ระวัง ไรสี่ขา ซุ่มระบาด 13 จังหวัด

S 8118411

ไรสี่ขามะพร้าว เป็นศัตรูพืชที่มีขนาดเล็กมาก รูปร่างลักษณะคล้ายหนอนสีขาวใส ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องมองผ่านกล้องที่มีกำลังขยายสูงเท่านั้น ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเป็นศัตรูพืช เพศเมียสามารถวางไข่ได้ประมาณ 30-50 ฟอง จากระยะไข่ – ตัวเต็มวัย ใช้ระยะเวลาประมาณ 7-8 วัน

S 8118413

ทั้งนี้ ไรสี่ขามะพร้าว จะเริ่มเข้าทำลายผลมะพร้าวตั้งแต่ผลมีขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตรจนถึง 25 เซนติเมตร โดยไรจะอาศัยดูดกินอยู่ใต้กลีบเลี้ยงของผลมะพร้าว พื้นที่ระบาด 13 จังหวัด (ชัยภูมิ บุรีรัมย์ จันทบุรี กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา ตราด สมุทรปราการ สระแก้ว นครปฐม เพชรบุรี สมุทรสาคร สงขลา และชุมพร) จำนวน 446 ไร่ การระบาดลดลง 5 ไร่ ข้อมูล 8 ส.ค.67

S 8118414

ผลมะพร้าวที่ถูก ไรสี่ขา ทำลายจะชะงักการเจริญเติบโต หลุดร่วงและผลผลิตเสียหายได้ถึง 70% จึงต้องเร่งสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวเฝ้าระวังเนื่องจากสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อทั้งคุณภาพและผลผลิตมะพร้าว

S 8118415

ไรสี่ขามะพร้าว เป็นศัตรูพืชที่เข้าทำลายอยู่ภายในขั้วผลมะพร้าว ทำให้การพ่นสารฆ่าไรไม่สามารถโดนตัวไรได้โดยตรง ดังนั้นการป้องกันกำจัดให้เน้นพ่นสารกำจัดไรในช่วงระยะมะพร้าวติดจั่นจนถึงระยะผลขนาดเล็ก ห่างกันประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะที่ไรสี่ขาเริ่มเข้าทำลาย โดยสารฆ่าไรสี่ขามะพร้าวตามคำแนะนำ ของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่

–โพรพาร์ไกต์ 30% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

–อะมิทราซ 20% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

–ไพริดาเบน 20% WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

–กำมะถันผง* 80% WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (*ห้ามผสมกับสารชนิดอื่น)

–สไปโรมีซิเฟน 24% SC อัตรา 6 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

–เฮกซีไทอะซอกส์ 1.8% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

–ไซฟลูมีโทเฟน 20% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และ

–ทีบูเฟนไพแรด 36% EC อัตรา 3 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

โดยให้สลับกลุ่มสารฆ่าไรตามลักษณะกลไกลการออกฤทธิ์

S 8118416