กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยก ‘ING Model’ การผลิตพืชคาร์บอนต่ำ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5

S 18792787

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม มอบนโยบาย และข้อสั่งการ การป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ประจำปี 2568 พร้อมตรวจเยี่ยมกำลังพล ความพร้อมของยุทโธปกรณ์ และเครื่องมือในการควบคุมปัญหา ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โอกาสนี้ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้ นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมประชุมด้วย ณ ห้องประชุมสโมสรยอดทัพ กองพลทหารราบที่ 7 อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

S 18792788

ทั้งนี้ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ได้มอบหมายให้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นำเสนอ ‘ING Model’ การผลิตพืชคาร์บอนต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

D45EAD25 2892 4EC6 AA08 35C2535A14C3

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้นำเสนอแนวทางการผลิตพืชคาร์บอนต่ำ ครอบคลุมทุกกระบวนการตั้งแต่เตรียมพื้นที่จนถึงเก็บเกี่ยว ที่ลดการปล่อยคาร์บอน หรือก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต ตามแนว ING ประกอบด้วย

53670010 3CE7 4EB0 9F24 097A2ECC9CCA

Increase Productivity ใช้พันธุ์ดี มีคุณภาพ, พัฒนาพันธุ์ด้วยเทคนิค GEds ให้มีผลผลิตสูง ต้านทานโรค ทนสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม, อัตราปลูก หรือจำนวนต้นต่อพื้นที่เหมาะสม, สร้างงาน สร้างรายได้

D7893E47 1A43 443E 9F2F 8F38B975A4C1

New Technology/Innovation ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อลดแรงงาน เช่น เครื่องจักรกล โดรน, การใช้ระบบ IoT/อัตโนมัติ สั่งการอย่างแม่นยำ, การจัดการน้ำ ปุ๋ย ตามความต้องการ หรือตามค่าวิเคราะห์ดิน/พืช

4A7855BF D535 4018 AFC1 F957AC0016D4

Green Management ผลิตตามเกณฑ์มาตรฐาน เช่น GAP PM 2.5 Free และใช้สารเคมีในระดับทีปลอดภัย, การใช้สารชีวภัณฑ์/ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี, การใช้พลังงานสะอาด ในระบบการจัดการทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง, การเพิ่มความยั่งยืนในระบบเกษตร

โดยมีโมเดลต้นแบบคือ การผลิตถั่วเหลืองที่มีประสิทธิภาพ แบบ Low Carbon เพื่อยกระดับการผลิตถั่วเหลืองของประเทศ เป็นไม่ต่ำกว่า 400 กก/ไร่ จากเดิมเฉลี่ย 266 กก/ไร่ และลดการใช้น้ำตลอดฤดูปลูกเหลือ 250 มม./ไร่ จาก 350-450 มม./ไร่ โดยมีขั้นตอนดังนี้ ใช้เมล็ดพันธุ์ดี, ใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม ร่วมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน, การใช้เครื่องจักรกลเกษตร อาทิ เครื่องปลูก และเครื่องเกี่ยวนวด, การจัดการน้ำระบบน้ำหยดร่วมกับปุ๋ยแบบอัตโนมัติ, การใช้โดรนประเมินสุขภาพพืช, การใช้โดรนในการพ่นสารป้องกันกำจัดโรค และแมลงศัตรูถั่วเหลือง, การใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช, และจัดทำคู่มือการผลิตถั่วเหลืองที่มีประสิทธิภาพ โมเดลต้นแบบนี้ สามารถเพิ่มผลผลิตได้ 54% การปล่อยคาร์บอนต่อผลผลิตลดลง 13% การลดการใช้ปุ๋ยเคมี สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 15 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่

97E04FAD 29B9 4305 A46F 8D17436A6BF2

กรมวิชาการเกษตร ในฐานะหน่วยงานบูรณาการร่วมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการการใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยการนำมาตรฐานมาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาไฟในพื้นที่เกษตร โดยใช้การรับรองมาตรฐาน GAP มกษ.4402-2553 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดเมล็ดแห้ง และการตรวจรับรองกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผาเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus) โดยมีแนวทางการจัดการเพื่อลดการเผาในพื้นที่เกษตร ตามแนวทาง 3R ลดปัญหาฝุ่นควัน ภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน ดังนี้

S 9977990



Re-habit ปรับเปลี่ยนนิสัย/พฤติกรรม การปลูกพืชชนิดเดิมแบบไม่เผา เช่น การปลูกข้าวโพด อ้อย ในพื้นที่เดิม แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการปลูกที่ไม่เผา

Replace with High value crops ปรับเปลี่ยนพืช จากพืชล้มลุก เป็นพืชที่มีมูลค่าสูง เช่นไม้ผล (กาแฟ มะคาเดเมีย อะโวกาโด) หรือไม้ยืนต้น (ป่าไม้ และไม้โตเร็ว ที่มีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอน

Replace with Alternate crops ปรับเปลี่ยนพืชในพื้นที่นาปรัง หรือพื้นที่นอกเขตชลประทาน หรือพืชตระกูลถั่วเป็นต้น

654A37E7 7CA6 452C 8795 8F9A1AF69297

ในปี 2567 กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการตรวจรับรองการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้ง ในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ จำนวน 10 หมู่บ้าน ใน 7 ตำบล โดยให้การรับรอง GAP ข้าวโพดเมล็ดแห้ง (มกษ.4402-2553) จำนวน 1,472 แปลง 930 ราย พื้นที่ 14,633 ไร่ และรับรอง PM 2.5 Free Plus จำนวน 720 แปลง 585 ราย พื้นที่ 8,407 ไร่ โดยในพื้นที่การรับรองยังมีการบูรณาการร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ในการใช้แผนที่รายแปลง ร่วมกับข้อมูลการรับรองแหล่งผลิต GAP พืช ข้าวโพดเมล็ดแห้ง ในการทวนสอบการรับรองโดยใช้จุดความร้อน (Hotspot) โดยหากพบประวัติการเกิดจุดความร้อนในพื้นที่ก็จะนำมาใช้พิจารณาประกอบการให้การรับรองกระบวนการตรวจรับรองกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผาเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 (PM 2.5 Free Plus) รวมไปถึงนำมาใช้ในการตรวจติดตามแหล่งผลิต GAP ข้าวโพดเมล็ดแห้ง เพื่อลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการตรวจรับรองอีกด้วย
.