“ปลาทูแม่กลอง” GI หน้างอ คอหัก ของดีจังหวัดสมุทรสงคราม

ปลาทูแม่กลอง หรือ Mae Klong Mackerel หรือ Pla To Mae Klong หมายถึง ปลาทูสดที่มีลำตัวกว้าง แบน สั้น ผิวหนังขาวเงินมันวาว มีแถบสีน้ำเงินแกมเขียวหรือแถบสีเหลือง ครีบหางสีเหลืองทอง ที่ได้จากบริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก) เฉพาะเขตจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ หรือแหล่งอื่นที่มีลักษณะภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน และปลาทูนึ่งที่นำปลาทูสดที่ได้จากเขตพื้นที่ที่กำหนดและมีลักษณะดังกล่าวข้างต้นมาผ่านความร้อน ทำให้ได้เนื้อปลาทูที่มีความละเอียดนุ่ม เนื้อแน่น หอม และมันมาก นิยมบรรจุลงในเข่งโดยให้มีลักษณะหน้างอ คอหัก ซึ่งผลิตและแปรรูปในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) “ปลาทูแม่กลอง ” เมื่อ 14 ก.ค. พ.ศ. 2566

ขึ้น2ปลา

กระบวนการผลิต

ปลาทูสด

(1) แหล่งที่มาของปลาทูต้องมาจากบริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก) เฉพาะเขตจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร และจังหวัดมุทรปราการ

(2) ฤดูกาลของปลาทูที่เหมาะสมในการจับและนำมาผลิต จะอยู่ในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม หรือจับได้ในปริมาณไม่มากในเดือนอื่น ๆ

ปปปปป

(3) วิธีการได้มาของปลาทูควรมาจากการทำประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง ทั้งที่ใช้เรือประมงและไม่ใช้เรือประมง โดยผ่านเครื่องมือที่เหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย หรือเรือประมงพาณิชย์ ที่ทำการจับสัตว์น้ำในบริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก) เฉพาะเขตจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งต้องเป็นเรือประมงที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงและนำสัตว์น้ำมาขึ้นท่าเทียบเรือที่จดทะเบียนกับกรมประมง โดยมีการรายงานบันทึกการขึ้นสัตว์น้ำตามประกาศที่อธิบดีกรมประมงกำหนดไว้ด้วย

(4) กรณีปลาทูจากแหล่งอื่น ต้องมีลักษณะเช่นเดียวกันหรือต้องมีลักษณะภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน คือมีลักษณะเป็นดินโคลนที่มีแพลงค์ตอนอุดมสมบูรณ์ หรือแหล่งพื้นที่ในประเทศไทยที่ตรวจสอบได้ว่ามีลักษณะภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกับอ่าวแม่กลอง เช่น จังหวัดประจวบคีรีขันธุ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร และจังหวัดสตูล เป็นต้น กรณีใช้ปลาทูแช่แข็ง ต้องนำมาทำการละลายน้ำแข็ง เพื่อรอการจำหน่ายต่อไป

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดสมุทรสงครามตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย ค่อนลงมาทางใต้ตามแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยด้านทิศตะวันตก พิกัดละติจูดที่ 13 องศา 24 ลิปดา 0 ฟิลิปดาเหนือ ลองจิจุดที่ 99 องศา 57 ลิปดา 30 ฟิลิปดาตะวันออก ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเลบริเวณปากน้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลบางจะเกร็ง ตำบลแหลมใหญ่ ตำบลบางแก้ว และตำบลคลองโคน อำเภอเมือง สมุทรสงคราม เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเล ลักษณะดินเกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ำและตะกอนน้ำทะเล บริเวณปากแม่น้ำกลอง ทำให้แผ่นดินขยายออกไปในทะเลบริเวณพื้นที่ตั้งแต่แนวชายฝั่งทะเลทอดตัวลงในทะเลจนถึงตอนทรายขี้เป็ด มีลักษณะพื้นผิวที่ชายฝั่งราบเรียบประกอบด้วยตะกอนโคลนกระจายเต็มพื้นที่ เนื้อดินมีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหาร เป็นแหล่งผลิตและแหล่งเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหารที่สำคัญ

ซึ่งสันดอนทรายขี้เป็ดเกิดจากการทับถมของสารต่างๆ ประกอบกับมีแม่น้ำแม่กลองเป็นแม่น้ำที่สะอาดที่สุดและมีสารอาหารมากที่สุด เพราะมีผืนป่าตะวันตกเป็นต้นน้ำแม่กลอง และกระแสลมประจำถิ่น ในบริเวณก้นอ่าวไทยจะมีลมพัดหมุนเวียนตลอดทั้งปี กระแสน้ำจืดนำพาสารแขวนลอยจากป่าเขา ร่องสวน ผลไม้ ป่า ชายคลองที่อุดมสมบูรณ์ไปยังหาดเลนและดอนทราย ซึ่งเรียกว่า ระบบนิเวศน้ำกร่อยปากแม่น้ำ ซึ่งในระบบนิเวศแบบนี้ จะมีสารอาหารมาเติมความสมบูรณ์ให้ในช่วงน้ำหลาก ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากมีสารอาหารแพลงก์ตอน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ไหลมากับสายน้ำลงสู่ทะเล ทำให้เกิดเป็นน้ำกร่อยในบริเวณปากแม่น้ำและชายทะเล เป็นแหล่งอาหาร ถิ่นที่อยู่อาศัย เพาะพันธุ์ อนุบาลวัยอ่อนของสัตว์น้ำทั้งหลาย และที่หลบภัยของสัตว์ทะเล

นอกจากบริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก) เขตจังหวัดสมุทรสงครามแล้ว ยังพบว่าบริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก) เขตจังหวัดเพชรบุรี สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการหรือบริเวณอ่าวไทยเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร และสตูล ซึ่งลักษณะภูมิประเทศมีความใกล้เคียงกัน คือเป็นดินโคลนที่มีแพลงค์ตอนพืชอุดมสมบูรณ์ โดยธรรมชาติแล้วปลาทูจะไปวางไข่บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง เมื่อลมเริ่มเปลี่ยนเป็นฝ่ายเหนือ ปลาทูจะว่ายทวนลม ทวนน้ำ ขึ้นมาสู่บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนใน(อ่าวไทยรูปตัว ก) เพื่อมาโตเต็มที่ และรับสารอาหารให้ทันหลังฤดูน้ำหลาก

ลักษณะภูมิอากาศ

จังหวัดสมุทรสงครามได้รับอิทธิพลของลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดพาความเย็นจากประเทศจีนเข้ามาปกคลุมพื้นที่ในช่วงพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีทำให้อุณหภูมิของน้ำในบริเวณอ่าวไทยตอนในลดลง ปลาทูจะปรับกระบวนการทำงานของร่างกายเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกายด้วยการสร้างไขมันขึ้นมา จึงทำให้ปลาทูแม่กลองที่จับได้ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นที่รู้จักว่าเป็นปลาที่อร่อยเนื้อแน่น นุ่ม มีความมันโดยธรรมชาติ รวมถึงมีสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย

ประวัติความเป็นมา

เมืองแม่กลอง เป็นชื่อเดิมของจังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งขึ้นตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ แต่จากหลักฐานยืนยันที่แน่ชัดทราบแต่เพียงว่าเป็นเมืองเก่ามาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองนี้ตั้งอยู่ปากน้ำแม่น้ำ “แม่กลอง” จึงเรียกว่า “เมืองแม่กลอง” ในสมัยอยุธยาตอนปลายได้นำราชทินนามของเจ้าเมืองแม่กลองคือ “พระสมุทรสงคราม” มาใช้เป็นชื่อ “เมืองสมุทรสงคราม” และต่อมาได้จัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดสมุทรสงครามอย่างเป็นทางการสืบมาจนถึงปัจุบัน

จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ (นายแพย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในกรุงรัตนโกสินทร์) คนไทยเริ่มรู้จักปลาทูอย่างแพร่หลายตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ด้วยชื่อเสียงที่ว่าเป็นสุดยอดแห่งปลาในอ่าวไทยตอนบน เนื่องจากมีรสชาติดี เนื้อนุ่ม กลิ่นหอม หวาน มัน อร่อย โดดเด่นกว่าปลาทูจากแหล่งอื่นๆเนื่องจากปลาทูแม่กลองได้รับสารอาหารที่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมากจากปากแม่น้ำแม่กลองลงสู่บริเวณอ่าวแม่กลอง รวมทั้งบริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก)

ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6) ประเทศไทยได้ว่าจ้าง คร.ฮิว แมคอร์มิค สมิธ(นักชีววิทยา ชาวอเมริกัน อธิบดีสำนักงานประมงแห่งสหรัฐอเมริกา)มาเป็นที่ปรึกษากรมรักษาสัตว์น้ำ ซึ่งต่อมาคือกรมประมงในปัจจุบัน เพื่อสำรวจพันธุ์ปลาต่างๆ ในประเทศไทย มีหลวงมัศยจิตรการ (ประสพ ตีระนันทน์)เป็นผู้ช่วยและวาดภาพปลา ซึ่งท่านผู้นี้เป็นผู้วาดภาพปลาทูภาพแรกในประเทศไทย การจับปลาทูเพื่อบริโภคในอดีตชาวประมงจะใช้ “โป๊ะ” (เครื่องมือหาปลาพื้นบ้านทำจากไม้ไผ่ นำมาล้อมให้เป็นวงกลม เปิดช่องเป็นทางสำหรับให้ปลาหูผ่านเข้าไปได้) ในปี พ.ศ. 2468 ไทยนำเรืออวนตังเกจากจีน มาใช้ทำการประมงทำให้จับปลาทูได้มาก

และต่อมาในปี พ.ศ. 2503 รัฐบาลไทยนำเครื่องมืออวนลากจากเยอรมนีตะวันตกมาใช้ และเมื่อมีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกทำให้การประมงขยายตัวมากขึ้นและเป็นการจับเพื่อการพาณิชย์ จนกระทั่งจำนวนปลาทูในอ่าวไทยลดจำนวนลง

ปัจจุบันปลาทูแม่กลองจะมาจากการทำประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง ทั้งที่ใช้เรือประมงและไม่ใช้เรือประมง โดยผ่านเครื่องมือที่เหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย หรือเรือประมงพาณิชย์ ที่ทำการจับสัตว์น้ำภายในบริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก) เขตจังหวัดสมุทรสงคราม เพชรบุรี สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ โดยมีข้อกำหนดว่าต้องเป็นเรือประมงที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมง และนำสัตว์น้ำมาขึ้นท่าเทียบเรือที่จดทะเบียนกับกรมประมง โดยมีการรายงานบันทึกการขึ้นสัตว์น้ำตามประกาศที่อธิบดีกรมประมงกำหนดไว้ด้วย

ความมีชื่อเสียงของปลาทูแม่กลอง กล่าวได้ว่า ของแท้จะต้องหน้างอ คอหัก หัวโต หางเหลือง ตัวป้อมสั้น สาเหตุที่ปลาทูแม่กลองคอหักเนื่องจากช่วง 50 ปีที่ผ่านมา กลุ่มคนนึ่งปลาทูได้นึ่งในซึ้งไม้ไผ่สานคล้ายเข่งปลาทูในปัจจุบัน แต่ซึ้งนึ่งปลาทูมีข้อเสีย คือ กระด้งใส่ซึ้งนึ่งได้จำนวนจำกัด เมื่อปลาทูแม่กลองเป็นที่นิยมมากตลาดมีความต้องการสูง จึงมีการพัฒนามาเป็นเข่งเหมือนในปัจจุบัน เมื่อวางเข่งซ้อนกันทำให้นึ่งปลาได้มากขึ้น แต่เข่งมีขนาดไม่ใหญ่นัก จึงต้องหักคอปลาทูเพื่อให้ลงเข่งได้พอดี เพื่อให้อยู่ในเข่งอย่างสวยงาม ทำให้ปลาทูแม่กลองดูแตกต่างจากปลาทูในแหล่งอื่น ลักษณะ “หน้างอ คอหัก” จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ของปลาทูแม่กลองไปโดยปริยาย

– ขอบเขตที่ตั้งแหล่งภูมิศาสตร์

ขอบเขตพื้นที่การผลิตและแปรรูป ปลาทูแม่กลอง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดสมุทรสงคราม

GIregistration207 page 0008แก่