บิ๊กดาต้าสินค้าเกษตร

วันนี้มี “ข้อมูล” น่าสนใจมานำเสนอ เป็น “ข้อมูลสารสนเทศเชิงลึก” ด้านเศรษฐกิจการค้า ในส่วนของ “ระบบการบริหารจัดการสินค้าเกษตร” หรือเรียกกันว่า “แดชบอร์ด” สินค้าเกษตร

ระบบนี้ “สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค.” ซึ่งเป็นหน่วยงาน “มันสมอง” ของกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้คิดค้น

ที่มาของระบบดังกล่าว เป็นการดำเนินการตามนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ที่ “นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์” ได้กำหนดไว้ และมอบให้ “กระทรวงพาณิชย์” กับ “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ร่วมกันขับเคลื่อน “การสร้าง” และ “ใช้ข้อมูล” จากฐานเดียวกัน

ผลการดำเนินการที่ผ่านมา ได้พัฒนาเสร็จสิ้นแล้ว 6 สินค้า ได้แก่ มันสำปะหลัง ทุเรียน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ปาล์มน้ำมัน และยางพารา

%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99 9 scaled
มันสำปะหลัง

มีการนำข้อมูลไปเผยแพร่บน เว็บไซต์ “คิดค้า.com” รวมทั้งเชื่อมข้อมูล (Link Banner) เผยแพร่บน “เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ (www.moc.go.th)” และเว็บไซต์ “ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (www.nabc.go.th)” แล้ว 

%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2 20
ยางพารา

สำหรับแดชบอร์ด สามารถตรวจสอบได้มากมาย

เริ่มจากการตรวจสอบ “ข้อมูลการผลิต” โดยสามารถ “วิเคราะห์” สถานการณ์ “การผลิต” สินค้าเกษตรสำคัญระดับประเทศและระดับพื้นที่

%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A17
ปาล์มน้ำมัน

ตรวจสอบ “ราคาสินค้าเกษตร” โดยสามารถ “ติดตาม” ราคาสินค้าเกษตรสำคัญตลอดห่วงโซ่อุปทาน

%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87 1
ข้าว

ตรวจสอบ “การส่งออก” หรือ “การนำเข้า” โดยสามารถ “ติดตาม” สถานการณ์ส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรสำคัญปัจจุบันของไทย

%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C 9
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ตรวจสอบ “โอกาสส่งออก” และ “คู่แข่ง” โดยสามารถ “มองหา” โอกาสทางการค้าของสินค้าเกษตรสำคัญ และยังมีข้อมูล “การเตือนภัย” เพื่อเป็นการ “เฝ้าระวัง” ความเสี่ยงด้านราคา ตลาด และการผลิต โดยแสดงผล “การวิเคราะห์ข้อมูล” หลายแง่มุม และสามารถใช้งานได้ง่าย

%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99 24
ทุเรียน

แดชบอร์ดสินค้าเกษตรนี้ ทุกคนสามารถ “ใช้ได้” ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป เพื่อนำ “ข้อมูล” ไปใช้ในการวางแผนการผลิต การทำตลาด

หรือแม้แต่ “ผู้บริหาร” เรื่อยไปจนถึง “หน่วยงานของรัฐ” ที่สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการ “วางแผน” รับมือ หรือการกำหนด “นโยบายดูแล” ได้ด้วย

ล่าสุด ได้รับทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า สนค. กำลังอยู่ระหว่าง “การตรวจสอบ” ความถูกต้องอีก 3 สินค้า ได้แก่ สุกร ไก่เนื้อ กุ้งขาวแวนนาไม ซึ่งคาดว่าจะ “เผยแพร่” ได้ในช่วงเดือนมี.ค.2566 นี้

เท่ากับว่า จะมีสินค้าเกษตรสำคัญ ที่สามารถตรวจสอบผ่านแดชบอร์ดได้รวม 9 รายการ

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการ สนค.” กล่าวว่า คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการสร้างและใช้ข้อมูลจากฐานเดียวกัน หรือคณะอนุกรรมการ Single Big Data ที่มี ผอ.สนค. และเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เป็นประธานร่วมกัน และอยู่ภายใต้ “คณะกรรมการร่วมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต” ที่มี “ปลัดกระทรวงพาณิชย์” และ “ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” เป็นประธานกรรมการร่วม ได้มีการหารือจะจัดทำแดชบอร์ดสินค้าเกษตรเพิ่มเติมอีก 4 สินค้า ได้แก่ ได้แก่ 1.โคนม 2.ไก่ไข่ 3.ถั่วเหลือง และ 4.สับปะรด

ความคืบหน้าขณะนี้ คือ กำลัง “นำเสนอ” ร่างแบบแดชบอร์ด (Dashboard Mockup) ของทั้ง 4 สินค้า ต่อผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งจากหน่วยงานในกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาคเอกชน และสมาคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ “การนำเสนอข้อมูล” และ “การออกแบบการแสดงผล” สามารถ “ตอบโจทย์” ตรงตามความต้องการใช้งานของผู้ใช้งาน หาก “ทำสำเร็จ” ก็จะนำ “เผยแพร่” ต่อไป

ระบบ “แดชบอร์ดสินค้าเกษตร” นี้ นายพูนพงษ์ บอกว่า เป็นการบูรณาการการทำงานระหว่าง “พาณิชย์-เกษตร” ที่จะ “เชื่อมโยง” ข้อมูลด้าน “การผลิต” และ “การตลาด” เข้าด้วยกัน

สามารถ “ตอบโจทย์” ความต้องการใช้ประโยชน์จาก “บิ๊กดาต้า (Big Data)” สินค้าเกษตร ที่จะ “สร้างโอกาส” ในการ “เข้าถึง” ข้อมูลที่ “จำเป็น” และ “ทันสมัย

สามารถ “นำไปใช้” วางแผน “การผลิต” และวางแผน “การทำธุรกิจ” รวมทั้งติดตามสถานการณ์ เพื่อ “ป้องกัน” และ “บรรเทา” ปัญหาสินค้า “ขาด” หรือ “ล้นตลาด” ได้

ใครที่ “เกี่ยวข้อง” ไม่ว่าจะเป็น “คนปลูก” หรือ “คนขาย” หรือ “คนส่งออก” หรือ “คนกำหนดนโยบาย” สินค้าเกษตรทั้ง 9 รายการที่อยู่ในระบบแดชบอร์ด สามารถแวะไป “ดู” แวะไป “ชม” แวะไป “ใช้งาน” ระบบกันได้  

อาจจะ “ช่วยให้” วางแผน “การผลิต” วางแผน “ทำตลาด” ได้ง่ายขึ้น

ลองใช้กันดู

ที่มา เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์