สภาพอากาศร้อนจัด มีฝนและมีลมกรรโชกแรง กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงเฝ้าระวัง โรคแอนแทรคโนส แมลงวันผลไม้ และมะม่วงหล่นก่อนเก็บเกี่ยวหรือต้นโค่นล้มจากพายุฤดูร้อน
1.โรคจุดดำ หรือโรคแอนแทรคโนส (เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides)
เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต โดยมีลักษณะอาการ ดังนี้
อาการที่ใบ ใบอ่อนพบจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นแผลสีน้ำตาลดำ หากอาการรุนแรง แผลจะขยายตัวอย่างรวดเร็วติดต่อกันทั้งผืนใบ ทำให้ใบบิดเบี้ยว เสียรูปทรง ยอดอ่อนเหี่ยวและดำ ส่วนใบแก่พบแผลรูปร่างค่อนข้างเหลี่ยม หากอาการรุนแรง แผลจะทะลุเป็นรู
อาการที่ช่อดอก พบจุดหรือขีดสีน้ำตาลแดงเล็ก ๆ บนก้านช่อดอก ต่อมาแผลขยายใหญ่ หากมีความชื้นสูงจะพบเมือกสีส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อรา สาเหตุโรคอยู่ที่บริเวณแผล ทำให้ช่อดอกเหี่ยวแห้ง ดอกหลุดร่วงก่อนติดผล
อาการที่ผลอ่อน พบจุดแผลสีน้ำตาลดำ ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม ผลที่ถูกทำลายจะเป็นสีดำและหลุดร่วงก่อนกำหนด ในบางครั้งเชื้อสาเหตุโรค เข้าทำลายแบบแฝงในผลอ่อน โดยไม่แสดงอาการของโรค แต่จะแสดงอาการของโรคเมื่อผลสุก และอาการรุนแรงมากขึ้นตามความสุกของผล
อาการที่ผลแก่ หรือผลสุกหลังเก็บเกี่ยว พบจุดแผลสีดำเล็กๆ ต่อมาแผลขยายลุกลามและยุบตัวลง ถ้ามีหลายแผลขยายมาติดกัน ขนาดของแผลจะกว้างขึ้นและยุบตัวเป็นแอ่งบุ๋ม ทำให้เน่าทั้งผล บางครั้งพบเมือกสีส้มซึ่งเป็นกลุ่มสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรคอยู่ที่บริเวณแผล
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบพืชเริ่มมีอาการของโรค ตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค
2. กำจัดวัชพืชรอบโคนต้น เพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม
3. ควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้เหมาะสม ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนมากเกินไป
4. แหล่งปลูกที่พบการระบาดของโรคเป็นประจำ ในช่วงที่มะม่วงแตกใบอ่อน เริ่มแทงช่อดอก และหลังติดผลอ่อน ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะซอกซีสโตรบิน 25% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรคลอราซ 45% EC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 – 10 วัน แต่ไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันเกิน 4 ครั้ง ในช่วงที่มะม่วงติดผล หากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค คือ มีฝนตกและอากาศร้อนชื้น ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชดังกล่าว เพื่อป้องกันการระบาดของโรค และควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต ไม่น้อยกว่า 15 วัน
5. หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง โดยเฉพาะกิ่งที่เป็นโรค และเก็บส่วนที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคในฤดูกาลผลิตต่อไป
2.แมลงวันผลไม้
เพศเมียใช้อวัยวะวางไข่ แทงเข้าไปในผล ตัวหนอนที่ฟักจากไข่ จะอาศัย และชอนไชอยู่ภายใน ทาให้ผลเน่าเสีย และร่วงหล่น ลงพื้น ตัวหนอนจะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดินแล้วจึงออกเป็นตัวเต็มวัย แมลงวันผลไม้วางไข่ในผลไม้สุก และมีเปลือกบาง ในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยาก อาจพบอาการช้าบริเวณใต้ผิว-เปลือก เมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ผลเน่าเละ และมีน้ำไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ ผลที่ถูกทาลายนี้มักจะมีโรคและแมลงชนิดอื่นๆ เข้าทาลายซ้ำ
แนวทางป้องกัน
1. ทำความสะอาดแปลงเพาะปลูกโดยการรวบรวมทำลายผลไม้ที่เน่าเสียจากแมลงวันผลไม้เข้าท้าลาย
2. ห่อผลด้วยถุงกระดาษสีน้้าตาล หรือถุงกระดาษที่ภายในเคลือบด้วยกระดาษคาร์บอน โดยเริ่มห่อเมื่อมะม่วงติดผลได้อายุประมาณ 60 วัน
3. การใช้กับดักสารล่อเมทธิล ยูจินอล เพื่อเป็นตัวชี้วัดปริมาณแมลงวันผลไม้ในแปลงปลูก โดยใช้กับดักที่ภายในแขวนก้อนสำลีชุบสารเมทธิล ยูจินอล ผสมสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 57% อีซี ในอัตรา 4:1 แขวนในทรงพุ่มที่ระดับความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร จำนวน 1 กับดักต่อพื้นที่ 1 ไร่ หมั่นสังเกตปริมาณแมลงวันผลไม้ในกับดักทุกสัปดาห์ ถ้าพบว่ามีปริมาณแมลงวันผลไม้ในกับดักมากขึ้นให้พ่นสารฆ่าแมลงเพื่อลดปริมาณในแปลงปลูก
4. ใช้สารฆ่าแมลงไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อ น้ำ20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% ซีเอส อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อ น้ำ20 ลิตร พ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน เมื่อพบว่ามีการระบาดมาก
5. พ่นด้วยเหยื่อพิษที่ประกอบด้วยยีสต์โปรตีน อัตรา200มิลลิลิตร ผสมกับสารฆ่าแมลงมาลาไทออน 57% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรในน้ำ 5 ลิตร ทุก 7 วัน โดยพ่นแบบเป็นจุด ต้นละ 1-4 จุด ในเวลาเช้าตรู่ ควรเริ่มพ่นก่อนเริ่มท้าการเก็บเกี่ยวผลผลิต 1 เดือน
3. มะม่วงหล่นก่อนเก็บเกี่ยวหรือต้นโค่นล้ม
สาเหตุ มีลมกรรโชกแรงและพายุฝนฟ้าคะนอง
แนวทางป้องกัน
1. ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง
2. ควรปลูกไม้กันลมรอบ ๆ สวนมะม่วง