นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในงาน “FTI EXPO 2022 : SHAPING FUTURE INDUSTRIES มหกรรมแสดงสินค้าและนวัตกรรมของอุตสาหกรรมไทย หัวข้อ“พลิกโฉมเกษตรไทย” (Disruptive Change) ด้วยแนวคิด BCG พัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ณ ห้องลีลาวดีศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จังหวัดเชียงใหม่ ว่า กระทรวงเกษตร ฯ มุ่งมั่นจะยกระดับคุณภาพชีวิตของ“เกษตรกร”และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรมด้วยนโยบายการพัฒนาภาคเกษตรกรรม 5 ยุทธศาสตร์ และ15 นโยบายหลักเพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารสู่เป้าหมายและเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนา “ภาคการเกษตร” อย่างเป็นระบบ
ด้วยการนำแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ BCG มาใช้เป็นหลักสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตรบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ โดยนำเอาความรู้และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานราก ผลผลิตสินค้าเกษตรล้นตลาดและราคาตกต่ำ ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพลิกโฉมเกษตรไทย(Disruptive Change) ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องเน้นการปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรของประเทศไทยสู่ 3 สูง คือ ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูงและรายได้สูง
เกษตรกร ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานราก ผลผลิตสินค้าเกษตรล้นตลาดและราคาตกต่ำ ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพลิกโฉมเกษตรไทย(Disruptive Change) ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องเน้นการปรับเปลี่ยนระบบการเกษตรของประเทศไทยสู่ 3 สูง คือ ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูงและรายได้สูง
ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาภาคการเกษตรด้วย BCG Model ใน 4 แนวทาง ได้แก่
แนวทางที่ 1 อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรทางการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
แนวทางที่ 2 ส่งเสริม “เกษตรสมัยใหม่” การผลิตสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง
แนวทางที่ 3 พัฒนาเกษตรกรมืออาชีพและเสริมสร้างความเชี่ยวชาญของบุคลากรภาครัฐ
และแนวทางที่ 4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก โดยได้ร่วมจัดนิทรรศการในงาน FTI Expo 2022 : Northern Chapter ภายใต้แนวความคิด “นวัตกรรมเกษตรไทย สู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ Next Normal (Agri-Innovation to New Industry for Next Normal)” (บูธ A103) ซึ่งมีหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 14 หน่วยงาน
ประกอบด้วย
1.กรมพัฒนาที่ดิน นำเสนอการสร้างความยั่งยืนของครัวเรือนเกษตรกรไทย โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่
2.กรมชลประทาน นำเสนอความเชื่อมโยงของสายน้ำจากต้นน้ำถึงปลายน้ำเพื่อขับเคลื่อน BCG Model
ภาคการเกษตร
3.สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นำเสนอการพัฒนาสมุนไพรไทยในเขตปฏิรูปที่ดิน
4.กรมวิชาการเกษตรนำเสนอ BCG model กับการพัฒนา กัญชา กัญชง อย่างยั่งยืน
5.กรมปศุสัตว์ จัดนิทรรศการEAT Cricket To Save The Planet สาธิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์จิ้งหรีด
6.กรมการข้าว นำเสนอการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปที่สร้างมูลค่าเพิ่ม เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ
7.กรมประมง นำเสนอการนำวัสดุเหลือใช้ภาคการเกษตรมาใช้ประโยชน์
8.กรมหม่อนไหม นำเสนอไหมรังเหลืองเมืองเหนือเพื่ออุตสาหกรรมด้วยตลาดนำการผลิต
9.สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ นำเสนอการยกระดับพืชสมุนไพรไทยด้วยมาตรฐาน พัฒนาสู่ความยั่งยืน
10.กรมส่งเสริมการเกษตร นำเสนอการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร
11.การยางแห่งประเทศไทย นำเสนอการปลูกสร้างสวนยางพาราแบบเกษตรผสมผสาน
12.กรมส่งเสริมสหกรณ์ นำเสนอการบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตรแบบครบวงจร
13.องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย นำเสนอการพัฒนาเกษตรกรโคนมสู่ Smart Farmer (DPO Smart Farmer)
และ 14. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรร่วมสนับสนุนสื่อวีดีทัศน์ “การขับเคลื่อนภาคเกษตร ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG การพลิกโฉมเกษตรไทย ด้วยแนวคิด BCG พัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกร ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะภาคเอกชนหรือที่เรียกว่า Public Private Partnership: PPP ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการเพิ่มผลิตภาพและศักยภาพการผลิต ตลอดจนความร่วมมือในลักษณะการบูรณาการเชิงพื้นที่ที่จะช่วยทำให้ภาคเกษตรพัฒนาได้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อไป” นายฉันทานนท์ กล่าว