำหน้าที่ตรวจสอบรับรองแทน มกอช.” เลขาธิการ มกอช.กล่าวทิ้งท้าย