ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2022 มีบทบาทสําคัญในการกระตุ้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสมาชิก ช่วยให้ผู้ประกอบการมะพร้าวน้ำหอมของไทยส่งออกมะพร้าวน้ำหอมไปยังประเทศจีนได้มากขึ้น
จังหวัดราชบุรีเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวน้ำหอมที่สําคัญของประเทศไทย ผู้จัดการโรงงานแปรรูปมะพร้าวระบุว่า ร้อยละ 80 ของมะพร้าวน้ำหอมถูกส่งออกไปยังประเทศจีน โดยโรงงานได้นําเครื่องจักรจากประเทศจีนมาผลิตมะพร้าวด้วย
มะพร้าวน้ำหอมมีจุดเด่นคือมีกลิ่นหอม ปริมาณน้ำตาลสูง และเนื้อมะพร้าวละเอียด จึงมีคําสั่งซื้อจากจีนเพิ่มขึ้นทุกปี
พิทธวัช แซ่วัง รองประธานโรงงานแปรรูปมะพร้าวน้ำหอมกล่าวว่า ร้อยละ 50 ของมะพร้าวในประเทศจีนมาจากไทย ขณะนี้ รัฐบาลไทยกําลังส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรอย่างเต็มที่
จีนเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของไทย การค้าสินค้าเกษตรระหว่างจีนและไทยมีมูลค่าสูงถึง 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีค.ศ. 2022 โดยผู้ประกอบการไทยได้รับประโยชน์จาก RCEP คือ ลดต้นทุนการนําเข้าและมีโอกาสส่งออกมากขึ้
ตามข้อตกลงดังกล่าวสินค้ามากกว่าร้อยละ 90 ที่ซื้อขายในกลุ่ม RCEP จะทยอยปรับอัตราภาษีเป็นศูนย์ รวมถึงมะพร้าวไทยและน้ำมะพร้าว ทําให้การส่งออกสินค้าเกษตรไทยประโยชน์ และสร้างโอกาสในการทํางานให้กับเกษตรกรในพื้นที่มากขึ้น
หิรัญพัฒน์ ผดุงนึก เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวกล่าวว่า การนำเข้าและส่งออกมะพร้าวช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย และสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างมาก
ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ประกอบด้วย 15 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และคู่ค้า 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ธนาคารโลกระบุว่าความตกลงนี้ครอบคลุมประชากรโลกร้อยละ 30 ขนาดของเศรษฐกิจรวมกันเท่ากับร้อยละ 33 ของจีดีพีโลก
ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : CMG (China Media Group)