กระทรวงเกษตรฯ จัดทำปุ๋ยหมักกองใหญ่ ในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน แก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ช่วยลดหมอกควันและฝุ่นละออง เพิ่มรายได้เกษตรกร

752030

       

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดงาน “โครงการรณรงค์การทำปุ๋ยหมักจากชังข้าวโพดและเศษพืช เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน และลดปัญหาหมอกควัน และ PM 2.5 ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีนายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ บ้านต่อเรือ หมู่ที่ 2 ตำบลช่างเอิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมพัฒนาที่ดิน จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อปลุกจิตสำนึก และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้ทราบถึงประโยชน์จากการทำปุ๋ยหมัก จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 2) เพื่อสาธิตวิธีการทำปุ๋ยหมักที่ถูกต้องและเหมาะสมให้แก่เกษตรกร เป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน 3) เพื่อให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนทัศนคติ งดการเผา และนำวัสดุที่เหลือใช้จากไร่นามาเป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต และ 4) เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ลดหมอกควัน บรรเทาภาวะโลกร้อน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

       

752029
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรฯ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมพัฒนาที่ดิน มีนโยบายให้จัดทำปุ๋ยหมักกองใหญ่ขึ้นในพื้นที่ที่มีปริมาณเศษวัสดุทางการเกษตรจำนวนมาก จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในเรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน และการป้องกันแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ช่วยลดหมอกควันและฝุ่นละออง โดยมีแผนการรณรงค์นำร่องในพื้นที่ อำภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากมีพื้นที่ในการปลูกข้าวโพดเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ประสบปัญหาการเผาเศษวัสดุก่อนการเพาะปลูกพืช เป็นปัญหาที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ เพราะหากเกิดปัญหาหมอกควันและฝุ่นละออง ก็จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยการดำเนินการในครั้งนี้ จะใช้ผลิตภัณฑ์ของกรมพัฒนาที่ดิน สารเร่ง พด.1 ช่วยในการย่อยสลายเศษพืชและเศษวัสดุ ให้เกิดการหมักที่รวดเร็วให้เป็นปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพในการนำไปใช้ปรับปรุงดิน ให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดี ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุและแร่ธาตุในดินให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรลดการพึ่งพาการใช้ปุ๋ยเคมี ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต และส่งผลช่วยให้ลดภาวะหมอกควันที่เกิดจากการเผาเศษวัสดุการเกษตร ลดปัญหาต่อชุมชน และทำให้สภาวะแวดล้อมดีขึ้น

       

752031

ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 2.98 ล้านไร่ มีเศษเหลือของวัสดุจากการเกษตร เช่น เศษชังข้าวโพด ดอซังข้าว และอื่น ๆ กว่า 1.16 ล้านตันต่อปี แต่เกษตรกรยังขาดการจัดการที่เหมาะสม มีการเผาทิ้งหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรจะส่งผลกระทบต่อดิน ทำลายอินทรียวัตถุ ธาตุอาหารและจุลินทรีย์ในดิน การเผาเศษพืช 1 ตัน ทำให้สูญเสียธาตุไนโตรเจนประมาณ 2.3 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส ประมาณ 1.3 กิโลกรัม และโพแทสเชียมประมาณ 5.7 กิโลกรัม นอกจากนี้ ยังเป็นสาหตุทำให้เกิดหมอกควัน และปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 6.05 ตัน ต่อการเผาเศษพืช 1 ตัน ทำให้การเจริญเติบโตของพืชไม่เต็มที่ ให้ผลผลิตลดต่ำลง หากเกษตรกรนำเศษวัสดุทางการเกษตรที่มีอยู่มาทำปุ๋ยหมัก จะทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้ประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ประกาศให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าเป็นวาระจังหวัดเชียงใหม่มาตั้งแต่ ปี 2555 เพื่อแก้ไขวิกฤตสถานการณ์หมอกควันดังกล่าว

752034

“นอกจากการรณรงค์ไม่ให้มีการเผาในพื้นที่การเกษตรแล้ว กระทรวงเกษตรฯ ยังบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในสังกัด ในการนำเศษวัสดุทางการเกษตรกลับมาใช้ประโยชน์ อีกทั้งยังมอบหมายกรมปศุสัตว์ในการรับซื้อวัสดุทางการเกษตรดังกล่าว เพื่อนำมาเป็นอาหารสัตว์ ถือเป็นสร้างรายได้อีกทางหนึ่งให้เกษตรกร นอกจากนี้ ยังบูรณาการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ในการแก้ไชปัญหาราคาข้าวโพดตกต่ำ โดยรณรงค์ให้เกษตรกรการปรับเปลี่บนจากการปลูกข้าวโพดเป็นปลูกพืชชนืดอื่นที่มีรายได้ที่ดีกว่าเดิม” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

752036
752035
752033
752040
752038
752041
752042
752046
752043