นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ประจำวันนี้ (30 ม.ค.) ถึงข้อสังการของนายกรัฐมนตรีว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชกำหนดว่าด้วยการประมง ซึ่งเคยออกมาเพื่อตอบสนองต่อสหภาพยุโรป ที่กล่าวหาการประมงไทยมีปัญหามาก แต่เนื้อหากฎหมายไม่ละเอียด ไม่แบ่งแยกประมงพาณิชย์ และประมงพื้นบ้าน แต่เหมารวม เมื่อใช้บังคับจึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้านกว่า 600,000 ครัวเรือน ดังนั้น รัฐบาล จึงได้เสนอแก้ไขพระราชกำหนดว่าด้วยการประมง ที่จะต้องป้องกันประมงพื้นบ้าน ไม่ให้ได้รับผลกระทบไปด้วย โดยมุ่งเน้นการรักาษาสมดุลระหว่างการเอาผิดกับผู้ทำผิดกติกานานาชาติ และจะต้องธำรงวิถีชีวิตการทำกินของประมงพื้นบ้านด้วย
โดยหลักการสำคัญในกาขึ้นทะเบียนประมงพื้นบ้าน จะต้องเป็นชาวสัญชาติไทยเท่านั้น และการเอาผิดจะต้องไม่มีการริบเรือประมงพื้นบ้าน แต่สามารถพักใบอนุญาตได้ และลงโทษเรือประมงพื้นบ้านเป็นลำ ๆ ไป รวมถึงเรือขนาด 10-15 ตัน ให้สามารถโอนให้ทายาทได้ และจะต้องรายงายสถิติการทำประมงภายใน 31 ธันวาคมของปีถัดไป เพื่อคุ้มครองชาวประมงชาวฝั่ง ให้ได้รับผลกระทบจากมาตรการเอาผิดผู้ละเมิด IUU น้อยที่สุด แต่ยังคงเน้นการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อรักษากติกานานาชาติเอาไว้
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้ขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปศึกษารายละเอียดอีกครั้งว่ ยังมีรายละเอียดใดขัด หรือแย้งต่อกฎหมาย IUU ซึ่งเป็นกฎหมายสากลหรือไม่