ไทย-เทศ ผลผลิตกาแฟลดลง ราคาเริ่มขยับ อึ้งคนไทยนำเข้ากาแฟปีละ 80,000 ตัน

1395606 1 scaled

ธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์การผลิตกาแฟไทย ปีการผลิต 2567/68 (ข้อมูล ณ เดือนมี.ค. 2568) พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกาแฟกว่า 220,053 ไร่ แบ่งเป็น กาแฟอาราบิกา 139,998 ไร่และโรบัสตา 80,055 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีพื้นที่ปลูก 216,517 ไร่ แบ่งเป็นกาแฟอาราบิกา 129,778 ไร่ และโรบัสตา 86,739 ไร่ ผลผลิตรวม15,651 ตัน แบ่งเป็น อาราบิกา 10,682 ตัน และโรบัสตา 4,969 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา

1390803 0 1

อย่างไรก็ตาม พบว่า ปริมาณการผลิตรวมยังคงน้อยกว่าปริมาณความต้องการใช้ที่ต้องการมากกว่า 95,500 ตัน ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้ากาแฟทั้งในรูปเมล็ดกาแฟดิบ เมล็ดกาแฟคั่ว กาแฟสำเร็จรูป และรูปแบบอื่นๆ มากกว่า 80,000 ตัน

1390804 0 1

จากปริมาณผลผลิตที่ไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้ราคากาแฟมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาซึ่งหากพิจารณาราคาที่เกษตรกรขายได้ พบว่าเมล็ดกาแฟอาราบิกา (กะลา)เฉลี่ยราคา ณ เดือนมี.ค. 2568 อยู่ที่ 163 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) เมื่อเปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมา กาแฟอาราบิกา (กะลา) เฉลี่ยอยู่ที่ 160 บาทต่อกก. หรือราคาเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย1.88% และสารกาแฟโรบัสตาเฉลี่ยอยู่ที่ 188 บาทต่อกก. เมื่อเปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมา กาแฟโรบัสตา (สารกาแฟ) เฉลี่ยอยู่ที่ 80 บาทต่อกก. หรือราคาเพิ่มสูงขึ้น135%

1401338 1

“จากการลงพื้นที่ของ สศก. โดย ศูนย์สารสนเทศการเกษตร ซึ่งลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การผลิตกาแฟอย่างต่อเนื่อง ทั้งพื้นที่เพาะปลูกกาแฟอาราบิก้าทางภาคเหนือ และกาแฟโรบัสต้าทางภาคใต้ ชัดเจนว่าเนื้อที่ยืนต้นกาแฟ ทั้งสองชนิด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากราคาที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น”

1401339 1

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรควรมุ่งเน้นการผลิตกาแฟคุณภาพสูงโดยการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ความสุกเต็มที่ ตลอดจนใส่ใจกระบวนการแปรรูป ทั้งการตากแห้ง และการคัดเลือกเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ เพราะการเพิ่มคุณภาพกาแฟ ทำให้เกษตรกรได้ราคาเพิ่มขึ้น 5-10% จากราคารับซื้อทั่วไป

ทั้งนี้ การเติบโตของอุตสาหกรรมกาแฟไทยไม่ได้จำกัดแค่ในประเทศ แต่ยังมุ่งสู่การขยายตลาดโลก การผลิตกาแฟพรีเมียมและการเพิ่มคุณภาพการผลิต จะช่วยยกระดับกาแฟไทยให้เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในระดับสากล ซึ่งถือว่าเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศในระยะยาว