ครม.อนุมัติงบกลาง 1,747 ล้านบาท ส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ รับเงินชดเชยรายละ 15 ไร่ สร้างความมั่นคงให้เกษตรกรกว่า 1.3 แสนราย

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ว่า ครม.อนุมัติงบกลางปีงบประมาณ พ.ศ.2565 รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,747.90 ล้านบาท สำหรับเป็นเงินอุดหนุนเกษตรกรของโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ปี 2563 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ

โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์นี้ กรมการข้าวได้ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2560 ปัจจุบัน มีเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว 58 จังหวัด 5,818 กลุ่ม รวม 130,082 ราย มีพื้นที่ผลิตข้าวอินทรีย์รวม 1,209,911 ไร่

IMG 59188 20220913153552000000
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับเงินชดเชยรายได้จากการผลิตข้าวที่ได้ผลผลิตลดลงในระยะเริ่มต้นของการผลิตระบบอินทรีย์ไม่เกิน รายละ 15 ไร่ ในอัตราตามที่กำหนด คือ 1.เกษตรกรที่ผ่านการประเมินเตรียมความพร้อม (T1) ไร่ละ 2,000 บาท 2.เกษตรกรที่ผ่านการประเมินระยะปรับเปลี่ยน (T2) ไร่ละ 3,000 บาท และ 3.เกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ Organic Thailand (T3) ไร่ละ 4,000 บาท

สาเหตุที่จ่ายเงินชดเชยรายได้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเลื่อมปีงบประมาณนั้น เนื่องจากการผลิตข้าวอินทรีย์ส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคมของทุกปี ทำให้การตรวจประเมินระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และการจ่ายเงินอุดหนุนจะแล้วเสร็จก็ข้ามปีงบประมาณ

อีกทั้งในปี 2563 ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี 2564 มาแล้ว 450 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องขอเสนออนุมัติงบกลางเพื่อใช้จ่ายในโครงการต่อไป

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติงบกลางปีงบประมาณ พ.ศ.2565 รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,747.90 ล้านบาท สำหรับเป็นเงินอุดหนุนเกษตรกรของโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ปี 2563 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ

ด้านนายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า สาเหตุที่จ่ายเงินชดเชยรายได้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเลื่อมปีงบประมาณนั้น เนื่องจากการผลิตข้าวอินทรีย์ส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคมของทุกปี ทำให้การตรวจประเมินระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และการจ่ายเงินอุดหนุนจะแล้วเสร็จก็ข้ามปีงบประมาณ อีกทั้งในปี 2563 ได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี 2564 มาแล้ว 450 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องขอเสนออนุมัติงบกลางเพื่อใช้จ่ายในโครงการต่อไป

สำหรับ ข้าวอินทรีย์ คือ ข้าวที่ได้จากการผลิตภายใต้ระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ซึ่งมีการจัดการการผลิตข้าวที่เกื้อกูลต่อระบบนิเวศรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ เน้นใช้วัสดุธรรมชาติ ไม่ใช้วัตถุดิบสังเคราะห์และมีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวังเพื่อรักษาสภาพการเป็นข้าวอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์

ขั้นตอนการผลิตข้าวอินทรีย์ ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

ข้าวอินทรีย์วิถีพื้นบ้าน

เป็นระบบการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด เช่น ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโตสารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าวตลอดจนสารเคมีที่ใช้รมเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ การผลิตข้าวอินทรีย์นอกจากจะทำให้ผลผลิตข้าวมีคุณภาพ ปลอดภัยจากสารพิษแล้วยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน

ข้าวอินทรีย์มาตรฐานสากล

การผลิตข้าวอินทรีย์มาตรฐานสากล มีกระบวนการผลิตการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์ และห้ามใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุ์หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุ์ในกระบวนการผลิตและแปรรูปข้าวอินทรีย์ ซึ่งผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องผฏิบัติตามเพื่อให้ได้รับการรับรอง มีขั้นตอนการปฏิบัติเป็นลำดับขั้น ดังนี้

1.เกษตรกรจะต้องมีการปฏิบัติตามข้อกำหนดในการผลิตข้าวอินทรีย์

2.เกษตรกรจัดทำบันทึกขั้นตอนการใช้ปัจจัยการผลิต โดยแสดงแหล่งที่มาและปริมาณการใช้

3.สมัครขอรับรองต่อกรมการข้าว เกษตรกรต้องแสดงข้อมูลต่อไปนี้

  • ประวัติการใช้พื้นที่
  • ประวัติการใช้สารเคมี และผลการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในดินและน้ำ (ถ้ามี)
  • แผนที่และแผนผังแปลงนาที่ขอการรับรองและพื้นที่ข้างเคียง
  • แผนการผลิตในทุกขั้นตอน
  • บันทึกขั้นตอนการใช้ปัจจัยการผลิต
  • บันทึกกิจกรรมในแปลงนา และข้อมูลอื่นๆ