นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ อดีตคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงประธานกรรมการและกรรมการ ธ.ก.ส. ขอให้คณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรพิจารณาภารกิจที่รัฐบาลจะมอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการในโครงการเติมเงิน10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet พิจารณาอย่างรอบคอบ
โดยระบุว่า1.มติคณะกรรมการในโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ฯ ที่มอบหมายให้ ธ.ก.ส.ดำเนินการจัดหาและแจกจ่ายเงิน 172,300 ล้นบาทแก่เกษตรกร(แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะรวมถึงบุดคลในครอบครัวของเกษตรกรซึ่งมีทั้งที่มีอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอื่นที่ไม่ใช่เกษตรกรรม) รายละ 10,000 บาท เพื่อส่งเสริมการใช้จ่ายเงินเพื่อการบริโภคอันจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมว่าจะชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่
เช่นพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ มาตรา 7 มาตรา 28 พระราชบัญญัติธนาการเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มาตรา 9 ที่กำหนดวัดถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตรสำหรับประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรมสำหรับการประกอบอาชีพอย่างอื่นเพื่อเพิ่มรายได้ การพัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมหรืออาชีพอย่างอื่นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและครอบครัวของเกษตรกร ตลอดจนถึงการคำเนินกิจการตามโครงการที่เป็นการส่งเสริมหรือสนับสนุนการประกอบเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มรายได้หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรหรือครอบครัวของเกษตรกร ซึ่งเห็นว่าแตกต่างไปจากการดำเนินการการแจกจ่ายเงิน 10,000 บาทให้เกษตรกรเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการจับจ่ายใช้สอย
จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่คณะกรรมการ ธ.ก.ส. จะได้รับคำชี้แจงและยืนยันจากประธานคณะกรรมการ ธ.ก.ส. (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรวมถึงเป็นประธานคณะกรรมการโครงการในโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ฯ ว่าการกิจที่มอบหมายให้ ธ.ก.ส. คำเนินการแจกจ่ายเงิน 10,000 บาท เป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากยังไม่มีความชัดเจน คณะกรรมการ ธ.ก.ส.ย่อมมีความจำเป็นต้องเสนอขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นก่อนการมีมติของคณะกรรมการ ธ.ก.ส.)
ข้อกังวลประการที่สอง เป็นข้อกังวลที่เกี่ยวเนื่องไปถึงการบริหารการเงินของ ธ.ก.ส. การที่ ธ.ก.ส.ต้องเข้าร่วมในโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ฯ ทั้งเรื่องการจัดหาต้นเงินเพื่อการแจกจ่ายที่สูงถึง 172,300 ]ล้านบาท รวมถึงการบริหารจัดการในการแจกจ่ายงินดังกล่าว ทั้งๆที่ไม่ใช่ภารกิจของ ธ.ก.ส.แต่อย่างใด ย่อมมีผลกระทบต่อการบริหารการกิจหลักของ ธ.ก.ส.ในการสนับสนุนและช่วยเหลือเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตรในการประกอบอาชีพทางการเกษตร และที่สำคัญที่จะเกิดผลกระทบกับสถานะการเงินของ ธ.ก.ส.
ดังจะเห็นได้จากรายงานงบการเงินของ ธ.ก.ส.ปี 2566 ธ.ก.ส.มีลูกหนี้รอการชดเชยจากรัฐบาลตามธุรกรรมตามนโยบายรัฐบาล (ที่ผ่านมา มีจำนวนสูงถึง 619,000 ล้านบาท โดยที่รัฐบาลมิได้มีแผนที่ชัดเจนว่าจะชำระคืนอย่างไร หากเพิ่มวงเงินที่ธ.ก.ส.จะต้องจ่ายไปตามโครงการเติมเงิน 10,000 บาทฯ อีก 1 72,300 ล้านบาท โดยที่รัฐบาลจะไม่สามารถชดเชยหรือชำระหนี้ดังกล่าวก่อนปี 2569 อันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาถึงสถานะการเงินของ ธ.ก.ส. ได้ และหากมีผู้พยายามวิพากษ์วิจารณ์ถึงความมั่นคงของสถานะการเงินของ ธ.ก.ส.อย่างต่อเนื่องก็อาจเกิดผลร้ายแรงกับ ธ.ก.ส.ได้
จึงชอบที่คณะกรรมการ ธ.ก.ส.ควรจะเรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดแผนการชดเชยค่าใช้จ่ายและชำระหนี้ ที่เหมาะสมและเป็นรูปธรรมตามมาตรา 28 แห่งพ.ร.บ.วินัยทางการเงินการคลังของรัฐพ.ศ.2561 เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความมั่นคงในสถานะการเงินของ ธ.ก.ส.ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในขณะที่ ธ.ก.ส.ก็จะต้องติดตามและแก้ไขการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
จดหมายเปิดผนึกนี้เพื่อเรียกร้องให้คณะกรรมการ ธ.ก.ส.โปรดพิจารณาความถูกต้องที่มีการมอบหมายการกิจการแจกจ่ายเงิน 72,300 ล้นบาทแก่เกษตรกรตามที่คณะกรรมการในโครงการเติมเงิน 10,000 บาท กำหนดว่าชอบด้วยกฎหมายและการกิจของ ธ.ก.ส.หรือไม่ รวมถึงเรียกร้องให้ประธานคณะกรรมการ ธ.ก.ส.ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการในโครงการเดิมเงิน 10,000 บาท ที่จะต้องชี้แจงและยืนยันความถูกต้องในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีชี้แจงถึงแผนการชดเชยค่าใช้จ่ายและชำระหนี้ที่เหมาะสมและเป็นรูปธรรมเพื่อให้กณะกรรมการ ธ.ก.ส.ใช้ประกอบการพิจารณาต่อไป