ชาวสวน ระวัง เพลี้ยแป้งในน้อยหน่า

เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญพบระบาดทำความเสียหายต่อน้อยหน่าในแหล่งปลูกทั่วไป เพลี้ยแป้ง จะเข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน ช่อดอก และผลน้อยหน่า หากระบาดรุนแรงจะทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเหี่ยวแห้งไปในที่สุด และเพลี้ยยังถ่ายมูลซึ่งเป็นน้ำหวานออกมาเป็นแหล่งเพาะราดำ ทำให้น้อยหน่าเสียคุณภาพ ซึ่งเพลี้ยแป้งจะเคลื่อนย้ายจากพื้นดินขึ้นบนต้นน้อยหน่าตั้งแต่ระยะแทงตาดอกจนถึงผลแก่ โดยมีมดเป็นพาหะพาไปยังส่วนต่างๆ ของต้น ทำให้การระบาดของเพลี้ยแป้งรุนแรงขึ้น

%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%871
ระวัง เพลี้ยแป้งในน้อยหน่า

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. หากพบเพลี้ยแป้งระบาดเล็กน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายทิ้งเสีย

2. เมื่อพบเพลี้ยแป้งปริมาณน้อยบนผลทุเรียนใช้แปลงปัด หรือใช้น้ำพ่นให้เพลี้ยแป้งหลุดไปหรือการใช้น้ำผสม white oil อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยในการกำจัดเพลี้ยแป้งได้ดี

3. ฉีดพ่นสารอิมิดาโคลพริด70% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยเลือกใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่ง และควรพ่นสารติดต่อกัน 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน