ศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมา สนับสนุนการลดต้นทุนการผลิตสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนครราชสีมา

ชาวนาหรือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ถือเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ปัจจุบันอุตสาหกรรมการส่งออกข้าวของประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆของโลก และข้าวยังเป็นหนึ่งในอาหารหลักและเป็นแหล่งโภชนาการสำคัญของคนไทยส่วนใหญ่ ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งมีการปลูกมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากข้าวโพด แต่เนื่องจากในปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกข้าวของไทยหรือชาวนาไทยยังต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจต่าง ๆ ทำให้ราคาข้าวถูกลงแต่ราคาต้นทุนในการผลิตต่างๆแพงสวนทางกัน ทางกรมการข้าวจึงได้ริเริ่มโครงการสนับสนุนการลดต้นทุนในการผลิตข้าวให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพื่อให้ชาวนามีคุณภาพชีวิตและการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C 3
ศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมา

คุณฉัตรชัย วรเวทย์มงคล นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมา กล่าวว่าโครงการที่ทางศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมาได้มีการสนับสนุนและถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรในปีงบประมาณ 2566 ได้แก่โครงการ 1 อำเภอ 1 แปลงอัจฉริยะโดยมีเป้าหมายในการทำแปลงต้นแบบหรือแปลงสาธิต เพื่อเป็นต้นแบบให้เกษตรกรได้ศึกษาเรื่องเทคโนโลยีต่างๆและนำไปลดต้นทุนในการผลิตข้าวในแปลงของตนเอง การทำแปลงอัจฉริยะสำหรับการลดต้นทุน เริ่มต้นจากการปรับพื้นที่แปลงนาด้วยการสายตาและประสบการณ์แต่เนื่องด้วยใช้เวลานานและแปลงนาไม่เรียบมีความสูงต่ำไม่เท่ากัน จึงมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เป็นการปรับพื้นที่ด้วยเลเซอร์ช่วยให้มีความแม่นยำมากขึ้น การปรับพื้นที่แปลงนาให้ราบเรียบช่วยลดต้นทุนในการผลิตเนื่องจากแปลงนาที่ราบเรียบจะทำให้ประหยัดเวลาและค่าน้ำมันในการสูบน้ำเข้าแปลงนา และนาที่ราบเรียบทำให้ได้ผลผลิตที่ดีทั่วทั้งแปลงนาข้าวเพราะจะทำให้สูบน้ำไปเลี้ยงข้าวได้อย่างสม่ำเสมอน้ำไม่ท่วมข้าวทำให้ข้าวไม่เสียหายเป็นการลดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกร

%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C 1 1
ศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมา

คุณทองม้วน พาจันทึก ประธานศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโนนกระสัง กล่าวว่าในแต่ละฤดูกาลของการทำนาต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายต่างๆมากมาย ได้แก่ ค่ารถไถ ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่ารถเกี่ยวและค่าน้ำมันในการสูบน้ำ เนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูงทำให้ในการทำนาแต่ละครั้งหลังจากหักค่าใช้จ่ายไม่ค่อยเหลือกำไร และเนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่ราบ ทำให้เกิดปัญหาระดับน้ำในแปลงข้าวไม่เท่ากัน จึงเกิดปัญหาอยู่2อย่างคือไม่ท่วมก็แล้ง ทางศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมาจึงเข้ามาช่วยเหลือดูแลโดยการใช้เทคโนโลยีการปรับพื้นที่ด้วยเลเซอร์เพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ลาดเอียง เมื่อพื้นที่แปลงนาราบเรียบไม่ลาดเอียงจะทำให้การสูบน้ำลงแปลงนาง่ายขึ้นใช้เวลาไม่มากประหยัดค่าน้ำมันและแปลงนาไม่เสียหาย ได้ผลผลิตที่ดี เนื่องจากน้ำไม่ท่วมข้าวและไม่เจอปัญหาดินแห้งข้าวตายเพราะน้ำไปหล่อเลี้ยงได้ทั่วแปลงนา เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายลดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มผลผลิตให้ดีขึ้น

%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C 2 1
ศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมา

การปรับพื้นที่แปลงนาให้ราบเรียบจากโครงการสนับสนุนการลดต้นทุนในการผลิตให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีการทำนาที่ง่าย ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมข้าวและน้ำแล้ง ทำให้ข้าวตายในจุดที่พื้นที่มีความสูงหรือต่ำมากกว่าจุดอื่น การใช้เทคโนโลยีเข้าการปรับพื้นที่แปลงนาข้าวเข้ามาช่วย ทำให้เกษตรกรลดต้นทุนได้ทั้งในเรื่องของการสูบน้ำลงแปลงนาง่ายขึ้นเพราะพื้นที่แปลงนาเสมอทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้นข้าวไม่เสียหาย นับเป็นการลดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกร