วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรรมชาววัง จ.ปราจีนบุรี แหล่งปลูกมะระขี้นกอินทรีย์ สินค้าเกษตรมูลค่าสูง

458453866 818846830421655 8309133344175526125 n

นางสาวนริศรา เอี่ยมคุ้ย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตเข้าสู่ระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2566 – 2570 ซึ่งผลผลิตเกษตรอินทรีย์นับเป็นวัตถุดิบที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพ สามารถพัฒนาและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่มีมูลค่าสูง โดยสอดคล้องกับการขับเคลื่อนสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง “1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง” ที่มุ่งสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในท้องถิ่น

458397259 818847007088304 1222985562439822331 n

มะระขี้นกอินทรีย์ ตำบลวังท่าช้าง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการคัดเลือกในการผลักดันให้เป็นสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่ง สศท.6 ได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาเกษตรอินทรีย์สินค้ามะระขี้นกอินทรีย์ กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรรมชาววัง ตำบลวังท่าช้าง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จากการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลของเกษตรกรสมาชิกกลุ่ม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ พบว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรรมชาววัง ปลูกมะระขี้นกแบบอินทรีย์ปราศจากการใช้สารเคมี ผ่านการรับรองมาตรฐาน Organic Thailand โดยเริ่มดำเนินการปี 2564 ปัจจุบันมีสมาชิกเกษตรกร 60 ราย มีพื้นที่ปลูกมะระขี้นกอินทรีย์ รวมกว่า 400 ไร่ โดยในระยะเวลา 1 ปี สามารถปลูกได้ 2 – 3 รอบ ใช้ระยะเวลาการปลูกประมาณ 120 วัน และจะเริ่มเก็บผลผลิตได้หลังปลูก ประมาณ 45 วัน ซึ่งกลุ่มจะส่งเสริมให้สมาชิกปลูก 1-2 ไร่ ต่อรอบการผลิต เพื่อสามารถดูแลและบริหารจัดการผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

458

สถานการณ์การผลิตมะระขี้นกอินทรีย์ ปี 2566 พบว่า มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 34,497.38 บาท/ไร่/รอบการผลิต ปริมาณรวม 253 ตัน/ปี การผลิตมะระขี้นกอินทรีย์ 1 รอบ ในพื้นที่ 1 ไร่ จะได้ผลผลิตเฉลี่ย 3,607.21 กิโลกรัม โดยกลุ่มจะรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร ในราคา 15 บาท/กิโลกรัม ส่งผลให้เกษตรกรมีผลตอบแทนเฉลี่ย 54,108.15 บาท/ไร่/รอบการผลิต ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 19,610.77 บาท/ไร่/รอบการผลิต ซึ่งกลุ่มได้นำผลผลิตที่รับซื้อจากเกษตรกรสมาชิกมาคัดแยกคุณภาพ ล้างทำความสะอาด และนำเข้าเครื่องหั่นให้มีขนาดเท่าๆ กัน ก่อนจะนำเข้าสู่กระบวนการอบแห้ง และส่งจำหน่ายให้กับลูกค้า โดยจะจำหน่ายมะระขี้นกอินทรีย์แบบอบแห้ง ในราคา 220 บาท/กิโลกรัม ด้านสถานการณ์ตลาด กลุ่มมีการวางแผนการผลิตและการตลาด โดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต หรือผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า โดยร้อยละ 50 จำหน่ายสินค้าให้กับตลาดประเทศจีนและไต้หวัน รองลงมา ร้อยละ 49 จำหน่ายให้กับโรงงานผลิตยาสมุนไพรในประเทศ และอีกร้อยละ 1 จำหน่ายให้ผู้บริโภคในประเทศ โดยผลิตภัณฑ์จากมะระขี้นกอินทรีย์ส่วนใหญ่ของกลุ่มจะเป็นมะระขี้นกแบบอบแห้ง และจะมีมะระขี้นกแบบผงอัดแคปซูลบ้างเพียงเล็กน้อย โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP

4584

ทั้งนี้ นอกจากการลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว สศท.6 ยังได้มีการจัดประชุม Focus Group เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่อ (ร่าง) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาสินค้ามะระขี้นกอินทรีย์ ซึ่งพบว่า กลุ่มมีการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่การปลูกมะระขี้นกอินทรีย์ รวบรวมผลผลิต แปรรูป รวมทั้งจัดจำหน่ายซึ่งมีหลายปัจจัยที่สนับสนุนให้การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มขับเคลื่อนต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรมีการบริหารจัดการและแนวทางการพัฒนาส่งเสริมการขอการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์อื่น ๆ รวมถึงขอรับรองมาตรฐานแหล่งผลิต (สถานที่รวบรวมและโรงคัดบรรจุ) รสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาแหล่งน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำของเกษตรกรให้มีความเพียงพอต่อการเพาะปลูก ส่งเสริมให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่กลุ่มฯ มีศักยภาพในการผลิต หรือการจ้างผลิต (OEM) เพื่อนำไปสู่การรับรองมาตรฐานสินค้าได้ และสนับสนุนให้เกิดนักการตลาดของกลุ่มเพื่อช่วยในการแนะนำขายสินค้าและประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก โดยหลังจาก Focus Group สศท. 6 จะนำข้อมูลดังกล่าว รวมถึงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการระดมความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไปจัดทำแนวทางการพัฒนาสินค้ามะระขี้นกอินทรีย์ของกลุ่มให้มีความสมบูรณ์เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับเกษตรกรและหน่วยงานในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสินค้ามะระขี้นกอินทรีย์ต่อไปโดย สศท. 6 จะเผยแพร่ผลการศึกษาในช่วงปลายเดือนกันยายน 2567 หากท่านใดที่สนใจการศึกษาดังกล่าว สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 โทร 038-351398 หรืออีเมล์ [email protected]

458162378 818847070421631 7301898241397681862 n
45
4ม
458233
458414607