กรมวิชาการเกษตรขานรับนโยบาย รมว.เกษตร ทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วยBCG ยกระดับสินค้าเกษตรปลอดภัยมูลค่าสูง

IMG 4832

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากการที่ รัฐกำหนดนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ–เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG โมเดล (Bio-Circular-Green Economy) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม โดยนำยุทธศาสตร์ชาติ วิสัยทัศน์ “Thailand 4.0” ผสมผสานกับ  “หลักเศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy Philosophy, SEP) และ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Goals, SDGs) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขานรับนโยบาย ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ทำการเกษตรใส่ใจสิ่งแวดล้อม ยกระดับสินค้าเกษตรปลอดภัย มูลค่าสูง โดยเลือกโครงการพืชผักเศรษฐกิจ จังหวัดราชบุรี เป็นหนึ่งในโครงการนำร่อง

         

messageImage 1729131719249

จังหวัดราชบุรี มีพื้นที่ปลูกผัก 70,000 ไร่ เป็นผักปลอดภัย 48,476 ไร่ ผักอินทรีย์ 220 ไร่ ได้รับการขึ้นทะเบียนกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี โดยจังหวัดราชบุรีมีนโยบายผลักดัน พืชผักทั้งหมด ให้เป็นพืชผักปลอดภัย เกษตรกรนำเอาเทคโนโลยีหลายๆ วิธีมาประยุกต์ร่วมกัน เพื่อทดแทน/ลดปริมาณการใช้สารเคมีลง สารชีวภัณฑ์เป็นทางเลือกที่เกษตรกรสนใจ ในการผลิตผักปลอดภัย สารชีวภัณฑ์ที่นิยมได้แก่ ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงกลุ่มปากกัด ราบิวเวอเรียกำจัดแมลงกลุ่มเพลี้ย ราไตรโคเดอมาควบคุมโรครากเน่าโคนเน่า และแบคทีเรียบีเอสควบคุมโรคกุ้งแห้งในพริก/โรคใบจุดในคะน้า การพ่นชีวภัณฑ์ในผัก เกษตรกรพ่นมักพ่นโดยเครื่องพ่นสารแบบสะพายหลัง ด้วยแรงงานคน อัตราการใช้สารที่ 80-100 ลิตรต่อไร่ ใช้ปริมาณน้ำมาก เพื่อให้สารชีวภัณฑ์ที่พ่นถูกตัวแมลง/โรคพืชที่อยู่บนใบ/ใต้ใบ ปัจจุบันยังไม่มีเครื่องจักรกลเกษตร ที่ออกแบบสำหรับพ่นด้วยเครื่องยนต์ การพ่นด้วยแรงงานคน ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับ ทักษะ ความตั้งใจของผู้พ่น ในกรณีที่จ้างแรงงานพ่น ถ้าผู้พ่นขาดทักษะ ความรับผิดชอบ จะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการพ่นต่ำ ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีการพ่นสารแบบใหม่ ที่เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ง่าย

messageImage 1729131936263

นายยุทธนา เครือหาญชาญพงค์ วิศวกรการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม เปิดเผยว่า เครื่องพ่นสารชีวภาพกำจัดศัตรูพืชแบบเดินตามเพื่อการผลิตผักปลอดภัย เป็นการพลิกโฉมการผลิตผักปลอดภัย ช่วยประหยัด เวลา แรงงาน ใช้ได้ทั้งในร่องผักแบบปลูกเป็นแถว และยกค้าง จุดเด่น ทำงานเร็วกว่าคนเดินพ่น 5 เท่า โดยพ่นได้ 5 ไร่/ชม ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ปลูกผัก 3-5 ไร่ ดังนั้น ทำงานคนเดียว เสร็จภายใน 1 ชั่วโมง เครื่องพ่นที่ออกแบบสร้างละอองที่เป็นฝอยละเอียด ทำให้ทุกส่วนของผัก โดนชีวภัณฑ์มากกว่าการพ่นปกติ นอกจากนี้เป็นการพ่นที่ใช้น้ำน้อย ลดน้ำลงได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ลดชีวภัณฑ์ลงได้ 40 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่าย เครื่องพ่นที่ออกแบบ มีขนาดเล็ก ผลิตได้ในประเทศ ต้นทุนต่ำ เกษตรกรเข้าถึงง่าย ตอบโจทย์นโยบาบ BCG และ เกษตรแปลงใหญ่ของรัฐบาล เมื่อนำไปเผยแพร่ เกษตรกรใช้งานแล้วพอใจ ยอมรับเทคโนโลยี ที่สำคัญมีโรงงานนำไปผลิตจำหน่ายแล้ว มีการใช้งานจริง ในเกษตรแปลงใหญ่ ผู้ผลิตผักปลอดภัย จ.ราชบุรี 6 แห่ง เกษตรกรมีความพึงพอใจเป็นอันมาก จุดคุ้มทุนของเครื่องพ่นอยู่ที่ 120 ไร่/ปี นอกจากใช้งานเองในแปลง ยังนำไปรับจ้างเพิ่มรายได้ในอัตราการฉีดพ่นไร่ละ 65 บาท

132554

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า เครื่องพ่นสารชีวภาพกำจัดศัตรูพืชแบบเดินตามเพื่อการผลิตผักปลอดภัย  สามารถสร้างชุมชน การผลิตผักปลอดภัยให้เข้มแข็ง เกษตรได้รับการรับรอง มาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น ทำให้มีรายได้เพิ่ม จากการลดต้นทุน ด้านแรงงาน เวลา ปริมาณชีวภัณฑ์ที่ลดลง และผลผลิตผักทีเพิ่มขึ้น เป็นการทำเกษตรที่ปลอดภัยใส่ใจสิ่งแวดล้อมด้วย BCG ยกระดับสินค้าการผลิตผักปลอดภัย มูลค่าสูง ตามนโยบาย ของ รมว.เกษตร

136936
LINE ALBUM อบรม เกษตรกร ผสมผสาน วันที่ 17 7 66 แก้มอ้น 2
เาา