เจาะลึก แปลงใหญ่สตรอว์เบอร์รีตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่จากผลิตเพื่อบริโภค สู่เกษตรเชิงการค้า

S 10084381

อำเภอสะเมิงมีพื้นที่ทั้งหมด 629,107.59 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ ประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด และเป็นพื้นที่ราบร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่การใช้ประโยชน์ของอำเภอสะเมิง เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 23,609 ไร่ หรือ ร้อยละ 3.75 ของพื้นที่ทั้งหมด เกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก แต่มีการปลูกไว้เพื่อรับประทาน และมีพืชสตรอว์เบอร์รีเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้เกษตรกร จึงมีรายได้จากการปลูกสตรอว์เบอร์รีเป็นรายได้หลัก และมีการประกอบกิจกรรมทางการเกษตรอื่นๆ เช่น กระเทียม ถั่วเหลือฝักสด

S 10084373

การจัดพื้นที่ Zoning ดังนี้ พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) 30,546.15 ไร่ เหมาะสมสูง (S1) 0 ไร่ เหมาะสมปานกลาง (S2) 1,672.89 ไร่ เหมาะสมน้อย (S3) 4,855.43 ไร่ และพื้นที่ป่า 592,033.12 ไร่

S 10084379

แนวทางการพัฒนา : สำนักงานเกษตรอำเภอสะเมิง ได้จัดตั้ง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่สตรอว์เบอร์รี ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่”เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน โดยมีที่ตั้งและที่ทำการอยู่ที่ เลขที่ 103/5 หมู่ที่ 5 บ้านบ่อแก้ว ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มดังกล่าวมีเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพและสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสินค้าเกษตรโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต การจัดการคุณภาพมาตรฐาน การตลาด/แปรรูป และการบริหารจัดการปลูกสตรอว์เบอร์รี เพื่อผลิตสินค้าที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานตามความต้องการของผู้บริโภค และพัฒนาสินค้าเกษตรและปรับเปลี่ยนระบบการผลิตสินค้าเกษตรให้มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้

S 10084375

สมาชิกแปลงใหญ่ เกษตรกรในพื้นที่ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง เดิมมีการปลูกข้าวเพื่อบริโภค โดยสำนักงานเกษตรอำเภอสะเมิงได้ไปถ่ายทอดความรู้เรื่องการเพาะปลูกพืชตามหลักความเหมาะสมของพื้นที่ Zoning โดยพื้นที่ตำบลบ่อแก้ว ตามการวิเคราะห์สภาพทางกายภาพและภูมิอากาศ จัดอยู่ในพื้นที่เหมาะสมน้อย และไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว ( S3 และ N) แต่ด้วยพื้นที่ตำบลบ่อแก้วนี้มีความเหมาะสมสำหรับการปลูกสตรอว์เบอร์รีซึ่งตามฐานข้อมูลของสำนักงานเกษตรอำเภอสะเมิง และสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอสะเมิงมีพื้นที่ปลูกสตรอว์เบอร์รี 4,142 ไร่ เกษตรกร 742 ราย ซึ่งเป็นพื้นที่มากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่

การดำเนินกิจกรรมก่อนได้รับการส่งเสริมในรูปแบบแปลงใหญ่

เดิมทีเกษตรกรมีการปลูกข้าวไว้เพื่อการบริโภค ไม่ได้มุ่งเน้นเพื่อการทำการเกษตรเชิงการค้าแต่โดยพื้นฐานของเกษตรกรมีพื้นที่ประกอบกิจกรรมการเกษตรเพาะปลูกสตรอเบอรี่ควบคู่อยู่แล้ว เนื่องจากช่วงเวลาในการเพาะปลูกอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันหรือใกล้กัน ทำให้เกษตรกรต้องแบ่งพื้นที่ปลูกสตรอว์เบอร์รี

S 10084378

ภายหลังได้มีรับการส่งเสริมการเกษตร ให้เกษตรกรเข้ามาเรียนรู้ เพื่อพัฒนาต่อยอดผลผลิตของตนเองมาตลอด เช่น โครงการส่งเสริมสตรอว์เบอร์รีแบบยั่งยืน โครงการศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร

การดำเนินกิจกรรมหลังได้รับการส่งเสริมในรูปแบบแปลงใหญ่

สมาชิกแปลงใหญ่สามารถนำหลักการปลูกสตรอว์เบอร์รีที่ถูกต้องตามหลักวิชาการที่ได้รับการถ่ายทอดของหน่วยงานที่มาบูรณาการในพื้นที่(SC) ภายใต้ศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หมู่ 5 ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ สมาชิกแปลงใหญ่มีการลดการใช้สารเคมีโดยหันมาใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีโดยได้รับการถ่ายทอดความรู้ทั้งวิธีการใช้และวิธีการผลิตจาก ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่ การปรับปรุงบำรุงดิน จากสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ และกรรมวิธีสำคัญที่สุดที่ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพคือการผลิตไหลสตรอว์เบอร์รีปลอดโรค ซึ่งได้รับองค์ความรู้จากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรจังหวัดลำพูน (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) และได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ในด้านการให้แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ปัจจัยด้านการปรับปรุงบำรุงดิน และอื่นๆ

S 10084369

จากการวิเคราะห์การผลิตสตรอว์เบอร์รี ในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งสมาชิกจำเป็นต้องแสวงหากำไรสูงสุด เพื่อเป็นผลตอบแทนต่อการทำงาน และกำไรที่สมเหตุสมผลนั้น ก็เป็นรางวัลที่สังคมมอบให้ที่สมาชิกแปลงใหญ่ได้ปฏิบัติตาม(CSR) โดยไม่ทำลายทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและให้สิ่งที่ดีกับสังคม ปัจจุบัน มีสมาชิกแปลงใหญ่ จำนวน 50 คน ได้ใบรับรองมาตรฐานสินเกษตร GAP ผลิตเป็นสินค้าที่ปลอดภัย/อินทรีย์ สนับสนุนการแปรรูปผลผลิตในช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด และตกเกรด พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และบรรจุภัณฑ์ สร้างตราสินค้า เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน

การตลาดและการจำหน่าย

ผลผลิตสตรอว์เบอร์รีจะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงกลางเดือนเมษายน โดยในแต่ละปีจะมีสตรอว์เบอร์รีจากอำเภอสะเมิงออกสู่ตลาด 8,000 – 11,000 ตัน ราคาเฉลี่ยตันละ 30,000 บาท คิดเป็นมูลค่า 225 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีสามารถจำหน่ายผลผลิตสตรอว์เบอร์รีได้หลายช่องทาง ได้นี้

1) จำหน่ายผลผลิตโดยตรงให้ผู้บริโภคในรูปผลสด โดยการตั้งร้านริมทางหรือใกล้แปลง ให้ลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวเก็บผลผลิตโดยตนเอง

2) จำหน่ายผ่านผู้รวบรวมผลผลิต ซึ่งมีจุดรับซื้อผลผลิตสตรอว์เบอร์รี 10 จุด กระจายอยู่ในตำบลบ่อแก้ว เนื่องจากตำบลบ่อแก้วเป็นแหล่งผลิตสตรอว์เบอร์รีที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอ แล้วส่งต่อให้พ่อค้าขายปลีก จากพ่อค้าขายปลีกส่วยหนึ่งจะส่งไปจำหน่ายให้ผู้บริโภคสด อีกส่วนหนึ่งส่งเข้าโรงงานแปรรูป

3) จำหน่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่รับผลผลิตสตรอว์เบอร์รีเพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สตรอว์เบอร์รีต่างๆ เช่น น้ำสตรอว์เบอร์รี่ ไวน์สตรอว์เบอร์รี สตรอว์เบอร์รีอบแห้ง แยม และอื่นๆ

โดยราคาของผลผลิตสตรอว์เบอร์รีเกษตรกรไม่สามารถกำหนดราคาผลผลิตเองได้ ซึ่งราคาของผลผลิตเป็นไปตามกลไกลของตลาด การจำหน่ายในพื้นที่ สมาชิกแปลงใหญ่ส่วนใหญ่จำหน่ายให้กับโบร๊คเกอร์ในพื้นที่หรือพ่อค้าคนกลางที่ตั้งจุดรับซื้อในพื้นที่ ซึ่งจะส่งต่อไปยังตลาดในตัวเมืองเชียงใหม่ แผงขายที่ขายข้างทางในเส้นทางสายเอเชีย เชียงราย และต่างจังหวัดหลายๆจังหวัด ที่สำคัญที่สุดจะส่งขายที่ตลาดไท และปากคลองตลาด

ทั้งนี้การจัดการยังเป็นรูปแบบของธุรกิจแต่ในทางกลับกันทั้งผู้ปลูกและผู้รวบรวมผลผลิตต่างก็เป็นสมาชิกแปลงใหญ่สตรอว์เบอร์รี สำหรับผลผลิตแปรรูปก็เช่นเดียวกัน ภายหลังจากมีการจำหน่ายผลผลิตสด ช่วงท้ายการผลิตสมาชิกแปลงใหญ่จะเก็บผลผลิตจำหน่ายเพื่อการแปรรูป ซึ่งตลาดที่รับซื้อผลผลิตแปรรูป ตลาดโครงการหลวงอ่างขาง วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสตรอว์เบอร์รี บ้านบ่อแก้ว วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร บ้านหาดส้มป่อย และตลาดโรงงานในกรุงเทพฯ

S 10084371

การผลิตสตรอเบอรี่ในอำเภอสะเมิง พบว่าส่วนใหญ่ผลผลิตสตรอเบอรี่ ร้อยละ 90 จะส่งเข้ากรุงเทพมหานคร เพื่อจำหน่ายเป็นผลรับประทานสด นอกจากนั้นจะทำการส่งเข้าโรงงานเพื่อแปรรูป ประมาณ ร้อยละ 5 และเกษตรกรจำหน่ายเองให้กับนักท่องเที่ยวอีกร้อยละ 5 ผลผลิตสตรอเบอรี่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมาก เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี หอม จะมีราคาค่อนข้างแพงในช่วงผลผลิตเริ่มออกใหม่ และด้วยผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกมากขึ้น อาจจะมีปัญหาด้านราคาเล็กน้อย เพราะเมื่อประมาณอุปทานมาก อุปสงค์เท่าเดิมหรือลดลง ทำให้ราคาผลผลิตลดลง

ปัจจุบันการแปรรูปสตรอเบอรี่ มีผลิตภัณฑ์มากมายที่ทำจากสตรอเบอรี่ ได้แก่ น้ำสตรอเบอรี่ แยมสตรอเบอรี่ สตรอเบอรี่อบแห้ง เหล้าสตรอเบอรี่ ไวน์สตรอเบอรี่ และอื่นอีกมากมาย แต่ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์บางชนิดยังผลิตไม่ได้มาตรฐานทั้งคุณภาพและรูปแบบผลิตภัณฑ์ แต่ก็มีหลายชนิดที่ได้ทั้งคุณภาพ รสชาติ