กยท. หนุนโครงการน้ำหมักปลาหมอสำเร็จ กำจัดปลาหมอเฟสแรกกว่า 500 ตัน ลุยผลิตน้ำหมักต่อเฟส 2 เคลียร์ระบบนิเวศ-เพิ่มผลผลิตยางแก่เกษตรกรฯ

การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยผลสำเร็จ ‘โครงการผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง’ สนับสนุนปัจจัยการผลิตคุณภาพสูงแก่ชาวสวนยาง ควบคู่ไปกับการลดจำนวนปลาหมอคางดำ ฟื้นฟูระบบนิเวศสู่ความสมดุล

S 11714599

ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการ กยท. เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการฯ ในเฟสที่ 1 ประสบความสำเร็จเป็นที่เรียบร้อย กยท. รับซื้อปลาหมอคางดำ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,628,730 บาท ช่วยลดปริมาณปลาหมอคางดำจากระบบนิเวศน์ถึง 581.44 ตัน สามารถนำไปผลิตน้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ ได้ทั้งหมด 930,298.40 ลิตร และจัดสรรน้ำหมักชีวภาพปลาหมอคางดำ ให้กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางที่อยู่ในโครงการสนับสนุนแปลงใหญ่ยางพาราทั่วประเทศกว่า 14,552 ราย (รายละ 40 ลิตร) สามารถนำไปฉีดพ่นในสวนยางพารา อย่างน้อยคนละ 320 ไร่ นอกจากนี้ กยท. ยังได้นำน้ำหมักชีวภาพอีกส่วนไปจำหน่ายให้กับเกษตรกรผู้รับการปลูกแทนและเกษตรกรทั่วไปนำไปใช้บำรุงพืชเกษตรอื่นอีกด้วย

S 11714624

นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รักษาการแทนผู้ว่าการ กยท. กล่าวว่า ความคืบหน้าในการดำเนินโครงการฯ เฟสที่ 2 ปัจจุบัน กยท. ได้รับอนุมัติ กรอบงบประมาณ 12 ล้านบาท รับซื้อปลาหมอคางดำจากแพปลาปลาหรือจุดรับซื้อที่ประกาศโดยกรมประมง จำนวนทั้งสิ้น 577,539 กก. และได้กระจายปลาหมอทั้งหมดไปตามจุดผลิตน้ำหมักชีวภาพในพื้นที่ที่สถาบันเกษตรกรและหมอดินอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการฯ กับ กยท. อยู่ระหว่างกระบวนการแปรรูปเป็นน้ำหมักชีวภาพ โดยคาดว่าผลิตน้ำหมักเสร็จในช่วงเดือนเมษายน 2568 เมื่อกระบวนการผลิตน้ำหมักชีวภาพเสร็จสิ้น กยท. โดยหน่วยธุรกิจจะนำน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำออกจำหน่ายให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกรทุกกลุ่ม รวมถึงบุคคลทั่วไปน้ำไปใช้บำรุงรักษาสวนยางต่อไป

S 11714629

ทั้งนี้ ทางด้าน ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการ กยท. และ นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รักษาการแทนผู้ว่าการ กยท. ลงพื้นที่ ติดตามผลสำเร็จจากการนำน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำในพื้นที่สวนยาง ต.แม่แรง อ.แม่ทา จ.ลำพูน เห็นผลได้ชัดว่า สามารถช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดี กรีดยางง่ายขึ้น ช่วยเพิ่มผลผลิตยาง รวมไปถึงมีคุณสมบัติช่วยบำรุงพืชเกษตรชนิดอื่นๆ เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้แก่เกษตรกรได้มากขึ้น

S 11714632

นายณรงค์ กาปัญญา เกษตรกรชาวสวนยางเจ้าของสวนยาง อ.แม่ทา จ.ลำพูน กล่าวว่า ได้มีการนำน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำของ กยท. มาใช้ในสวนยาง โดยการทดลองใช้ผ่านทางระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ และใช้เครื่องฉีดพ่นบริเวณลำต้นของต้นยยาง พบว่า ต้นยางมีใบหนา ผิวสวย เนื้อยางนิ่ม กรีดง่าย และให้ผลผลิตน้ำยางในปริมาณที่มากขึ้น ซึ่งน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำของ กยท. จะมีจุลินทรีย์ย่อยสลายปุ๋ยเคมี ซึ่งปกติปุ๋ยเคมีมันจะลงดิน ใช้เวลา 30 วัน แต่พอนำปุ๋ยเคมีมาหมักในน้ำหมักปลาหมอคางดำ ใช้เพียง 3 วัน ในการสลายตัว เพราะมีจุลินทรีย์อยู่ข้างในนั้น เมื่อเอาลงดินพืชจะได้รับประโยชน์ทันที ซึ่งน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำของ กยท. อุดมไปด้วยธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของต้นยางได้เป็นอย่างดี

S 11714639

นอกจากนี้ การใช้ปลาทั้งตัวในการหมักนั้นจะช่วยเพิ่มสารอาหารมากกว่าน้ำหมักทั่วไป เนื่องจากปลาจะมีสารคีเลตที่ช่วยหุ้มจุลธาตุ ทำให้ต้นยางสามารถดูดซึมจุลธาตุผ่านรากและใบได้ดียิ่งขึ้น กยท. ขอแนะนำให้เกษตรกรชาวสวนยางหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำของ กยท. เพราะนอกจากจะมีธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับการเจริญเติบโตแล้ว ยังมีราคาถูกกว่าท้องตลาด ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการผลิตลงได้

S 11714641
S 11714643