กรมทรัพย์สินทางปัญญาดัน “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” และ “ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” ข้าว GI ไทยขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในมาเลเซีย

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ผลักดัน “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง”และ“ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้” ขึ้นทะเบียน GI ในประเทศมาเลเซีย สร้างโอกาสส่งออกข้าวไทย สร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้ชาวนาไทยพร้อมหนุนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล เดินหน้าสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาหารของโลก

%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%94
“ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง”

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายสำคัญในการยกระดับซอฟต์พาวเวอร์ของไทยให้เข้มแข็ง ซึ่งสินค้า GI เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีอัตลักษณ์และมีศักยภาพแข่งขันในเวทีโลกกระทรวงพาณิชย์จึงมอบหมายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาเร่งเดินหน้าส่งเสริมสินค้า GI ไทยในทุกมิติ โดยเฉพาะการยื่นขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ เพื่อขยายตลาดและเพิ่มมูลค่าสินค้า ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญามาเลเซีย (MyIPO) ได้ประกาศขึ้นทะเบียน GI“ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” และ“ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้”ในประเทศมาเลเซียเรียบร้อยแล้ว

%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B4
“ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้”

ปัจจุบันมีสินค้า GI ไทยได้รับการขึ้นทะเบียนในต่างประเทศ รวม 8 รายการ ครอบคลุมกว่า 30 ประเทศ ได้แก่

1) ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ในสหภาพยุโรป จีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

2) ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงในสหภาพยุโรป มาเลเซียและอินโดนีเซีย

3) กาแฟดอยช้าง ในสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น

4) กาแฟดอยตุง ในสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และกัมพูชา

5) เส้นไหมไทย พื้นบ้านอีสาน ในเวียดนาม

6) ผ้าไหมยกดอกลำพูนในอินเดียและอินโดนีเซีย

7) มะขามหวานเพชรบูรณ์ ในจีน และเวียดนาม

และ 8) ลำไยอบแห้งเนื้อสีทองลำพูนในเวียดนาม โดยยังมีส้มโอทับทิมสยามปากพนังอีก 1 สินค้าที่มาเลเซียอยู่ระหว่างพิจารณา

download 4
ข้าวไทย ขึ้นทะเบียน GI ในมาเลเซีย

นายภูมิธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ชาวมาเลเซียบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยนิยมรับประทานเมนูนาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) ซึ่งเป็นข้าวที่หุงกับกะทิและใบเตย รับประทานคู่กับแกงและเครื่องเคียงต่าง ๆ มาเลเซียจึงนำเข้าข้าวจากต่างประเทศกว่าร้อยละ 30 ตามความต้องการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งข้าวไทยได้รับความนิยมในประเทศมาเลเซีย โดยในปี 2565 ไทยส่งออกข้าวไปประเทศมาเลเซีย มูลค่ากว่า 3,200ล้านบาท

โดย“ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้”ปลูกในฤดูนาปีบนพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ด้วยสภาพพื้นที่เป็นแอ่งกระทะขนาดใหญ่ ดินเป็นดินร่วนปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ความแห้งแล้งและความเค็มในดิน ส่งผลให้ข้าวเกิดความเครียดและหลั่งสารหอม ข้าวจึงมีความหอมตามธรรมชาติมากกว่าข้าวจากแหล่งอื่น โดยมีเมล็ดข้าวยาว เรียว ข้าวสารมีเมล็ดใสและแกร่ง เมื่อหุงสุกจะหอมและนุ่ม มีผลผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ รวม 5 จังหวัดกว่า 24,500 ตัน/ปีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55 บาท สร้างรายได้กว่า 266 ล้านบาท/ปี

download 5
ข้าวไทย ขึ้นทะเบียน GI ในมาเลเซีย

สำหรับ “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง”ปลูกในจังหวัดพัทลุงซึ่งเป็นที่ราบกว้างเหมาะสำหรับปลูกข้าว มีแหล่งน้ำจากทะเลสาบสงขลาหนุน และมีการทับถมของตะกอน ทำให้ข้าวสังข์หยดมีคุณภาพดีเมล็ดข้าวเรียวเล็ก อ่อนนุ่ม ข้าวกล้องมีสีแดงจนถึงแดงเข้ม ข้าวสารมีสีขาวปนแดงแกมชมพูเป็นเอกลักษณ์มีผลผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง 8,000 ตัน/ปี สร้างรายได้กว่า 104ล้านบาท/ปี

download 6
ข้าวไทย ขึ้นทะเบียน GI ในมาเลเซีย

กรมทรัพย์สินทางปัญญายังคงเดินหน้าส่งเสริมสินค้าGI ไทยขึ้นทะเบียน GI ในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการ GI สร้างรายได้ให้กับชุมชนและรายได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป