“มุกภูเก็ต” หมายถึง มุกกลมและมุกซีก ที่มีสีโทนขาว ครีม ชมพู ถึงเหลืองทอง ด้วยกระบวนการผลิตตามวิธีการที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ในบริเวณทะเลรอบเกาะภูเก็ตและเกาะบริวาร ภายในเขตจังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) “มุกภูเก็ต” เมื่อปี 2558
ลักษณะภูมิประเทศ
บริเวณทะเลรอบเกาะภูเก็ดและเกาะบริวาร ภายในเขตจังหวัดภูเก็ดเป็นทะเลฝั่งอันดามันมีการขึ้นลงของน้ำวันละสองครั้ง (เช้า-เย็น) ทำให้น้ำแถบอันดามันสะอาดและมีการพัดพาของตะกอนสารอินทรีย์มากกว่าพื้นที่อื่น ทำให้มืความสมบูรณ์ของแพลงตอน (plankton) อาหารธรรมชาติสำหรับหอยมุก และมีอุณหภูมิเหมาะสมต่อการเจริญเติบโดของหอยคือ ระหว่าง 27:8 – 32.5 องศาเซลเซียส ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการเจริญเติบโตของหอยมุก ทำให้หอยมุกโตเร็ว ส่งผลให้สร้างมุกได้เร็วขึ้น และช่วยร่นระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต
นอกจากนี้ยังมีการผลิตตามกรรมวิธีการผลิตที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ทำให้มีอัตราการรอดของมุกสูง และสามารถผลิตมุกที่มีคุณลักษณะเฉพาะตามแบบฉบับ “มุกภูเก็ต”ได้
ประวัติความเป็นมา
การเลี้ยงหอยมุกในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 นับเป็นเวลากว่าหกสิบปีแล้ว โดยระยะแรกเป็นการเข้ามาลงทุนของชาวญี่ปุ่นได้เริ่มดำเนินการที่เกาะพยาม จังหวัดระนอง มีการทดลองเลี้ยงหอยมุกจนสามารถผลิตได้ทั้งมุกซีกและมุกกลม หลังจากนั้นมีผู้สนใจทำฟาร์มเลี้ยงหอยมุกเพิ่มขึ้น โดยในปี 2510 มีฟาร์มหอยมุกในประเทศไทยอยู่ที่จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันมีฟาร์มเลี้ยงมุกทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันได้แก่ เกาะไม้ซื้ กิ่งอำเภอเกาะกูล จังหวัดตราด อ่าวยน อ่าวสะปำ เกาะรังใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ตและเกาะนาคา อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
จังหวัดภูเก็ตเริ่มมีการเลี้ยงหอยมุกเมื่อประมาณ 30-40 ปีมาแล้ว (ปี พ.ศ. 2510) และมุกที่ผลิตได้มีคุณภาพดี ผู้ประกอบการเลี้ยงมุกในจังหวัดภูเก็ตจึงได้ศึกษาเทคนิคการเลี้ยงและการใส่แกนมุก จนมีความรู้ความชำนาญอย่างดีจนสามารถดำเนินการได้เองโดยผู้ผลิตในจังหวัดภูเก็ต ด้วยลักษณะเฉพาะและคุณภาพของมุกภูเก็ตจึงทำให้มุกภูเก็ตมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้พื้นที่การผลิตมุกภูเก็ตครอบคลุมพื้นที่บริเวณทะเลรอบเกาะภูเก็ตและเกาะบริวาร ภายในเขตจังหวัด