“ทุเรียนไทย” ถูกส่งไปถึงฉงชิ่ง ผ่านรถไฟจีน-ลาว ใช้เวลาเพียง 5 วันภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างจีนและไทย ภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง “RCEP”
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานับตั้งแต่มีการริเริ่มโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง จีนและไทยมีความร่วมมือระหว่างกันในหลายมิติ ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์จีนและคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนระบุว่า การค้าทวิภาคีระหว่างจีนและไทยในปีค.ศ. 2022 อยู่ที่ 135,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีก่อนในไตรมาสแรกของปีนี้ การลงทุนรวมของจีนในประเทศไทยสูงถึง 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือตามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมประชากรกว่าร้อยละ 30 ของประชากรโลก และมีปริมาณการค้าคิดเป็นร้อยละ 30 ของปริมาณการค้าของโลก ประกอบด้วย 15 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่ค้า 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ภายใต้กรอบความร่วมมือ RCEP ทุเรียนจากประเทศไทยถูกส่งไปถึงฉงชิ่งผ่านเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ใช้เวลาเพียง 5 วัน โดยจีนเป็นตลาดส่งออกทุเรียนไทยที่ใหญ่ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 96 ของการส่งออกทุเรียนทั้งหมดของประเทศ
ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีนยังช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “ไทยแลนด์ 4.0” โดยไทยกำลังพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่จะเชื่อมเครือข่ายรถไฟในภูมิภาคจากจีนไปถึงสิงคโปร์
โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเริ่มขึ้นเมื่อปีค.ศ. 2013 ริเริ่มโดยจีน มีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายการค้าและโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา
ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : CMG (China Media Group)