“รมว.นฤมล” ประกาศความสำเร็จ มกอช. เจรจา FTA ไทย- ภูฏาน เดินหน้าจัดทำบทมาตรการ SPS ส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารที่ค้าขายระหว่างสองประเทศ ขยายการส่งออกสินค้าเกษตรไทยระยะยาว     

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ไทย-ภูฏาน ได้ประกาศเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 พ.ค.67 ที่ผ่านมา และตั้งเป้าหมายเจรจาให้เสร็จภายในปี 2568 ซึ่งการทำ FTA จะช่วยสร้างศักยภาพการแข่งขันของสินค้าไทย เพราะจะมีการลด/เลิกการเก็บภาษีศุลกากร และมาตรการที่มิใช่ภาษี มีการอำนวยความสะดวกทางการค้า และลดอุปสรรคทางการค้า ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้า ทำให้การค้า 2 ฝ่ายขยายตัวมากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ และประชาชนของทั้ง 2 ประเทศ

S 27377706

“ไทยถือเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญลำดับต้นของภูฏาน และสินค้าไทยก็เป็นที่ชื่นชอบของชาวภูฏานเป็นอย่างมาก ซึ่ง FTA ไทย-ภูฏาน จะช่วยให้ชาวภูฏานเข้าถึงสินค้าไทยได้ง่ายยิ่งขึ้น ผ่านการลดอุปสรรคทางการค้าทั้งมาตรการภาษีและที่มิใช่ภาษี และเป็นกลไกส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศในระยะยาว โดยในห้วงปี 2566 การค้าระหว่างไทยและภูฏาน มีมูลค่า 640.23 ล้านบาท โดยไทยส่งออกไปภูฏาน มูลค่า 638.03 ล้านบาท และไทยนำเข้าจากภูฏาน มูลค่า 2.20 ล้านบาท ซึ่งในช่วง 7 เดือน (ม.ค.–ก.ค. 2567) การค้าสองฝ่าย มีมูลค่า 523.51 ล้านบาท โดยไทยส่งออกไปภูฏาน มูลค่า 522.63 ล้านบาท และไทยนำเข้าจากภูฏาน มูลค่า 0.87 ล้านบาท สำหรับสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญของไทย อาทิ ข้าวสาลี ผลไม้แห้ง” รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าว

S 27377707

ด้านนายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล เลขาธิการ มกอช. กล่าวว่า ทั้งนี้ มกอช. ได้มอบหมายให้นางสาวรวินันท์ ฉ่ำเฉลิม ผู้อำนวยการกองนโยบายและมาตรฐานสินค้าเกษตร (กนม.) เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย พร้อมด้วยผู้แทนกลุ่มนโยบายระหว่างประเทศที่ 1 เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Working Group on SPS) เพื่อเจรจาจัดทำบท SPS ภายใต้การเจรจาจัดทำ FTA ไทย- ภูฏาน ครั้งที่ 3 ณ เมืองพาโร ราชอาณาจักรภูฏาน ซึ่งการเจรจาครั้งนี้ บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยทั้งสองฝ่ายได้ข้อสรุปร่วมกันในทุกข้อบท พร้อมทั้งเห็นชอบร่วมกันที่จะจัดตั้งคณะอนุกรรมการว่า ด้วยมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เพื่อเป็นกลไกในการจัดการกับปัญหาและเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน ซึ่งภูฐานยังคงต้องการความร่วมมือทางวิชาการกับไทยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในด้านการควบคุมกำกับดูแลความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร เลขาธิการ มกอช. กล่าวอีกว่า บทมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชที่จัดทำขึ้น จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการการส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสินค้าเกษตรและอาหารที่ค้าขายระหว่างสอง

S 27377713
S 27377704
S 27377717
S 27377715