สถานการณ์การผลิตผลไม้ปี 66 กับความพร้อมของไทยด้านโลจิสติกส์

เปิดข้อมูลสถานการณ์การผลิตผลไม้ปี 2566 กับความพร้อมของไทยด้านโลจิสติกส์ ทั้งการพัฒนาสนามบินท่าใหม่ จันทบุรีและการเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเส้นทางรถไฟจีน – ลาว

ในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 1/ 2566 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 คณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ ได้รายงานสถานการณ์การผลิตไม้ผลภาคตะวันออก ปี 2566 ต่อที่ประชุม

%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99111
ทุเรียน

โดยระบุว่า ทุเรียน คาดการณ์ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น จากการปลูกแทนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผลอื่นๆ ราคาดีเป็นที่พึงพอใจมาตลอดระยะเวลา 6 – 7 ปี จูงใจให้เกษตรกรดูแลบำรุง ใส่ปุ๋ยทั้งการจัดเตรียมแหล่งน้ำสำหรับดูแลสวน

%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
มังคุด

ส่วน มังคุด คาดการณ์ผลผลิตลดลง เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลลดลง เกษตรกรโค่นต้นมังคุดเพื่อปลูกทุเรียนทดแทน และโค่นสางต้นมังคุดในสวนผสมให้มีที่ว่างในสวนเพิ่มมากขึ้น ปีที่ผ่านมา มังคุด ออกดอกติดผลมาก ทำให้ปีนี้ต้นที่ยังไม่สมบูรณ์หยุดพักต้นและสะสมอาหาร สภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกชุกต่อเนื่อง ทำให้มังคุดในระยะปากนกแก้วแตกใบอ่อน ต้องสร้างใบแก่ใหม่

%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%B0 7
เงาะ

เงาะ คาดการณ์ผลผลิตลดลง เนื่องจากเนื้อที่ให้ผลลดลง เกษตรกรโค่นต้นเงาะเพื่อเปลี่ยนไปปลูกทุเรียน ฝนตกชุกต่อเนื่อง สภาพอากาศไม่เหมาะสมต่อการออกดอกติดผล เกษตรกรโค่น / ตัดแต่งกิ่งเงาะ ต้นใหญ่ที่มีอายุมากเพื่อควบคุมความสูงให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว ทำให้ผลผลิตต่อต้นลดลง

%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87
ลองกอง

ลองกอง คาดการณ์ผลผลิตลดลง เนื่องจาก เนื้อที่ให้ผลลดลงจากการโค่นสางต้นลองกองในสวนทุเรียนออก เพื่อดูแลทุเรียนและไม้ผลอื่นๆ ที่ราคาดีกว่า ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ลดลง ส่วนใหญ่เป็นสวนผสม เกษตรกรไม่ได้ดูแลเอาใจใส่

ทั้งนี้การผลิตผลไม้ภาคตะวันออกใน 3 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ระยอง และตราด

ทุเรียน ผลผลิตในปี 2565 รวม 732,330 ตัน ปี 2566 คาดว่าจะมีผลผลิต 756,465 ตัน เพิ่มขึ้น  24,135 ตัน หรือ 3.30 และจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุดในเดือนเมษายน

มังคุด ปี 2565 มีผลผลิต 188,553 ตัน ปี 2566 คาดว่าจะมีผลผลิต 184,632 ตัน ผลผลิตลดลง 3,921 ตัน หรือร้อยละ -2.96 มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุดในเดือนเมษายน

เงาะ ปี 2565 มีผลผลิต 104,819 ตัน ปี 2566 คาดว่าจะมีผลผลิต 102,292 ตัน ผลผลิตลดลง 2,227 ตัน หรือร้อยละ -2.41 มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุดในเดือนพฤษภาคม

ลองกอง ปี 2565 มีผลผลิต 216,420 ตัน ปี 2566 คาดว่าจะมีผลผลิต 202,204 ตัน ผลผลิตลดลง 14,216 ตัน หรือร้อยละ -6.57 มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุดในเดือนกรกฎาคม

สำหรับความพร้อมของไทยในระบบโลจิสติกส์นั้น ในด้านความก้าวหน้าในการพัฒนาสนามบินท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งสืบเนื่องจากนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารมว.เกษตรฯ มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานศึกษาโครงการมหานครผลไม้และการขนส่งผลไม้ ผ่านสนามบินจันทบุรี ครั้งที่ 1/2565 ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ได้มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาโครงการมหานครผลไม้ และการขนส่งผลไม้ผ่านสนามบินจันทบุรี ในการประชุมครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564และได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯ ยกร่างคำสั่งคณะทำงานฯ

 

34B74E1B A12B 4965 B16F C02BFF40AF8F
สนามบินท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

ต่อมาในวันที่ 26 มกราคม 2565 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาโครงการมหานครผลไม้ และการขนส่งผลไม้ผ่านสนามบินจันทบุรี โดยคณะทำงานฯ ประกอบด้วยที่ปรึกษาและคณะทำงานจากหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน  มีอำนาจหน้าที่ (1) ส่งเสริม สนับสนุนและขับเคลื่อนโครงการศูนย์บริหารจัดการมหานครผลไม้และการพัฒนาสนามบินสู่สนามบินเชิงพาณิชย์ (2) เชิญบุคคล ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร เพื่อมาให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นที่จำเป็นต่อคณะทำงาน (3) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้มอบหมาย

    

ซึ่งจากรายงานผลการติดตามความก้าวหน้าการปรับปรุงสนามบินท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี (ข้อมูลเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565) พบว่า  สนามบินจันทบุรี มีขนาดความกว้าง 60 เมตร ความยาว 1,600 เมตร ระยะวิ่งจริง 980 เมตร พื้นผิวทางทำด้วยดินอัดแน่น ระยะวิ่งจริงของทางวิ่งในปัจจุบันเป็นข้อจำกัดในการทำการบินของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง เครื่องบินที่สามารถทำการบินได้คือเครื่องบินเซสนา ในฤดูฝนทางวิ่งมีน้ำท่วมขังเป็นอุปสรรคต่อการทำการบิน เพราะเครื่องบินต้องใช้ความเร็วสูงในการทำการบินขึ้น และในช่วงทำการบินมีฝุ่นทำให้ฝุ่นเข้าไปในเครื่องยนต์ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อทัศนวิสัยในการมองเห็น

ในขณะที่ผลไม้ภาคตะวันออกเป็นแหล่งผลิตที่คุณภาพ และสามารถสร้างมูลค่าให้กับประเทศอีกแหล่งหนึ่ง การเชื่อมโยงการขนส่งและการสร้างความสะดวกในการขนส่งให้ผลไม้ ยังไม่เหมาะสมสำหรับการขนส่งในรูปแบบ Cargo plant ที่ต้องใช้เครื่องบินขนส่งขนาดกลาง ซึ่งในขณะนี้สนามบินท่าใหม่ ยังไม่พร้อมทำการบินเนื่องจากความไม่เหมาะสมของขนาดสนามบิน จึงควรใช้สนามบินอู่ตะเภาในการขนส่งไปก่อน

อย่างไรก็ตามการสร้างมูลค่าและเพิ่มโอกาสในการค้าในอนาคตหากดำเนินการโดย ใช้ระยะเวลาในกระบวนการผลิตและการขนส่งผลไม้ได้รวดเร็วหรือใช้เวลาน้อยก็จะกลายเป็นข้อได้เปรียบในการค้าผลไม้ของภาคตะวันออก แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน สนามบินท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เหมาะแก่การใช้สร้างมูลค่าในรูปแบบ Business flight และ tourism flight แต่ทั้งนี้ก็ได้ลองกำหนดแนวทางการดำเนินงานสู่เชิงพาณิชย์ไว้ในเบื่องต้นแล้ว คือ การพัฒนาไปสู่การผลิตผลไม้ Organic หรือผลไม้ปลอดภัย โดยดำเนินการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน เป็นการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership หรือ PPP) เพื่อเป็นศูนย์กลางของผลไม้ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

และการดำเนินการด้านโลจิสติกส์ อีกอันหนึ่ง คือ การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเส้นทางรถไฟจีน – ลาว

2236469484437099463
เส้นทางรถไฟจีน-ลาว

สืบเนื่องจากกรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ได้รับมอบหมายจากนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้จัดประชุมเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบผลการประชุมคณะทำงานศึกษาโครงการมหานครผลไม้ และการขนส่งผลไม้ผ่านสนามบินจันทบุรี ครั้งที่ 1/2565 เมื่อ 30 พฤศจิกายน 2565 และสถานการณ์ปัจจุบันด้านการขนส่งโลจิสติกส์ทางรางเส้นทางรถไฟจีน – ลาว ผ่านจุดตรวจสอบและกักกันพืชด่านรถไฟโม่ฮาน รวมไปถึงกฎ ระเบียบและเงื่อนไขการส่งออกผักและผลไม้สำหรับไปสาธารณรัฐประชาชนจีน และร่วมกันพิจารณาหารือเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเส้นทางรถไฟจีน – ลาว สำหรับการส่งออกผลไม้ฤดูกาลผลไม้ที่จะมาถึง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มช่องทางการส่งออกผลไม้ไทย นอกเหนือจากการส่งออกทางรถ เรือและอากาศในปัจจุบัน โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เกษตรกร และผู้ประกอบการ สรุปสาระสำคัญดังนี้

1. สถานการณ์ปัจจุบันด้านการขนส่งโลจิสติกส์ทางรางเส้นทางรถไฟจีน – ลาว

1) ศุลกากรแห่งชาติจีน (General Administration of Customs of the People’s Republic China: GACC) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ด่านรถไฟโม่ฮาน เป็นสถานที่ควบคุมกำหนด เพื่อตรวจสอบและกักกันผลไม้ก่อนการนำเข้าประเทศจีน ส่งผลให้ไทยสามารถขนส่งผลไม้ผ่านด่านรถไฟโม่ฮานได้

2.) เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2565 ขบวนขนส่งสินค้าปฐมฤกษ์ ผ่านทางรถไฟจีน – ลาว ถึงด่านรถไฟโม่ฮาน จำนวน 13 ตู้ ประกอบไปด้วย ลำไยไทย ทุเรียนไทย และกล้วยจาก สปป.ลาว

3) ขบวนรถไฟสำหรับการขนส่งสินค้า (เข้า-ออก) มีจำกัดเพียง 7 ขบวน/วัน โดยขบวนรถไฟขนส่งผลไม้ จะให้บริการทุกวันจันทร์ และวันศุกร์ แต่หากอยู่ในช่วงของฤดูกาลผลไม้ต้องมีการพิจารณาเพิ่มจำนวนขบวน

ปัญหา/อุปสรรค

1) อัตราค่าขนส่งทางรางมีราคาค่อนข้างสูงมากเมื่อเทียบกับการขนส่งทางบกรวมไปถึงการพัฒนาศูนย์บริหารจัดการข้อมูลการจองขบวนและตู้รถไฟ

2) จำเป็นต้องมีการพัฒนา Dry port และพัฒนาระบบ CIQ (Custom Immigration Quarantine) เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้า ทั้งนำเข้าและส่งออก

3) พัฒนาระบบการทวนสอบย้อนกลับ (Traceability System) เพื่อรักษามาตรฐานสินค้าเกษตรของไทย เพื่อแก้ปัญหาทุเรียนอ่อนและการสวมสิทธิ์ GAP

โอกาส

จีนให้ความสำคัญกับการพัฒนาและขยายเส้นทางการขนส่งทางรางเพื่อเพิ่มศักยภาพการนำเข้า – ส่งออก สินค้าจีนไปยังสหภาพยุโรปผ่านเส้นทางตะวันออกกลาง และให้ความสนใจการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังในการเป็น Gate way ในการนำเข้า – ส่งออกสินค้าจีน และมีความยินดีในการร่วมลงทุนกับประเทศไทยในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และพัฒนา Dry port

2. การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเส้นทางรถไฟจีน – ลาว

1) การจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการตู้และขบวนรถไฟ มีหน้าที่ในการรับจองตู้และขบวนรถไฟ เพื่อรองรับฤดูกาลผลไม้ ปี 2566โดยความร่วมมือภาคีเครือข่ายภาคเอกชน โดยประสานงานกับสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย

2) การปรังปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟ  ไทย – จีน -ลาว รวมไปถึงการขยายเส้นทางขนส่งสินค้าผ่านจีนไปสู่ภูมิภาคอื่น

3) เร่งรัดการเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุนสำหรับระบบตรวจสอบ รวมไปถึงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และโครงการพื้นฐานของด่านส่งออกที่สำคัญ เช่น ด่านมุกดาหาร ด่านนครพนม และด่านหนองคาย

4) ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การขนส่งสินค้าเกษตรจากประเทศไทยสร้างการรับรู้ ข้อปฏิบัติ ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟไทย – จีน – ลาว ในระดับพื้นที่ควบคู่ไปด้วย