เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567 ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบนโยบายขับเคลื่อนงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้กับผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ ว่านโยบายของกระทรวงสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลเน้นยกระดับการทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นเกษตรทันสมัย ด้วยแนวคิด “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” โดยมุ่งเน้นให้นำเทคโนโลยีด้านการเกษตร เช่น เกษตรแม่นยำ หรือเกษตรอัจฉริยะ มาใช้พัฒนาอาชีพด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ และอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง ดึงจุดเด่นของประเทศไทยเพื่อตอบสนองความต้องการของโลกด้านความมั่นคงทางอาหาร และเพิ่มรายได้เกษตรกรครัวเรือนละไม่ต่ำกว่า2แสนบาทต่อปี
ทั้งนี้ปัญหาสำคัญที่สุดของเกษตรกร ขาดที่ทำกิน ต้องเร่งจัดสรรที่ทำกินให้กับเกษตรกร ขยายผลการยกระดับเอกสารสิทธิให้เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร รวมถึงพัฒนาช่องทางการเข้าถึงแหล่งทุน พร้อมยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน และสามารถแปลงสินทรัพย์ในที่ดินให้เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อสร้างรายได้และความยั่งยืนให้กับเกษตรกรและการบริหารจัดการน้ำแบบครบวงจร จะต้องเชื่อมโยงกับทุกหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับกรณี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ระบุจะหยิบยกโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นขึ้นมาใหม่เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ซ้ำซากในแม่น้ำยม ซึ่งถ้านโยบายของรัฐบาล กระทรวงเกษตรฯก็พร้อมจะดำเนินการทัังนีั ซึ่งต้องมีการหารือรัฐบาลให้ชัดเจนอีกครั้ง ซึ่งทั้งหมดหากจะมีการดำเนินการตัองศึกษาผลกระทขทางสังคมและสิ่งแวดล้อมใหม่และจะต้องรับฟังความคิดเห็นรอบด้านจากหน่วยงานที่้เกี่ยวข้องชุมชนและภาคประชาสังคมหากมีข้อกังวลเกี่ยวกับกระทบที่จะเกิดขึ้นก็จะต้องหารือร่วมกันว่าจะมีจุดร่วมอย่างไรเมื่ิอเปรียบเทียบกับประโยชน์ของการสร้างอ่างเก็บน้ำในลุ่มน้ำยมเนื่องจากเป็นลุ่มน้ำเดียวของต้นน้ำลุ่มเจ้าพระยาที่เป็นลุ่มน้ำเดียวที่ไม่มีอ่างเก็บน้ำรองรับทำให้เกิดน้ำท่วมน้ำแล้งซ้ำซาก
ดร.นฤมล บอกด้วยว่าปัญหาภัยพิบัติมีความถี่มากขึ้น ได้สั่งการกรมชลประทาน เตรียมพร้อมตลอด24ชั่วโมง รับมือสถานการณ์น้ำ ซึ่งเมื่อวันที่13 กันยายน ท่านองคมนตรี ได้มาเป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ และย้ำให้นำโครงการที่ศึกษาไว้แล้วมาเดินหน้าเข้าสู่ขั้นตอนการก่อสร้างเพื่อป้องกันภัยพิบัติให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับแผนเผชิญเหตุ การเตือนภัยอย่างทันเหตุการณ์ จะช่วยบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนได้มากที่สุด