ชาวสวนยาง ระวัง แมลงกระเบื้องระบาดในสวนยางพารา กรมวิชาการเกษตรแนะการกำจัดแมลงกระเบื้อง

แมลงกระเบื้อง มีลักษณะเป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวส่วนใหญ่ดำ เข้าปกคลุมต้นยางตั้งแต่เหนือโคนต้นขึ้นไป และกระจายตัวอยู่รอบบริเวณพื้นดินสร้างความกังวลให้แก่ชาวสวนยางพาราและไม่สามารถกรีดยางได้เนื่องจากแมลงเข้าปกคลุมหน้ากรีด รวมทั้งก่อความรำคาญในขณะกรีดยางในช่วงเวลากลางคืน

สำหรับการเข้าทําลายของแมลงกระเบื้องจะเข้าทําลายพืชที่ตนเองอาศัย โดยเข้าไปกัดกินรากของต้นไม้ในระยะต้นกล้า ส่งผลให้ต้นกล้ายืนต้นตาย

ทั้งนี้วงจรชีวิตของแมลงกระเบื้อง ประมาณเดือนกว่า ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้ 6-7 เดือน แมลงชนิดนี้กินของเน่าเปื่อย ผุพัง เป็นอาหาร ระยะหนอนมีชีวิตอยู่ในดิน ในช่วงฤดูฝน คือเดือนมิถุนายน-เดือนสิงหาคมซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศชุ่มชื้น การกำจัดใช้สารเคมีในแปลงเกษตรกร แนะนำให้ ใช้สารเคมี คาร์บาริล อัตราการใช้ 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน อัตราการใช้ 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87
แมลงกระเบื้อง

การกำจัดแมลงกระเบื้อง

การกำจัดแมลงกระเบื้องมี 2 วิธี คือวิธีถาวรและวิธีชั่วคราว วิธีกำจัดอย่างถาวร ให้ใช้สารเคมีที่มีชื่อว่าสารไพรีทรอยด์ชนิดไซฟลูทริน 1.5%, เดลตามิทริน 0.5% หรือซัยเปอรมิทริน 5% เป็นต้น สารเหล่านี้เป็นสูตรน้ำมันละลายน้ำ หรือสูตรอีซี (EC) ซึ่งเป็นสารที่กระทรวงสาธารณสุขใช้ในการพ่นยุงตามปกติทั่วไป โดยผสมสารกับน้ำสะอาดในอัตราเดียวกับที่ใช้พ่นยูแอลวีกำจัดยุงลาย คือหากใช้สารชนิดไซฟลูทริน หรือชนิดซัยเปอร์มิทรินใช้ 1 ส่วนต่อน้ำ 3 ส่วน ถ้าเป็นชนิดเดลตามิทรินใช้ 1 ส่วนต่อน้ำ 9 ส่วน แล้วนำไปฉีดพ่นโดยใช้เครื่องพ่นแบบสูบอัดลมหรือแบบถังโยกก็ได้ โดยพ่นให้ละอองน้ำยาตกลงถูกตัวด้วง หรือพ่นบนพื้นผิวแหล่งที่อยู่อาศัยของด้วง เพื่อฆ่าระยะตัวหนอนด้วย โดยพ่นในปริมาณ 50 มิลลิลิตร ต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตร เมื่อสารถูกตัวด้วงจะตายภายใน 24 ชั่วโมงและมีฤทธิ์ตกค้างบนผนังอาคาร บ้านเรือน ประมาณ 6 เดือน ด้วงจะได้ไม่มาเกาะอีก สารเคมีดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยง

%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87 1
สภาพต้นยางพาราที่ถูกแมลงกระเบื้องเข้าทำลาย

อย่างไรก็ดี เมื่อพ่นสารใหม่ ๆ ไม่ควรให้เป็ดไก่หรือสัตว์อื่นเข้ามาหากินใกล้ ๆ พื้นที่พ่นจนกว่าจะแห้งดีแล้ว และสามารถพ่นซ้ำได้ทุก 6 เดือน