สมาคมที่เกี่ยวข้องกับการค้ามันสําปะหลัง ทั้ง 4 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมการค้ามันสําปะหลังไทย สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสําปะหลังไทย สมาคมแป้งมันสําปะหลังไทย และสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสําปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ดําเนินการสํารวจภาวะการผลิตและการค้ามันสําปะหลัง ฤดูการผลิตปี 2566/67 โดยมี กรมส่งเสริมการเกษตร สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมสังเกตการณ์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.ดําเนินการลงพื้นที่สํารวจ วันที่ 19 – 22 กรกฎาคม 2566, วันที่ 3 – 6 สิงหาคม 2566 และวันที่ 19 – 26 สิงหาคม 2566
2.พื้นที่สํารวจประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ซ่ึงเป็นแหล่งเพาะปลูกมันสําปะหลัง จํานวน 53 จังหวัด
3.คณะสํารวจฯได้ประเมินผลการสํารวจภาวะการผลิตและการค้ามันสําปะหลังฤดูการผลิตปี 2566/67 สรุปผลการสํารวจได้ ดังนี้
-พื้นที่เก็บเกี่ยวคาดว่า ลดลง จากปี 2565/66 จาก 9.024 ล้านไร่ เป็น 8.666 ล้านไร่ หรือร้อยละ 3.96 • ผลผลติ เฉล่ียต่อไร่คาดว่า ลดลง จากปี 2565/66 จาก 2.956 ตัน เป็น 2.847 ตัน หรือร้อยละ 3.69
-ผลผลิตรวมคาดว่า ลดลง จากปี 2565/66 จาก 26.676 ล้านตัน เป็น 24.669 ล้านตัน หรือร้อยละ 7.52
4.สถานการณ์การผลิต
พื้นที่เพาะปลูก คาดว่า ลดลง เมื่อเทียบกับฤดูการผลิตปี 2565/66 เนื่องจากตั้งแต่ต้นปี 2566 ประสบ สภาวะฝนทิ้งช่วงทําให้แห้งแล้งจัดและยาวนาน ทําให้ต้นมันสําปะหลังยืนต้นตาย บางส่วนที่ยังยืนต้นไม่สมบูรณ์และเสียหาย สืบเนื่องมาจากเกษตรกรใช้ท่อนพันธุ์ไม่สมบูรณ์มาปลูก และยังประสบปัญหาขาดแคลนท่อนพันธุ์ที่จะปลูก ทําให้เกษตรกร ปรับเปลี่ยนไปปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยูคา แทนพื้นที่เพาะปลูกมันสําปะหลัง
ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ คาดว่า ลดลง เมื่อเทียบกับฤดูการผลิตปี 2565/66 เนื่องจากสภาพอากาศที่แล้งจัด และจากการขาดแคลนท่อนพันธุ์ เกษตรกรใช้ท่อนพันธ์ุท่ีไม่ครบอายุและติดโรคใบด่างมาปลูก ทําให้การเจริญเติบโตของ ต้นมันสําปะหลังไมส่มบูรณ์และพบว่ามีการระบาดของโรคใบด่างมันสําปะหลังเพิ่มมากขึ้นรวมถึงการเกิดโรคพุ่มแจ้และ โรคไรแดง ในบางพื้นที่ ประกอบกับราคาที่จูงใจทําให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวหัวมันสําปะหลังก่อนครบอายุออกมาจําหน่าย
ข้อสังเกต
ปริมาณผลผลิตที่คาดการณ์จากการสํารวจฯ อาจมีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยนี้
-จากสภาพแห้งแล้งยาวนาน เกษตรกรใช้พันธุ์มันสําปะหลังที่ไม่ครบอายุและติดโรคมาเพาะปลูก อีกทั้งการระบาด ของโรคใบด่างมันสําปะหลังยังควบคุมไม่ได้ ทําให้ความรุนแรงครอบคลุมไปทั่วทุกพื้นที่ ส่งผลให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ อาจลดลงจากที่คาดการณ์ไว้
ปัญหา
-เกษตรกรส่วนใหญ่เร่งเก็บเกี่ยวมันสําปะหลังก่อนครบอายุ ทําให้ได้หัวมันที่ไม่มีคุณภาพ เปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งต่ำ และผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ลดลง
-จากภาวะภัยแล้งที่ยาวนานเกษตรกรต้องปลูกซ่อมหลายรอบและท่อนพันธ์ุทเี่ตรียมไว้จะเพาะปลูกเสียหายยืนต้นตาย จึงทําใหท้่อนพันธุ์ขาดแคลนส่งผลให้มีราคาสูงขึ้น
-เกษตรกรบางพื้นที่ยังขาดความเข้าใจถึงผลกระทบที่จะได้รับความเสียหายจากโรคใบด่าง จึงไม่กล้าให้ข้อมูลว่าพบ โรคใบด่างในแปลง เนื่องจากเกรงว่าต้นมันสําปะหลังจะถูกทําลายโดยไม่ได้รับการชดเชย ทําให้ไม่สามารถควบคุม การระบาดได้
-พบการระบาดของโรคพุ่มแจ้ โรคไรแดง เพิ่มมากขึ้น ทําให้มันสําปะหลังไม่เจริญเติบโต ผลผลิตต่ำ
-พันธุ์มันสําปะหลังที่ทนทานต่อโรคไม่เพียงพอ เช่น พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 , ห้วยบง 60 , ระยอง 72 และระยอง 90 ทําให้เกษตรกรยังคงใช้พันธ์ุมันสําปะหลังที่อ่อนแอต่อโรค เช่น พันธ์ุ CMR 89 , ระยอง 11 เป็นต้น
-ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรมีราคาสูงขึ้น อาทิ ค่าท่อนพันธุ์มันสําปะหลัง, ค่าเช่าที่ดิน เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
-ภาครัฐและภาคเอกชน ต้องส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พันธุ์มันสําปะหลังที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการ และ ให้เกษตรกรเก็บพันธุ์มันสําปะหลังที่มีคุณภาพไว้ในแปลงเพื่อใช้ปลูกในฤดูกาลถัดไป
-ภาครัฐและภาคเอกชน ควรหาแนวทางในการช่วยเหลือสนับสนุนท่อนพันธ์ุมันสําปะหลังสะอาดให้แก่เกษตรกร เพื่อให้ มีเพียงพอและทดแทนพันธุ์มันสําปะหลังที่ติดโรคในฤดูกาลต่อ ๆ ไป